paralympic


paralympic

ประวัติ สำนักงานใหญ่คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล ที่นครบอนน์ของเยอรมนีในปี ค.ศ. 1948 ดอกเตอร์ลุดวิก กูทมัน ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลสโตก แมนเดวิลล์ ได้มีแนวคิดจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างฟื้นฟูสมรรถภาพกายและใจ ของทหารผ่านศึกชาวอังกฤษ จากสงครามโลกครั้งที่ 2[1] และจัดแข่งขันอีกครั้งในปี ค.ศ. 1952 ที่อังกฤษเช่นกัน แต่ครั้งนี้มีทหารผ่านศึกชาวดัตช์ เข้าร่วมการแข่งขันด้วย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการ ในระดับนานาชาติครั้งแรกของโลก

นับแต่นั้นมา ก็มีการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นกิจจะลักษณะต่างกรรมต่างวาระ มาเป็นระยะๆ จนถึงปี ค.ศ. 1960 ที่กรุงโรมของอิตาลี กีฬาคนพิการนานาชาติ ก็ปรับระบบเข้ามาสู่การเป็น “กีฬาโอลิมปิกคนพิการ” ด้วยการจัดในเมืองเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ในปีเดียวกันเป็นครั้งแรก แต่แนวความคิดดังกล่าวก็ประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายบานปลายของเมืองเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กีฬาคนพิการนานาชาติ ต้องแยกไปแข่งขันเองต่างหาก ตามหัวเมืองอื่นๆ ที่มีความพร้อม และเป็นไปได้มากกว่า

จนถึงปี ค.ศ. 1988 แนวความคิดดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ในที่สุด เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสหพันธ์กีฬาคนพิการนานาชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล) ร่วมกันขอความร่วมมือให้เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิก ควบคู่ไปในปีเดียวกัน ทั้งเกมฤดูร้อน ทั้งเกมฤดูหนาว กล่าวได้ว่า กีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 8 ที่กรุงโซลของเกาหลีใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1988 เป็นการเริ่มต้นกีฬาพาราลิมปิกอย่างเป็นทางการ

[แก้] สัญลักษณ์และธงพาราลิมปิกเกมส์สัญลักษณ์ของพาราลิมปิกเกมส์ เป็นแถบสามสีคล้องกัน คือสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว สำหรับธงพาราลิมปิกเกมส์ เป็นพื้นสีขาว มีสัญลักษณ์พาราลิมปิกอยู่กลางผืนธง ทั้งสองเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2546 และใช้กับการแข่งขันครั้งที่ 12 เมื่อปี พ.ศ. 2547 เป็นคราวแรก

[แก้] การจัดการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ Paralympic Games ตราสัญลักษณ์พาราลิมปิกเกมส์ คำขวัญ Spirit in Motion ก่อตั้ง 18 กันยายน พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960; 51 ปีมาแล้ว) จัดขึ้นทุก 4 ปี ครั้งล่าสุด ครั้งที่ 14 ที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร วัตถุประสงค์ กีีฬาสำหรับคนพิการนานาชาติ สำนักงานใหญ่ คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล นครบอนน์, เยอรมนี ประธาน เซอร์ ฟิลิป คราเวน เว็บไซต์ คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล

[แก้] พาราลิมปิกฤดูร้อน พาราลิมปิกฤดูร้อน ปี (ค.ศ.) ครั้งที่จัด เมื่องเจ้าภาพ ประเทศ 1960 I โรม อิตาลี 1964 II โตเกียว ญี่ปุ่น 1968 III เทลอาวีฟ อิสราเอล 1972 IV ไฮเดลแบร์ก เยอรมนีตะวันตก 1976 V โทรอนโต แคนาดา 1980 VI อาร์นเฮม เนเธอร์แลนด์ 1984 VII สโตก แมนเดวิลล์ นิวยอร์ก สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา 1988 VIII โซล เกาหลีใต้ 1992 IX บาร์เซโลนา สเปน 1996 X แอตแลนตา สหรัฐอเมริกา 2000 XI ซิดนีย์ ออสเตรเลีย 2004 XII เอเธนส์ กรีซ 2008 XIII ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน 2012 XIV ลอนดอน สหราชอาณาจักร 2016 XV รีโอเดจาเนโร บราซิล

พาราลิมปิกฤดูหนาว พาราลิมปิกฤดูหนาว ปี (ค.ศ.) ครั้งที่จัด เมืองเจ้าภาพ ประเทศ 1976 I Örnsköldsvik สวีเดน 1980 II Geilo นอร์เวย์ 1984 III อีนสบรุค ออสเตรีย 1988 IV อีนสบรุค ออสเตรีย 1992 V Albertville ฝรั่งเศส 1994 VI Lillehammer นอร์เวย์ 1998 VII นะงะโนะ ญี่ปุ่น 2002 VIII ซอลต์เลกซิตี สหรัฐอเมริกา 2006 IX ตูริน อิตาลี 2010 X แวนคูเวอร์ แคนาดา 2014 XI โซชิ รัสเซีย

 

คำสำคัญ (Tags): #paralympic
หมายเลขบันทึก: 501675เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2012 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท