อิทธิพลของเอลนีโญกับลักษณะอากาศของประเทศไทย


อิทธิพลของเอลนีโญกับลักษณะอากาศของประเทศไทย 2556

อิทธิพลของเอลนีโญกับลักษณะอากาศของประเทศไทย

(ในช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ปี 2556)

ในช่วงต้นปี 2555 สถานการณ์ของปรากฏการณ์ลานีญาที่เกิดขึ้นยังมีอิทธิพลอยู่จนถึงกลางปีโดยอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรจะอยู่ในภาวะปกติ   คาดว่าตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไปอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจะเริ่มอุ่นกว่าปกติและมีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ เอลนีโญในช่วงปลายปี 2555 มีผลกระทบทำให้ประเทศไทยเกิดฝนทิ้งช่วงในบางพื้นที่ และคาดว่าสภาวะฝนของประเทศไทยในช่วงฤดูฝนนี้ขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่น ๆ ของฤดูกาล อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของเอลนีโญมีแนวโน้มจะทำให้เกิดพายุหมุนเขตร้อน และนำพาความแห้งแล้งไปยังอีกหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนจะได้รับกระทบมากเป็นพิเศษ เนื่องจากส่งความร้อนและไอน้ำปริมาณมหาศาลขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความแปรปรวนของสภาพอากาศ และการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในประเทศแถบมหาสมุทรแปรซิฟิกเขตร้อน  กล่าวคือในที่เคยฝนตกชุกจะแห้งแล้ง และในที่แห้งแล้งกลับมีฝนตกหนัก

ดังนั้นในช่วงปลายเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงของการเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูฝนย่างเข้าสู่ฤดูหนาว (ปลายฝนต้นหนาว)  ซึ่งมวลอากาศเย็นหย่อมความกดอากาศสูงจากประเทศจีนเคลื่อนตัวเข้าสู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางตอนล่างของทะเลจีนใต้พัดผ่านเข้ามาในอ่าวไทยของประเทศไทย จะเกิดแนวปะทะอากาศระหว่างมวลอากาศร้อนและอากาศเย็น ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง และอาจมีลมกรรโชกแรงในระยะสั้น

ครอบคลุมไปถึงภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปยังคงมีฝนตกกระจายทั่วไป ถึงตกหนักมากบางพื้นที่ อาจเกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันได้ในระยะสั้น (ประมาณ 2-3 วัน) จากนั้นจะค่อยๆ ลดน้อยลงจนกระทั่งอุณภูมิลดต่ำลงเข้าสู่ฤดูหนาว เนื่องจากอิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตาม โดยปกติจะกินระยะเวลาประมาณ 4 เดือน  (ต.ค.-ก.พ.) อากาศโดยทั่วไปค่อนจึงค่อนข้างเย็น  โดยเฉพาะในช่วงเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นที่สูงจะมีอากาศหนาวกว่าภาคอื่นๆ 

อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญในอีก 2 เดือน ข้างหน้า (พ.ย-ธ.ค.) จะทำให้อุณภูมิเฉลี่ยสูงกว่า

อุณภูมิคาดการณ์และสถิดิที่ผ่านมา โดยผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทย ขณะนี้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ปรากฎการณ์เอลนินโญ่  หรือ ปรากฎการณ์ที่อุณหภูมิน้ำทะเลรอบประเทศไทยสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้สภาพอากาศร้อนและแล้ง    โดยหน่วยงานวิจัยของญี่ปุ่น คาดการณ์อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล ในช่วง 3 เดือนจากนี้ไป พื้นผิวน้ำทะเลรอบประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น และเมื่อน้ำทะเลร้อนขึ้น ก็จะส่งผลให้อากาศร้อนขึ้นตามไปด้วย และคาดการณ์อุณหภูมิพื้นดิน ในส่วนของประเทศไทยเป็นสีแดงหมายถึงอุณหภูมิจะร้อนขึ้นกว่าค่าเฉลี่ย ในช่วงฤดูหนาวนี้ อาจเกิดภาวะภัยแล้ง หากมีปริมาณน้ำเขื่อนกักเก็บไม่เพียงพอ และเกิดภาวะการขาดแคลนอาหารของโลก สินค้าเกษตรกรรมจะมีราคาสูงขึ้นทั่วโลก

 

ปัจจัยสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 56

1)       ปรากฎการณ์เอลนีโญ ที่นำพามวลอากาศร้อนชื้นในแถบมหาสมุทรแปรซิฟิกเขตร้อน จะเกิดภัยแล้งในประเทศแถบศุนย์สูตร อาทิ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์  และเกิดพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งทำให้มีฝนตกหนักในแถบทวีปอเมริกาใต้ อิทธิพลของปรากฏการณ์จะกินระยะเวลาตลอดช่วงฤดูหนาว จนเข้าสู่ฤดูร้อน

2)       อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เคลื่อนที่แผ่กำลังจากภาคพื้นทวีปของประเทศจีน (แถบไซบีเรีย)

3)       พายุฝนฟ้าคะนองจากแนวปะทะอากาศ ระหว่างมวลอกาศร้อนและอากาศเย็น ฝนแนวปะทะ (Frontal Rain)

เกิดฝนแนวปะทะ (Frontal Rain) มักเกิดจากแนวปะทะอากาศระหว่างมวลอากาศร้อนกับมวลอากาศเย็น  อย่างไรก็ตามปริมาณฝนและความรุนแรงของสภาพอากาศขึ้นอยู่กับอิทธิกำลังแรงของมวลอากาศทั้ง 2 ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง และพายุลูกเห็บ เป็นต้น ลักษณะฝนชนิดนี้จะเกิดในช่วงเดือนตุลาคม - เดือนพฤศจิกายน และช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน แต่จะมีลักษณะขนาดและปริมาณน้ำฝนแตกต่างจากช่วงฤดูหนาว ซึ่งการก่อตัวของเมฆเป็นกลุ่มก้อน ตกกระจายเป็นหย่อมๆ ตามแนวประทะอากาศ

4)       พายุหมุนเขตร้อน ในช่วงครึ่งหลังของเดือนตุลาคม คือมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ทะเลจีนใต้ ประเทศเวียดนามตอนล่าง ซึ่งอาจและมีโอกาสเคลื่อนขึ้นฝั่งภาคใต้ของประเทศไทยได้ตั้งแต่บริเวณตอนกลางของภาคใต้ลงไป

หมายเลขบันทึก: 505200เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2012 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบคุณความรู้เกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศครับ.. 
  • และขอบคุณที่ให้เกียรติไปแวะเยี่ยมเยือนด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท