ซอสมะเขือเทศไม่ไร้สาระ+วิธีป้องกันอัมพฤกษ์อัมพาต


.
สำนักข่าว Reuters ตีพิมพ์เรื่อง 'Tomato antioxidant tied to lower stroke risk' = "สารต้านอนุมูลอิสระ (แอนทีออกซิแดนท์ใน) มะเขือเทศลดเสี่ยงสโตรค (stroke = กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
อ.ยูร์นิ การ์ปิ และคณะ จากมหาวิทยาลัยฟินแลนด์ตะวันออก ทำในกลุ่มตัวอย่างคนอายุ 46-65 ปี 1,030 คน ตรวจหาระดับสารพฤกษเคมี หรือสารคุณค่าพืชผักหลายอย่าง และวิตามิน A, E; ติดตามไปนาน 12 ปี
.
ผลการศึกษาพบว่า คนที่มีระดับไลโคพีน หรือสารสีแดงในพืชผักสูง ลดเสี่ยงสโตรค หรือกลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต 55%
.
ไลโคพีนเป็นสารสีแดงที่พบในอาหาร จากพืชผัก เช่น มะเขือเทศ พริกที่มีสีแดงหรือส้ม (red peppers; สีส้มเป็นสีผสม = เหลือง + แดง), แตงโม มะละกอ (สุกมีมากกว่าดิบ), หน่อไม้ฝรั่ง (asparagus) ฯลฯ
.
คนตะวัน ตก(ฝรั่ง)เกือบทั้งหมดได้รับไลโคพีนจากมะเขือเทศ ทั้งสด ทั้งสุก เช่น ซอส-ผงมะเขือเทศ ฯลฯ มากกว่าอาหารชนิดอื่น เช่น ฝรั่งสีชมพู เสาวรสสีชมพู (grapefruit), ลูกพลับ (persimmon), ตับ ฯลฯ
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ ไลโคพีนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันการเกิดลิ่มเลือดหรือเลือดแข็งตัวเป็นลิ่ม (ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดได้)

 
 
 
 
ปัจจัยเสี่ยงของสโตรคหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไม่ได้ คือ [ NIH ]
.
(1). อายุมากขึ้น-เสี่ยงมากขึ้น > ความเสี่ยงเพิ่มเป็น 2 เท่าตามอายุที่เพิ่มขึ้น 10 ปีในช่วงอายุ 55-85 ปี
.
(2). เพศ > ผู้ชายเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง แต่ผู้หญิงตายจากสโตรคมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากอายุยืนกว่า
.
(3). เชื้อชาติ > สถิติสหรัฐฯ พบว่า คนเชื้อสายอาฟริกันเสี่ยงมากที่สุด โดยเฉพาะคนที่มีเม็ดเลือดผิดปกติ อุดตันหลอดเลือดได้ง่าย (sickle cell disease), คนเชื้อสายฮิปแปนิค (อพยพจากเม็กซิโก, อเมริกากลาง-ใต้ ส่วนใหญ่เป็นพันธ์ผสมยุโรปใต้กับอินเดียนแดง) เสี่ยงมากกว่าฝรั่งผิวขาว
.
(4). ประวัติครอบครัว > คนที่มีญาติสายตรงเป็นสโตรค ความดันเลือดสูง เบาหวาน เพิ่มเสี่ยงเล็กน้อย
.

 
 
.
วิธีป้องกันอัมพฤกษ์-อัมพาตที่สำคัญได้แก่
.
(1). ความดันเลือดสูง > เพิ่มเสี่ยง 2-4 เท่าใน ช่วงอายุก่อน 80 ปี, ควรตรวจเช็คความดันเลือดตั้งแต่เข้าสู่วัยรุ่น > ถ้าสูง... ให้รีบรักษา ทั้งใช้ยาและการปรับเปลี่ยนแบบแผนการใช้ชีวิต (lifestyle)
.
(2). ป้องกันเบาหวาน > เบาหวานทำให้ร่างกายเสื่อมเร็วเกินอายุประมาณ 15 ปี
.
(3). กินอาหารต้านความดันสูง (DASH) ได้แก่ ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง, ขนมปังขาวเป็นโฮลวีท (เติมรำ), ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ฯลฯ, ถั่วสด เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ, ผัก นม-โยเกิร์ตไขมันต่ำ
.
กินอาหารให้ครบทุกหมู่ ลดเกลือ เช่น ลดเนื้อสำเร็จรูป ขนมใส่ถุง ฝึกไม่เติมน้ำปลา-ซอสก่อนชิมอาหาร ฯลฯ ใช้น้ำมันชนิดดี เช่น ผัด-ทอดด้วยน้ำมันคาโนลา น้ำมันรำ, ทำสลัดด้วยน้ำมันมะกอก ฯลฯ
.
(4). ไม่ดื่มหนัก > ดื่มหนักเพิ่มความดันเลือด และเพิ่มเสี่ยงหัวกระแทกของแข็ง เช่น หกล้ม รถล้ม ตีกัน เมาแล้วปากมากจนโดนทุบ ฯลฯ
.
(5). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
.
(6). ระวังน้ำหนักเกิน และอ้วนลงพุง > คนที่มีสัดส่วนเส้นรอบวงพุง (waist) ต่อเอว (hip) สูงเกิน = อ้วนลงพุง เพิ่มเสี่ยง 3 เท่า
(7). ตรวจเช็คไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) > ถ้าสูงให้รีบควบคุม
.
(8). ถ้าหมอที่ดูแลท่านให้กินยาป้องกัน เช่น คนที่เคยเป็นอัมพฤกษ์-อัมพาตมาก่อน จะเสี่ยงเป็นใหม่ประมาณ 1/3 ฯลฯ หรือหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะชนิดห้องบนเต้นตัว (AF), ให้กินยาต่อเนื่อง
.
(9). ระวังภาวะขาดน้ำ > ฝึกบ้วนปากหลังตื่นนอน แล้วดื่มน้ำ 1-2 แก้ว, ฝึกพกน้ำขวดเล็กเวลาเดินทาง ดื่มน้ำ 1-3 คำทุก 30 นาที
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank Reuters > SOURCE:Neurology, online October 8, 2012.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 9 ตุลาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 505049เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท