บทความ "อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในสายลมแห่งประชาคมอาเซียน" ของ เนชั่นสุดสัปดาห์


อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในประชาคมอาเซียน

ผมได้รับ e-mail จาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ส่ง "AEC NEWS ALERTS" ในแต่ละวันมาให้ ก็ต้องขอชื่นชมและขอตบมือดังๆให้กับเจ้าหน้าที่ของกรมเจราการค้าระหว่างประเทศ ที่ติดตามรวบรวมข่าวที่เกี่ยวเนื่องกับ ประชาคมอาเซียน ที่ลงตามหนังสือพิมพ์ในแต่ละวัน และนำส่งให้สมาชิก

สำหรับบันทึกฉบับนี้ขอนำบางบทความของ AEC NEW ALERTS ฉบับข่าววันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ มาเผยแพร่เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ผมพูดให้คนฟังมานานหลายปี และวันนี้ได้รับการยืนยันจาก คุณปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ให้สัมภาษณ์กับ เนชั่นสุดสัปดาห์ ขอแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการและแรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่ท่านประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเริ่มเข้าใจการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในภาพรวม เพราะท่านถือว่าเป็นหัวหน้าของภาคเอกชนด้านการท่องเที่ยว เป็นตัวแทนภาคการท่องเที่ยวที่จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้เกิดการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

บทความจากเนชั่นสุดสัปดาห์

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในสายลมแห่งประชาคมอาเซียน

ณ จุดเปลี่ยนผ่านสาคัญที่คนไทยและเพื่อนร่วมอาเซียนอีก 9 ประเทศกาลังเดินหน้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community : AC) อย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ.2558 น่าคิดว่า จุดเปลี่ยนผ่านนี้จะเป็น 'โอกาส' หรือเป็น 'วิกฤติ' ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทย รวมทั้งผู้คนนับล้านที่อยู่ร่วมในขบวนหัวรถจักรเศรษฐกิจนี้ ควรเตรียมตัวอย่างไร
มองภาพใหญ่ของ 'อุตสาหกรรมท่องเที่ยว' พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้คานิยามว่า หมายรวมถึง ธุรกิจนาเที่ยว, ธุรกิจโรงแรม, ธุรกิจภัตตาคาร สถานบริการ และสถานที่ตากอากาศ, ธุรกิจการขายของที่ระลึกหรือสินค้าสาหรับนักท่องเที่ยว, ธุรกิจการกีฬาสาหรับนักท่องเที่ยว และธุรกิจด้านการจัดประชุมนานาชาติ งานนิทรรศการ งานออกร้าน การโฆษณาเผยแพร่
คุณปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า ณ ปัจจุบัน เม็ดเงินจากภาคการท่องเที่ยว คิดเป็น 8% ของ GDP นั่นคือ 1 ล้านล้านบาท และมีคนทางานนับล้านคนอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ ภาคท่องเที่ยว คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นแค่ธุรกิจโรงแรม เอเย่นต์ทัวร์ นาเที่ยว แต่จริงๆ มีมากกว่านั้นและสร้างธุรกิจต่อเนื่องตามมามากมาย เช่น ด้านสันทนาการ จะมี สปา สนามกอล์ฟ สวนสนุก เรือภัตตาคารทางน้า เรือโดยสาร รถทัวร์ ขายของที่ระลึก ที่ไม่ค่อยทราบกันคือ รายรับของภาคท่องเที่ยวหนึ่งในสามมาจากการขายของที่ระลึก อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นงานภาคบริการที่สร้างธุรกิจต่อเนื่องจานวนมากมาย ทาให้เกิดการจ้างงานโดยตรง 2.5 ล้านคน และการจ้างงานโดยอ้อมอีก 2 ล้านคน เท่ากับมี 4 ล้านคนที่ทางานในภาคท่องเที่ยว
แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 โดย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยังระบุว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วยสร้างกระแสเงินหมุนเวียนในประเทศจากการที่คนไทยเที่ยวในเมืองไทยอีกนับแสนล้านบาทต่อปีเช่นกัน นี่จึงเป็นพลังทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แม้วันนี้กลไกของประชาคมอาเซียนจะยังทางานไม่เต็มรูปแบบ แต่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยก็มีคนทางานชาวต่างชาติเข้ามาทางานอยู่แล้ว ด้วยเหตุผลสาคัญคือ ณ วันนี้ ประเทศไทยยังขาดแคลนคนในภาคแรงงานท่องเที่ยวอยู่มาก รวมทั้งเงื่อนไขเรื่องทักษะภาษา
ไปภูเก็ตจะพบคนทางานชาวต่างชาติเยอะ ชาวเมียนมาร์ชาวอินเดีย เพราะสาหรับการท่องเที่ยว เรื่องสาคัญคือภาษา และภาษาแรกสุดคือภาษาอังกฤษ เราจะเห็น Conciege เป็นชาวอินเดีย พนักงานบัญชีก็เริ่มมีชาวต่างชาติมาทาเช่นกัน เรือสาราญต่างๆ คนทางานเป็นชาวฟิลิปปินส์ทั้งนั้น แรงงานฟิลิปปินส์ออกมาทางานนอกประเทศเยอะมาก นาเงินตราเข้าประเทศมากที่สุด ดิฉันคิดว่าฟิลิปปินส์เขาขึ้นไปอีกระดับหนึ่งแล้ว จากความได้เปรียบเรื่องพูดภาษาอังกฤษได้ดี ฉะนั้นประเทศไทยต้องรีบพัฒนาคนของเรา อยากให้คนไทยเข้ามาสู่อาชีพในภาคท่องเที่ยว โดยเฉพาะงานด้านโรงแรมและขายของ เพราะอย่างที่บอก รายรับของภาคท่องเที่ยว หนึ่งในสามมาจากการขายของที่ระลึก การขายของที่ระลึกด้านการท่องเที่ยวต้องมีเทคนิคในการขาย แต่โรงแรมก็ช่วยฝึกอบรมได้ ซึ่งถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการมีใจให้บริการ ก็จะไปได้ดี งานนี้ต้องอาศัยความอดทน แต่ถ้าทาได้จะเป็นโอกาสที่ดีมาก อุตสาหกรรมท่องเที่ยวยังขาดแคลนคนทางาน ถ้าเป็นไปได้ เราอยากเปิดคอร์สฝึกอบรมสัก 7 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน เพื่อยกระดับหรือเปลี่ยนคนที่เคยทาโรงงานผลิตเสื้อผ้าที่ตอนนี้มีงานน้อยลง ให้มาทางานในสายการท่องเที่ยว จะมีโอกาสดีกว่า
มองอนาคตของการท่องเที่ยว องค์การการท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization : UNWTO) คาดการณ์ว่า เมื่อถึงปี พ.ศ.2563 จะมีนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ 1,600 ล้านคน โดยภูมิภาคที่มีแนวโน้มเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม คือ เอเชียตะวันออก และแปซิฟิก และกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดหมายการท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่มีผู้นิยมเดินทางเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การมาถึงของประชาคมอาเซียนในเวลาอันใกล้ มักมีคาถามว่า นี่จะเป็น 'วิกฤติ' หรือ 'โอกาส' ในมุมมองของคุณปิยะมาน มองว่าเป็นโอกาส แต่เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด และต้องแข่งกับตัวเอง พัฒนาอย่างเร่งด่วน ภาคท่องเที่ยวของไทยได้เปรียบอยู่แล้วเพราะเป็นที่ยอมรับ คนไทยมีหัวใจให้บริการ นี่อยู่ใน DNA ของเรา แต่เรามีจุดอ่อนเรื่องภาษา และเรามีความรู้ไม่มากเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเพื่อนอาเซียน ซึ่งอนาคตเขาจะมาเที่ยวกันมากขึ้น
ตลาดใหญ่ที่สุดที่เรามองคืออินโดนีเซีย มีประชากร 200 กว่าล้านคน และเศรษฐกิจเขาเริ่มดี การเมืองเริ่มเข้มแข็ง ชาวอินโดนีเซียออกท่องเที่ยวมากขึ้น ดังนั้นถ้าบุคลากรภาคท่องเที่ยวของไทยรู้เรื่องภาษา รู้เรื่องวัฒนธรรม มีการพัฒนาปรับตัว ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกแย่งงาน ประชาคมอาเซียนจะกลายเป็นโอกาส และอย่ามองแค่ในประเทศ ให้มองว่าคนไทยมีโอกาสไปทางานข้างนอกด้วย แม้แต่แรงงานที่ล้างถ้วยล้างจาน ถ้าพัฒนาทักษะด้านภาษา และทักษะในงานอื่นๆ ก็จะมีโอกาสไปสอบเพื่อทางานในประเทศอื่นที่มีค่าตอบแทนสูงขึ้นได้ แต่ถ้าวันนี้เราอยู่เฉยๆ ไม่ทาอะไร นี่ล่ะจะลาบาก วิกฤติแน่นอน
ทักษะในงานก็ต้องพัฒนาอยู่แล้ว เช่น บริกรเขารู้วิธีเสิร์ฟที่ถูกต้อง ช้อนมีดแบบไหนก็วางถูก แต่จะไม่ค่อยรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาอาเซียน จะยิ้มอย่างเดียว การฝึกภาษาอังกฤษดิฉันอยากบอกว่า ไม่ต้องตกใจ เบื้องต้นขอแค่คุณสื่อสารในงานที่ทาได้เท่านั้น เช่น ดิฉันมีโรงแรม ก็สอนให้พนักงานที่เป็นแม่บ้านสื่อสารให้ได้ในงานที่ทา ถ้าลูกค้าบอก "I want hair dryer." แม่บ้านต้องรู้ว่า hair dryer คือที่เปูาผม ไปนามาให้ลูกค้าได้ บางคนบอกทาไมคิดง่ายๆ แค่นี้ ก็ต้องบอกว่า ถ้าเราคิดยากจะยิ่งทาไม่ได้
ประเด็นเรื่องภาษาก็มีมุมให้คิดต่อไปว่า ภาษาอังกฤษภาษาเดียวพอหรือไม่? เพราะถ้าทางานในพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ซึ่งอยู่ใกล้กับประเทศอินโดนีเซีย ถ้าพูดภาษาอินโดนีเซียได้ก็จะเป็นโอกาสเช่นกัน
คาที่ว่า 'วิกฤติจะเกิดแน่ ถ้าอยู่เฉยๆ ไม่ทาอะไร' มิใช่ใช้ได้กับคนทางานเท่านั้น แต่กับผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทั้งระบบ ก็ใช้คานี้ได้เช่นกัน ซึ่งเรามีเวลาอีกไม่ถึง 3 ปี วันนี้จึงต้องทากันเต็มที่ ในส่วนผู้ประกอบการ สิ่งที่ต้องปรับตัวคือ เรื่องตลาด เรื่องไอที รวมทั้งเรื่องต่างๆ ที่จะทาให้เราขายได้กว้างขึ้น การท่องเที่ยวมีโอกาสกว้างมาก เช่น ถ้าประชาคมอาเซียนทาให้ Single Visa เกิดขึ้น นักท่องเที่ยวที่จะไปกัมพูชา, สปป.ลาว, ดิฉันว่าเขาก็ต้องมาประเทศไทยก่อน และอนาคตการท่องเที่ยวจะเป็น Life style Tourism คือเราจะมีเพื่อนบ้านอาเซียนเดินทางมาตัดผม มากินข้าว ฯลฯ เพราะการมาเที่ยวเมืองไทยทั้งดีและคุ้มค่า เช่น คนสิงคโปร์อาจขึ้นเครื่องบินโลว์คอสต์มาตัดผมที่เมืองไทย หรืออนาคตถ้าอาเซียนพัฒนารถไฟฟูาให้เชื่อมโยงประเทศต่างๆ นักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้ามากขึ้น
มองภาพใหญ่ของนโยบายระดับชาติ ก็ต้องเตรียมตัวรับประชาคมอาเซียนเช่นกัน สาหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คุณปิยะมานย้าว่า ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนเป็นสิ่งสาคัญ "เราไม่จาเป็นต้องทาให้ทุกคนมาเที่ยวเมืองไทย เพราะไม่เช่นนั้นทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจะเสียหายเร็ว ภาครัฐต้องกาหนดยุทธศาสตร์และวางกฎระเบียบเพื่อสร้างทิศทางที่ชัดเจนว่าเราต้องการนักท่องเที่ยวกลุ่มไหน จานวนเท่าไหร่ห้องพักควรสร้างได้ไม่เกินเท่าไหร่ อย่างกรุงเทพฯ ถนนสุขุมวิท โรงแรมเต็มไปหมด ถ้าบอกจะเผื่อไว้รับนักท่องเที่ยว เราก็ยังไม่รู้เลยว่าเราต้องการนักท่องเที่ยวเท่าไหร่ เพราะที่สุดเมื่อคนมาเยอะมากก็มีปัญหาการใช้ทรัพยากรทั้งน้า ขยะ เรื่องเหล่านี้เราต้องตั้งหลักด้วย อย่ามองแค่ให้มีคนมามากๆ โดยอาจแบ่งท่องเที่ยวเป็น Cluster จะได้มี Product ที่แตกต่างกัน เช่น ทะเล ซึ่งเป็นจุดขายหลักของไทย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาเมืองไทยก็เพราะทะเล เราก็ต้องแยกทะเลมี 3 ที่ ทะเลอันดามัน ทะเลพัทยา ทะเลแถวหัวหินชะอา ทะเล 3 แห่งนี้ไม่เหมือนกัน คนที่ไปทะเลพัทยาคือคนต้องการความเป็นเมือง มาคึกคัก มีครบหมดทุกอย่าง ส่วนทะเลอันดามันเป็นแนวใสสะอาด เที่ยวตามเกาะแก่ง ขณะที่ทะเลหัวหินชะอา เป็นสไตล์ครอบครัว ต้องการพักผ่อน ไม่ต้องการอะไรที่พัทยามี ต้องดูเรื่องระเบียบ ศึกษาว่าประเทศไทยต้องการอะไร จานวนห้องพักสร้างแค่ไหนพอ ถ้าโรงแรมขายดี รายได้จาก Service Charge ก็ดีขึ้น ส่งผลให้คนทางานมีรายได้ดีขึ้นด้วย เพราะท้ายที่สุดแล้วเราต้องการนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมาใช้จ่ายในเมืองไทยเยอะ เหล่านี้คือแนวคิดที่ต้องไปพร้อมๆ กัน
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเหมือนเก้าอี้ที่ต้องมี 4 ขา 1.คือภาครัฐ 2.เอกชนผู้ประกอบการ 3.องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ และ 4.ชุมชน
การท่องเที่ยวจะเติบโตยั่งยืนหรือไม่ 4 ขานี้ต้องไปด้วยกัน ถ้าขาใดขาหนึ่งไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วย ความสาเร็จก็ไม่เกิด ดิฉันรู้ว่ามันไม่ง่าย แต่พวกเราต้องช่วยกัน และถ้าการท่องเที่ยวในท้องถิ่นเติบโตได้ดี คนในชุมชนก็อยู่ดีกินดี ซึ่งจะเป็นเช่นนั้นได้ทุกคนก็ต้องช่วยกันดูแล เป็นหูเป็นตา อย่าเห็นแก่ได้
นั่นเพราะสาหรับการท่องเที่ยว ไม่ใช่แค่ทะเลสวยอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเข้าถึงสิ่งอานวยความสะดวก และองค์ประกอบทางสังคมด้านอื่นๆ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีพลังทางเศรษฐกิจสูง จึงต้องการความร่วมมือที่สูงมากจากทุกฝุายที่เกี่ยวข้องเช่นกัน ดังนั้นเราต้องสร้างความเข้าใจ และสร้างความภูมิใจให้กับทุกๆ ตาแหน่งงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นบริกร แม่บ้าน คนดูแลห้อง คนขับรถ คนในชุมชน ฯลฯ เพราะทุกคนเป็นส่วนสาคัญที่จะทาให้นักท่องเที่ยวประทับใจ และทาให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเติบโตอย่างยั่งยืน (เนชั่นสุดสัปดาห์)

หมายเลขบันทึก: 501674เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2012 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท