เรียนรู้ KM2QA มหาวิทยาลัยพะเยา


ที่สำคัญท่านให้ความสำคัญของการทำ KM2QA คือความรู้ที่อยู่ในตัวคน

วันที่ 4 กันยายน 2555

นำคณะอาจารย์และบุคลากรเข้าศึกษาดูงานเรียนรู้ KM2QA มหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีท่านรองอธิการบดี ฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนาธรและคณะให้การดูแลต้อนรับ


ท่ามกลางสายฝนพรำเป็นระยะๆทีมลาน มหาวิทยาลัยพะเยาให้การติดต่อชาวนราธิวาสเป็นช่วงๆ เมื่อถึงมหาวิทยาลัยพะเยาพนักงานรักษาความปลอดภัยเป้นผู้นำทางจนถึงหน้าสำนักงานอธิการบดี

ท่านรองอธิการบดีและผู้อำนวยการงานวิจัยรอต้อนรับอยู่ที่นี่

จากนั้นท่านรองอธิการบดีนำชมมหาวิทยาลัยพะเยา พื้นที่กว่าสามพันไร่

นับตั้งแต่การได้ไปสักการะสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การชมอาคารสถานที่ คณะต่างๆที่มีทางเชื่อมต่อภายในทุกคณะ ทำให้คิดถีงการหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว สถาปัตยกรรมล้วนสถาปัตยกรรมล้านนา

ชมหอพักนักศึกษาที่ท่านรองเล่าให้ฟังว่าเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เห็นความสะอาด ความเป็นระเบียบ และที่สำคัญคือ การให้ความสำคัญกับนักศึกษา โดยมีหอกิจกรรมของนักศึกษาที่โอ่โถงกว่าสถานที่อื่นๆในมหาวิทยาลัย นำชมบ้านพักผู้บริหารที่เหมือนรีสอร์ทท่ามกลางหุบเขาและแมกไม้สักทอง

 

กลับมาที่สำนักงานอธิการอีกครั้ง เมื่อถึงภาคเหนือ ชาวใต้นราธิวาสจึงได้รับการต้อนรับด้วยดารลิ้มรสอาหารเหนือหลากหลาย ที่ชอบสุดเห็นจะเป็นนำพริกหนุ่มกับผักลวก

การสร้างบรรยากาศของคนคอเดียวกัน ที่ให้ความสำคัญ ความตระหนักในคุณค่าการจัดการความรู้ ด้วยการต้อนรับของท่านรองวิบูลย์ ทำให้บรรยากาศการศึกษาดูงานเป็นกันเองและพรั่งพรูเกมือนเพื่อนที่ไม่ได้พบกันมานาน

ท่านรองฯเล่าความเป็นมาของการดำเนินงาน KM2QA มหาวิทยาลัยพะเยา ที่ตั้งต้นจากผลงานดำเนินงานอย่างน่าเป็นห่วงแต่เมื่อเวลาผ่านไปสองปีการศึกษา KM เหมือนเครื่องมือมหัศจรรย์ที่ช่วยให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยดีขึ้นเป็นผลให้คะแนนเปลี่ยนแปลงไปสู่ระดับที่ดีมาก

 

ขั้นตอนการดำเนินงานของท่านรองฯและคณะในการ KM2QA มหาวิทยาลัยพะเยา  ไว้ดังนี้

1.ทำความเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษา

2.นำเสนอผลการดำเนินงานต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่อสร้างความตระหนักและขอข้อเสนอแนะ โดยใช้เครื่องมือธารปัญญา

3.นำเสนอแนวทางการแก้ปัญกาต่อท่านอธิการบดีเพื่อกำหนดเป็นนโยบาย

4.ให้ความรู้ความเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษาทั่วทั้งองค์กร

5.ให้การอบรมผู้ประเมินที่เป็น KEY PERSON

6.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสามกลุ่มสำคัญคือ ผู้บริหาร ผู้ประสานงาน และผู้ปฏิบัติการ

7.การแบ่งกลุ่ม CoP ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามองค์ประกอบ เกณฑ์ สกอ.คือ องค์ประกอบที่ 2 องค์ประกอบที่ 1 7 8 องค์ประกอบที่ 3 5 6 องค์ประกอบที่ 4 9

8.ทำ BAR ทุก 6 9 12 เดือน

9. มีรางวัลสำหรับผู้ทำดี

 

นอกจากนี้ท่านยังแลกเปลี่ยนเรียนรู้เล่าประสบการณ์ KM2QA มหาวิทยาลัยนเรศวรอีกด้วย และที่สำคัญท่านให้ความสำคัญของการทำ KM2QA คือความรู้ที่อยู่ในตัวคน

 

ด้วยความรูสึกประทับใจเป็นอย่างมาก ทีมงานคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ขอขอบพระคุณท่านรองอธิการบดีวิบูลย์ วัฒนาธร และคณะพี่ๆน้องๆจากมหาวิทยาลัยพะเยาเป็ยอย่างสูงที่ให้คุณค่าพัฒนาคน พัฒนางานแลัพัฒนาองค์กรในครั้งนี้

หมายเลขบันทึก: 501462เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2012 05:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2012 05:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เก็บภาพสายฝนได้สวยมากค่ะ

โชคดี ท่านคณบดีได้ พบ F2F กับ เจ้าตำรับ QA_KM ตัวเป็นๆ เลยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท