น้องยุงเปลี่ยนเวลาดูด(เลือด)


.
สำนักข่าว Reuters ตีพิมพ์เรื่อง Facing anti-malaria nets, mosquitoes alter habits: study' = "ยุงมุดมุ้งหลังเจอยากันยุง(มุ้งเคลือบยาฆ่ายุง)", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
ทีมวิจัยฝรั่งเศสทำการศึกษาภาคสนาม ทำในหมู่บ้านอาฟริกา 2 แห่งในประเทศเบนิน พบว่า หลังมีการใช้มุ้งกันยุง หรือมุ้งเคลือบยาฆ่ายุง, น้องยุงก็พากันปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ (lifestyle = แบบแผนในการใช้ชีวิต), โดยหันไปทำสงครามกองโจรแทน
.
องค์การสหประชาชาติ (WHO) รายงานว่า มีคนตาย(ทั่วโลก)ด้วยโรคติดต่อจากน้องยุง โดยเฉพาะไข้ป่า (ไข้จับสั่น - มาลาเรีย) มากกว่า 650,000 ราย/ปี
.
มีการใช้มุ้งเคลือบยาฆ่ายุง (insecticied-treted bed nets) ในการป้องกันมาลาเรีย หลังพบปัญหายุงดื้อยาพ่นมากขึ้น
  • insect = แมลง; -cide = ฆ่า; รวม insecticide = ยาฆ่าแมลง
  • bed = เตียง; net = ตาข่าย; รวม bed nets = มุ้ง
  • mosquito = ยุง > mosquito net = มุ้ง

ผลการศึกษาว่า ก่อนใช้มุ้งกันยุง, น้องยุงจะดุ กัดมากที่สุด (peak aggression; peak = พีค ช่วงสูงสุด) ช่วง 2.00-3.00 นาฬิกา (ตี 2-3) หรือมีช่วง "ไฮซีซัน" ตอนดึก

 
ไฮซีซีน = high season = ช่วงฤดูกาลที่ทำรายได้ดี เช่น การท่องเที่ยวไทยมีรายได้ดีตอนฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อน และฤดูฝนตามลำดับ ฯลฯ
.
หลังมีการทดลองใช้มุ้งกันยุง 3 ปี... น้องยุงจะดุ หรือกัดมากที่สุดตอน 5.00 นาฬิกา หรือตี 5 แถมยังทำสงครามกองโจร คือ กัดนอกบ้านมากขึ้น
.
คนในหมู่บ้านถูกยุงกัดนอกบ้าน (outdoor) 45% ในปีแรก, 68% ในปีที่สอง, และ 61% ในปีที่สาม = แนวโน้มยุงกัดนอกบ้านมากขึ้น
.
.
โคเครน (องค์กรทบทวนการวิจัยนานาชาติ) รายงานว่า ถ้ามีการใช้มุ้งเคลือบสารเคมีฆ่ายุงในเด็ก 1,000 ราย จะลดโอกาสตายจากมาลาเรียได้ 5-6 ราย/ปี
.
ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา... พบมาลาเรียเพิ่มขึ้นในอาฟริกา, กลไกที่เป็นไปได้ คือ ยุงน่าจะดื้อยาฆ่ายุง
.
 
การศึกษาเร็วๆ นี้พบเชื้อมาลาเรียดื้อยาบริเวณชายแดนไทย ทั้งด้านตะวันออก (กัมพูชา) และด้านตะวันตก (พม่า)
.
การลงทุนติดมุ้งลวดที่บ้าน และลดแหล่งน้ำท่วมขัง น่าจะเป็นทางเลือกสุขภาพที่คุ้มค่ามากอย่างหนึ่งสำหรับคนไทยในระยะยาว
.
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • Thank Reuters > SOURCE: J Infectious Diseases; bit.ly/NC5Ovf.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 20 กันยายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 503705เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2012 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2012 14:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท