หลักอนัตตา (ตอนที่ ๑ ...ทางสายกลางที่ท่านอาจไม่เคยได้ยินมาก่อน )


อนัตตา เป็นหัวข้อธรรมที่โดดเด่นและสำคัญที่สุดของศาสนาพุทธ อาจกล่าวได้ว่าถ้าไม่มีหลักอนัตตา ก็ไม่มีศาสนาพุทธ เพราะจะไม่ต่างอะไรกับศาสนาอื่นๆ ที่ยึดหลัก อัตตา (ไม่โดยตรงก็อ้อม) 

 

แต่หลักอนัตตานี้กลับเป็นหลักการที่เราชาวพุทธเข้าใจกันน้อยที่สุด อีกทั้งยังมีบางนิกาย (เช่น มหายาน) และบางกลุ่มของเถรวาทปรับคำสอนหรือตีความคำสอนไปเป็น อัตตา (ทั้งโดยตรงและอ้อม  ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว)  ซึ่งนับว่าเป็นการน่าขำที่เป็นผู้สอนพุทธรรมแต่กลับเป็นผู้ทำลายพุทธรรมเสียเอง

 

วันนี้ผมจะมาเสนอแนวคิดเรื่องอนัตตาตามที่ผมเข้าใจอีกครั้ง

 

รากภาษาของคำว่า อนัตตา มาจาก อน+อัตตา  แปลว่า ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ตัวตน  ซึ่งต่างจาก “ไม่มีตัวตน” แบบฟ้ากะเหว แต่นักบรรยายธรรมหลายคนก็แปล “อนัตตา” แบบไม่ระวัง ว่า ไม่มีตัวตน  ซึ่งควรแปลมาจาก “นิรัตตา”   (นิร+อัตตา)  มากกว่า ซึ่งเป็นพวกสุดโต่งอีกพวกหนึ่ง

 

 

ก่อนพุทธกาลนั้นมีสองพวกสุดโต่งนี่แหละ คือพวก อัตตา (มีตัวตน )  และ พวก นิรัตตา (ไม่มีตัวตน)   ศาสนาพุทธมาเสนอ”ทางสายกลาง” คือ  “อนัตตา” นี่เอง

 

ส่วนใหญ่คนไทยเราไปเข้าใจว่า ทางสายกลาง คือ การปฏิบัติที่ไม่เคร่งหรือไม่หย่อนเกินไป  แต่จริงๆ แล้ว ทางสายกลางที่สำคัญกว่าคือ หลักอนัตตา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเคร่งหรือไม่เคร่งแต่อย่างใด  

 

 

จะเห็นได้ว่าพพจ.นั้น กว่าจะได้ "ทางสายกลาง" แห่งหลักอนัตตามาเป็นความรู้สอนพวกเราได้นั้น  ก็ต้องปฏิบัติแบบ “ตึง” อย่างสุดโต่ง แบบสาย(ตัว)แทบขาด ....ถึงกับปฏิญาณว่า  จะนั่งบำเพ็ญแบบยอมตายถวายชีวิต จะไม่ลุกจากโคนไม้นั้นจนกว่าจะบรรลุธรรม  (ยอมตึงจนตัวตาย) 

 

การปฏิบัติแบบนั้นมันสายกลางตรงไหน ..ตึงสุดโต่งเสียมากกว่า

 

 

...คนถางทาง (๑๙ กย ๒๕๕๕)

 

 

หมายเลขบันทึก: 502814เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2012 19:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2012 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท