การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ


เรื่องนี้ได้รับรางวัลดีเด่นผลงานวิชาการกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปีที่แล้ว(2548) เป็น R2R เช่นกันครับ

การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ(Way to Quality in Bantak Hospital : From Theory to Practice) 

พิเชฐ  บัญญัติ*

สุภาภรณ์  บัญญัติ*   

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทคัดย่อ

 

                วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาแนวทางของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตากที่สามารถผ่านการประเมินรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) ได้พร้อมกับมาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (Health promoting hospital)   วิธีการและผลลัพธ์ของการพัฒนาโรงพยาบาลบ้านตากด้วยตัวแบบบ้านคุณภาพสร้างสุข เปรียบเทียบก่อนและหลังใช้ตัวแบบและศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบ้านตาก

 

                วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action research) โดยการสังเกต สัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานร่วมกับการศึกษาจากเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิโดยใช้ตัวแบบบ้านคุณภาพสร้างสุข ที่โรงพยาบาลบ้านตากสร้างขึ้นเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ในช่วงปี 2540-2547

 

                ผลการศึกษา:   พบว่าโรงพยาบาลบ้านตากมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพและองค์กรเป็นของตนเองโดยตัวแบบดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลสามารถพัฒนาคุณภาพได้อย่างดี เห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงขององค์กรที่ดีขึ้นเมื่อเทียบก่อนและหลังการใช้ตัวแบบดังกล่าวทั้งต่อองค์การ เช่น ขยายและพัฒนาโรงพยาบาลโดยไม่ใช้เงินงบประมาณด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์  พัฒนาโรงพยาบาลได้แม้จะมีทรัพยากรจำกัด  ผ่านการประเมินHA/HPH/HWP เป็นที่ศรัทธาของชุมชน ต่อเจ้าหน้าที่ เช่นความเครียดในการทำงานลดลง การกระทบกระทั่งกันระหว่างแผนก/วิชาชีพลดลงบรรยากาศการทำงานดีขึ้น ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่มากขึ้น คุ้นเคยกันมากขึ้น ต่อประชาชน เช่นสถานะสุขภาพดีขึ้น ความพึงพอใจบริการสูงขึ้น ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนลดลงลดลง ต่อผู้บริหาร ทำให้มีเวลาคิดวิเคราะห์งานมากขึ้นเพราะไม่ต้องคอยตามควบคุมผู้ปฏิบัติมากนัก

 

                สรุป:   โรงพยาบาลต่างๆสามารถนำตัวแบบบ้านคุณภาพสร้างสุขไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลได้ แต่ต้องมีความเข้าใจแนวคิดสำคัญของแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจนและสามารถเชื่อมโยงเครื่องมือต่างๆได้อย่างดีและควรมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จ 7 ประการคือความมุ่งมั่น ความสามารถ วิสัยทัศน์ร่วม วัฒนธรรมคุณภาพ ความต่อเนื่อง การสื่อสารและการมุ่งเน้นประชาชนและชุมชน

 คำสำคัญ: คุณภาพ, การพัฒนาคุณภาพ, มาตรฐานโรงพยาบาลคุณภาพ, โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ

*โรงพยาบาลบ้านตาก จ.ตาก

คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ#r2r
หมายเลขบันทึก: 50119เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท