CE13: ชุบชีวิตใหม่ ให้น้องแค็ป


ปัญหาที่พบของการใช้น้องแค็ป คือ พอใช้ไปได้สักพักแล้ว สัญญาณตอนท้ายจะแย่ลง ถ้าเป็น fragment analysis สัญญาณบริเวณ มากกว่า 300 bp จะมีฐานกว้างขึ้น ความสูงต่ำลง หากเป็น sequence ลำดับเบสที่มากกว่า 300 bp จะมีลักษณะของ peak ที่ขึ้นแล้วลงไม่สุด ความสูงลดลง หรือที่เรียกว่า low resolution นั่นเอง เมื่อเป็นมากๆ ก็ต้องเปลี่ยนน้องแค็ปใหม่

     ผมเริ่มรู้จักกับเครื่อง sequencer ที่ใช้หลักการของ Sanger ราวสัก 8-9 ปีที่แล้วครับ ก็ได้ลองผิดลองถูกมาโดยตลอด เพียงแต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นการลองผิดซะมากกว่า ทุกครั้งที่ได้ลอง ไม่ว่าจะเป็นการลองผิด หรือ ลองถูกก็ตาม สิ่งที่ได้ก็คือความรู้ครับ หากลองแล้วไม่ได้ผล ก็ได้รู้ว่า ทำอย่างนี้แล้วแก้ไขปัญหาไม่ได้ ต้องหาวิธีการอื่น แต่ถ้าลองแล้วได้ผล ก็จะได้รู้ว่า หากเจอปัญหาอย่างนี้อีก ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ 

     หนึ่งในสิ่งที่อยากลองเล่นกับเครื่อง sequencer ก็คือ น้องแค็ป (capillary array) เมื่อออกจากโรงงาน บริษัทบอกว่า รับประกันการใช้งานได้ 100 runs ซึ่งจริงๆแล้ว ใช้ได้มากกว่านั้นเยอะครับ บางคนใช้ได้  400 runs บางคนใช้ได้   1,000 runs บางคนใช้ได้  2,000 runs อย่างน้องแค็ปตัวเก่าของผม ใช้ได้มากกว่า  3,000 runs ก่อนที่จะเกิดปัญหา probe งอ แล้วก็หักไป ปัญหาที่พบของการใช้น้องแค็ป คือ พอใช้ไปได้สักพักแล้ว สัญญาณตอนท้ายจะแย่ลง ถ้าเป็น fragment analysis สัญญาณบริเวณ มากกว่า 300 bp จะมีฐานกว้างขึ้น ความสูงต่ำลง หากเป็น sequence ลำดับเบสที่มากกว่า 300 bp จะมีลักษณะของ peak ที่ขึ้นแล้วลงไม่สุด ความสูงลดลง หรือที่เรียกว่า low resolution นั่นเอง เมื่อเป็นมากๆ ก็ต้องเปลี่ยนน้องแค็ปใหม่ ปัจจุบันน้องแค็ปขนาด 4 แค็ป มีราคาประมาณ  50,000 บาทครับ คำถามที่มักถามกันบ่อยๆ คือ แล้วมีวิธีการอะไรไหม ที่สามารถชุบชีวิตน้องแค็ปใหม่ได้ ทำให้เรากลับมาใช้น้องแค็ปเดิมได้อีก โดยไม่ต้องเปลี่ยน นั่นคือ เรากำลังพูดถึง น้ำยาวิเศษ ที่สามารถชุบชีวิตน้องแค็ปได้  ใช่ครับ การสร้างน้ำยาชุบชีวิตน้องแค็ป เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากลองเล่นกับเครื่อง sequencer มาโดยตลอด

     ในที่สุดผมก็ได้ลองครับ จากที่เล่าให้ฟังในบันทึกก่อนหน้านี้ เมื่อน้องแค็ปตัน แล้วได้ทำการทะลวง probe แล้ว ช่วยชีวิตน้องแค็ปได้ 3 แค็ป เหลืออีก 1 cap คือ Cap2 ที่ยังมีปัญหาฐานกว้างกว่าปกติ แม้จะทะลวง probe เพิ่มเติม ก็ไม่ทำให้สัญญาณดีขึ้น ทีนี้ก็มาถึงน้ำยาชุบชีวิตแล้วครับ 

     ผมได้ลองเตรียมน้ำยาชุบชีวิตน้องแค็ป โดยใช้สารเคมีทั่วไปที่หาได้จากในห้องแล็บมาเตรียมครับ วิธีการเตรียมก็ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาเตรียมประมาณ 10 นาที ได้มา 1 ลิตร แต่ผมขออนุญาตไม่เปิดเผยสูตรนะครับ ไม่ใช่ว่าผมหวง เพียงแต่ผมไม่อยากถูกฟ้องร้อง ว่าละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทครับ

     จากนั้นก็ล้างน้องแค็ปด้วยน้ำยาชุบชีวิต ทิ้งไว้ประมาณ ครึ่งชั่วโมง แล้วล้างออกครับ แล้วลองสั่งใช้งานดู จะพบว่า น้องแค็ปให้สัญญาณที่สวยงาม เหมือนเพิ่งออกจากโรงงานใหม่ๆ

     อย่างภาพข้างล่าง เป็นน้องแค็ปตอนที่ยังมีปัญหาที่ Cap2 ครับ

     หลังจากชุบชีวิตแล้ว ได้สัญญาณของ Fragment analysis เป็นแบบนี้ครับ

     อีกภาพครับ สำหรับ Fragment analysis จะเห็นว่า สัญญาณที่ Cap2 ฐานไม่กว้างแล้วครับ ทั้งสี่แค็ปเหมือนเปลี่ยนน้องแค็ปใหม่

     หากเป็น sequence ก็จะได้สัญญาณสวยงามดังภาพข้างล่างครับ

     อีกภาพครับ จะเห็นว่าสัญญาณที่มากกว่า 8,000 datapoint มีลักษณะของ peak ที่ขึ้นสุดลงสุด ซึ่งในที่นี้อ่านไปได้ถึงมากกว่า 600 bp ครับ

     และแล้ว ความฝันก็เป็นจริงครับ ในที่สุดผมก็ได้เตรียมน้ำยาชุบชีวิตน้องแค็ปขึ้นมาได้แล้วครับ

 

หมายเลขบันทึก: 501507เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2012 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2012 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอขอบคุณ แทน พ่อ-แม่ของน้องแค็ป...ขอชื่นชมที่มงาน นะคะ

พ่อหมูอ้วน เพื่อนรัก

วันก่อนยังดูเหมือน...จะจากกันอยู่แล้ว...

วันนี้กลับ...ได้ชีวิตใหม่ขึ้นมา

... มันช่างเป็นความรู้สึกที่มีความสุขเสียนี่กระไร นิ... ฉันดีใจด้วยจ้า

ฉันชื่นชมพ่อมากที่มีความพยายามอย่างเหลือเกินในการหาหนทางแก้ไขจนนำมันกลับมาใช้งานได้ดีอีกครั้ง งานนี้ประเทศชาติประหยัดงบประมาณไปมากโขเลยแหละ... เก่งจัง เพื่อนฉัน

หากคนในชาติทำได้อย่างพ่อ... มองของที่มีข้างกายว่า "พอจะทำให้ยังประโยชน์ได้อีกหรือไม่ อย่างไร" ก็จะเป็นการช่วยกันประหยัดได้มาก...

ที่ทำงานของฉันพึ่งเครื่อง monitor และเทคโนโลยีใหม่ๆกับผู้ป่วยมากมาย พอมันเริ่มรวนก็เริ่มหวาดผวาว่ามันอ่านค่าตรงมั้ย? เราเอามาวิเคราะห์ประเมินถูกมั้ย?... ฉันเคยถามน้องที่มาอบรมวิสัญญีพยาบาลว่า พี่จะให้น้องเฝ้าคนไข้เคสง่ายๆโดยไม่มีเครื่องมอนิเตอร์ แต่ใช่ตัวเรามอนิเตอร์เอง...เอามั้ย?” พวกเธอทำท่าตกใจ...สยองกัน บางคราวพวกเธอชินและ ติดเครื่องมากกว่าสังเกต อาการทางคลินิกของผู้ป่วยแบบนี้ถ้าชาติหมดงบซ่อมแซม หรือซื้อใหม่ คนรุ่นเราๆยามชราคงลำบากเพราะคนรุ่นใหม่ไม่ถูกฝึกให้ สู่สามัญ

ขอบคุณนะคะสำหรับ 2 บันทึกหลังของพ่อหมูอ้วน ที่กระตุกให้ได้คิดว่าสุดท้ายแล้ว... สูงสุด ต้องคืนสู่สามัญตามก้นฝรั่งทุกเรื่องคงไม่ไหว เพราะบ้านเราไม่ได้รวย...จริง

อ้อ... ที่ทำงานฉันขาดช่างมือโปรมา maintenance เครื่องน่ะ เครื่องมือเพียบ พ่อตั้งบริษัทมั้ย ตอนเกษียณก็ออกเดินสายรับงานเลย ฉันจะเป็นฝ่ายการตลาดให้  อิอิ

ยอดเยี่ยมมากเลยค่ะ ขอบคุณบันทึกต่อเนื่องที่ให้ข้อคิดอะไรที่มากกว่าการเล่าเรื่อง หวังว่าน่าจะเป็นกำลังใจให้หลายๆคนที่อาจจะกำลังพบปัญหาหน้างานอยู่ คุณBlank น่าเอาไปบันทึกฝากชาว Share.psu บ้างด้วยนะคะ คนวงนั้นเขาไม่ค่อยออกมาข้างนอก อิ อิ 

  • ขอบคุณมากครับ ทุกท่าน  Blank Blank Blank Blank ที่คอยให้กำลังใจด้วยดีเสมอมาครับ
  • พวกเราทุกคนที่นี่ พยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ในฐานะที่เป็นข้าของแผ่นดิน ครับ
  • งานพัฒนา ของที่นี่เป็นเรื่องสนุกครับ เพราะหัวหน้าหน่วยเข้าใจ สนับสนุน และเปิดโอกาสเต็มที่ให้พวกเราได้ทำในสิ่งที่อยากทำครับ นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของอะไรดีๆ อีกหลายๆอย่างครับ

 

สุดยอดมากเลยครับพี่

สงสัยได้ทำทำอาชีพเสริม ทำน้ำยาออกขายได้เลยนะครับ ว่าแต่มีเส้นขนมจีนด้วยก็ดีนะครับ ของโปรด 5 5 5

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท