ศึกษาดูงาน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และศิลปวัฒนธรรม ประเทศอินโดนีเซีย ตอนที่ 3: Borobudur มรดกโลก /Carnival งานรื่นเริงแห่งปี / ระบำบารอง ศิลปการร่ายรำสไตล์ Bali / บ่อน้ำพุศักดิ์สิทธิ์ วัด Pura Tirta Empul


การไปศึกษาดูงาน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศอินโดนีเซียครั้งนี้ ช่วยเพิ่มพูนความความรู้-ความเข้าใจ ทั้งในด้านการบริหารจัดการการศึกษา ด้านความแตกต่างของของวัฒนธรรม-ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซีย คิดว่าจะนำประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีมาปรับเสริม-เพิ่มเติมในส่วนที่ควรรีบเร่งพัฒนา ให้กับเยาวชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกสืบต่อไป

หนึ่งในกิจกรรมของการไปศึกษาดูงาน ประเทศอินโดนีเซีย ครั้งนี้ คือไปชมสถานที่และศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นผสมผสานระหว่างพื้นฐานของวัฒนธรรมของศาสนามุสลิม  ศาสนาฮินดู   ศาสนาคริสต์ และพุทธศาสนา โดยมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ  แบ่งได้ดังนี้

ศาสนาอิสลาม 87%
ศาสนาคริสต์ 9.5%
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 1.8%
ศาสนาพุทธ 1.3%

ทางคณะฯ ได้เลือกสรรและจัดเวลาไปชมสถานที่และกิจกรรมในการไปศึกษา- เยี่ยมชม  5  แห่งด้วยกัน  แต่ละที่ใช้เวลาไม่นาน  หากนำเวลามารวมกันได้เท่ากับหนึ่งวันพอดี
 

  1. Borobudur  เมือง York Jakarta
  2. Carnival งานรื่นเริงแห่งปี 
  3. ระบำบารอง ศิลปการร่ายรำสไตล์ Bali
  4. ภูเขาไฟคิณตามณี (Mount Batur)
  5. บ่อน้ำพุศักดิ์สิทธิ์  ณ วัด Pura Tirta Empul  

Borobudur  เป็นชื่อของพุทธสถานอันศักดิ์สิทธิที่ก่อสร้างอยู่บนเนินเขาเมือง York Jakarta บนเกาะชวา   รายล้อมไปด้วยสถูปเจดีย์รูปดอกบัวทรงกลมที่สร้างตามแบบศิลปะฮินดู-ชวา  จำนวนพันกว่าองค์  แบ่งเป็น 3 ชั้น  ด้วยความงดงามแห่งสถาปัตยกรรมฯ  UNESCO จึงประกาศให้เป็นมรดกโลก

 



                                                Borobudur  พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์

  

                                                   สถาปัตยกรรม-ปฏิมากรรมของ 3 ชั้น

 

                                                  คณะผู้ไปศึกษาดูงานทั้ง 28 ท่าน

 



 Carnival งานรื่นเริงแห่งปีของ York Jakarta จัดขึ้นตรงกับวันที่ได้มาเยือนเมืองนี้พอดี  ไกด์ผู้นำคณะฯ ให้เวลาไปเดินชมสินค้าพื้นเมืองของที่นี่  แต่ผู้เขียนเลือกไปเฝ้าดูขบวนแห่งานรื่นเริงแห่งปีที่เรียกเป็นภาษาสากลว่า  Carnival อันสื่อถึงวัฒนธรรม-ประเพณี ของชาวอินโดนีเซียแทนการไปเดินเลือกซื้อสินค้า  เวลา 2 ชั่วโมงของกิจกรรมนี้ ได้เรียนรู้- ได้ข้อคิด-ได้เปรียบเทียบ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเรียนรู้พอสมควร

 

  

                                                    ขบวนตกแต่งหลากหลายรูปแบบ

  



                               ริ้วธงประดับ / เครื่องดนตรีบรรเลงเพลงประกอบจังหวะตื่นเต้น-เร้าใจ
                           


  

 
ระบำบารอง ศิลปการร่ายรำสไตล์ Bali  บารองเป็นชื่อของสัตว์ในตำนาน   เป็นคนครึ่งสิงห์  มีหลังอานยาว   หางงอโค้ง  และเป็นสัญลักษณ์ แทนวิญญาณที่ดีงาม  ฝ่ายธรรมะคอยปกป้องคุ้มครองรักษามนุษย์      ส่วนรังดา เป็นพ่อมด-หมอผี หรือมารร้ายอยู่ฝ่ายอธรรม   เรื่องราวของระบำบารองก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับรามายณะ มีผู้แสดงประกอบเป็นสมุนของทั้งสองฝ่ายอีกหลายตัว ซึ่งจะต่อสู้กันจนฝ่ายธรรมะได้รับชัยชนะในที่สุด  ซึ่งจะแตกต่างกันไปเป็นตอนๆ ความยาวประมาณ 2 ชั่วโมง



                                                 บารองร่ายรำด้วยท่วงท่าอันสง่างาม

 

                                          นักแสดงมากมาย...ถ่ายทอดตำนานเล่าขาน

 

เชิญคลิ๊กชมตัวอย่างของระบำบารอง
 


ภูเขาไฟคิณตามณี (
Mount Batur)
เป็นภูเขาไฟที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 บนเกาะบาหลี ระดับความสูง 1,171 เมตร อยู่ติดกับทะเลสาป  Batur อันสวยงาม  ภูเขาไฟแห่งนี้เคยปะทุลาวาหลายครั้งและส่วนใหญ่จะพ่นหินทรายสีดำมาพ้อมกับควันไฟ ทำความเสียหายต่อชีวิตชาวบาหลีนับพันคน และทำลายทรัพย์สินไปไม่น้อย   ปัจจุบันนิยมนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมความสวยงาม

 

 
บ่อน้ำพุศักดิ์สิทธิ์  ณ วัด
Pura Tirta Empul     

เชื่อกันว่า พระอินทร์ เป็นผู้สร้างวัด  Pura Tirta Empul ซึ่งตั้งอยู่ใน Tampak Siring, ระหว่าง Ubud และ Kintamani   ภายในวัดมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ซึ่งผุดพรายน้ำขึ้นมาตลอดทั้งปี ชาวบาหลีนิยมมาไหว้พระ  และอาบน้ำเพื่อชำระล้างสิ่งชั่วร้ายออกจากร่างกาย       หลายคนเก็บน้ำไปดื่มกิน  เพราะเชื่อว่าน้ำจากบ่อศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้สามารถรักษาโรคต่างๆ ขับไล่สิ่งเลวร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
 

 
  

                                            ชาวบาหลีเทินกระจาดใบสวยบนศรีษะ - กรรมพิธีจากพราหมณ์



                                          น้ำศักดิ์สิทธิ์ไหลลงมาจากท่อที่ต่อจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิด้านใน
                                                               

                                                        หนุ่ม-สาวชวา(แปลงกาย)


ชาวบาหลีส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู-พรามฌ์
จึงมีความเชื่อเรื่องพระเจ้า ภูตผี-ปีศาจ ยึดมั่นต่อการปฏิบัติตามประเพณีความเชื่อที่สืบทอดมาเป็นพันๆ ปี

 

  

  
                                   สถาปัตยกรรมสไตล์บาหลี  พบเห็นได้ทั่วอาณาบริเวณ


                               จัดแต่งเครื่องเซ่นไหว้- การประดับตกแต่งตามกรรมพิธีแห่งความเชื่อ
    
  


ดื่มด่ำกับบรรยากาศอันรื่นรมย์ที่ Bali



                                            Sea Food duing SUNSET @ Beautiful Beach in BALI  

  
                                         
                                                        Wonderful Time !

  
 
             ครอบครัวคุณ Maria อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียน SMP 115 Jakarta มาพบปะกับคณะฯ ที่ BALI  



                            ทุเรียนพันธุ์ดีของอินโดนีเซียห่อด้วยแป้งสีเขียวจัดวางไว้ใน Package หรู 

  

 

*** ... การไปศึกษาดูงาน หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน และศิลปวัฒนธรรม ณ ประเทศอินโดนีเซียครั้งนี้     ช่วยเพิ่มพูนความความรู้-ความเข้าใจ   ทั้งในด้านการบริหารจัดการการศึกษา   ด้านความแตกต่างของของวัฒนธรรม-ประเพณี และวิถีชีวิตของชาวอินโดนีเซีย  คิดว่าจะนำประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีมาปรับเสริม-เพิ่มเติมในส่วนที่ควรรีบเร่งพัฒนา ให้กับเยาวชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลกสืบต่อไป ...***

                                    ***...ขอขอบคุณผู้เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านนะคะ ...*** 

 

ศึกษา Borobudur เพิ่มเติมที่นี่  

 

หมายเลขบันทึก: 504793เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2012 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 

 

วัฒธรรม ... บอก ความล้ำค่า นะคะ

  • เป็นการศึกษาดูงานที่ เยี่ยม มากๆค่ะท่าน  
  • ดูแล้วน่าสนุกและมีความสุขมาก
  • การศึกษาเขาต่างจากบ้านเรามากไหมครับ

***...ขอขอบคุณ " Dr.PLe "  Blank " คุณครูทิพย์  "  Blank และ " น้อง ดร ขจิต " Blank  มา ณ โอกาสนี้นะคะ   " วัฒนธรรมเป็นสิ่งล้ำค่า  บ่งบอกอารยธรรมของชนชาติได้เป็นอย่างดี   "  สมัยนี้....ต่างก็หวงแหนและพยายามอนุรักษ์เพื่อสืบทอดให้กับชนรุ่นหลังกันอย่างจริงจัง    ต้องยอมรับ  การวางแผนกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศของคณะบริหารฯ  ประเทศอินโดนีเซีย ที่ฉลาดล้ำลึก  พัฒนาประเทศโดยอิงฐานของ ASEAN  ติดต่อผู้มาสนับสนุนด้านงบประมาณการลงทุน มหาศาล   โดยได้ประโยชน์เต็มๆ เขาพยายามใช้เทคโนโลยีด้านไอทีมาพัฒนาระบบการศึกษา  ณ นาทีนี้  ยังก้าวตามหลังประเทศไทยอยู่หลายช่วงตัว  แต่ด้วยความพยายามอย่างมุ่งมั่นและจริงจัง  ไม่เกิน 10 ปีนี้อาจแซงหน้าประเทศไทยนะคะ  ต้องฝากความหวังกับท่านทั้ง 3 แล้วล่ะค่ะ  อิอิอิ! ...***  
 

 
                                                                         

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท