DBA : ความพร้อมอุตสาหกรรมโคนมไทย แข่งขันอย่างไรใน AEC


ความพร้อมอุตสาหกรรมโคนมไทย แข่งขันอย่างไรใน AEC

นายธนัณชัย  สิงห์มาตย์    

                                            

ปี 2558  ประเทศไทยเราก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ( AEC ) ซึ่งประกอบไปด้วย 10 ประเทศ เป้าหมายก็คือ การลดอุปสรรคทางด้านการค้าด้วยการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอย่างเสรี ทั้งในเรื่องการค้า การบริการ แรงงาน เงินทุน และการลงทุน ด้านภาษีในปี 2558 ลดเหลือ 0% นั้นหมายความว่า เราไม่มีภาษีกีดกันต่อไป ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วหลายประเทศมองว่าบางอย่างเป็นโอกาสบ้าง บางอย่างเป็นอุปสรรคบ้าง แล้วแต่อุตสาหกรรมนั้นๆ ของแต่ละประเทศที่สามารถแข่งขันได้ ในมุมผู้เขียนมองว่าไทยเรา มีศักยภาพด้านใดบ้างในการแข่งขันเมื่อประชาคมอาเซียนกำลังจะมาถึงนี้ คงมีหลายอุตสาสาหกรรมที่เราสามารถแข่งขันได้ และมีหลายอุตสาหกรรมที่เราต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน หนึ่งในนั้นผู้เขียนมองว่า อุตสาหกรรมโคนมไทยเป็นอีกอุตสาหกรรมตัวหนึ่งที่ต้องปรับตัวโดยด่วน

การเลี้ยงโคนมไทย

 

           อาชีพการเลี้ยงโคนมเป็นอีกอาชีพ

 

หนึ่งที่ผู้เขียนมองว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจ

ของเกษตรกรไทย เนื่องจาก ว่าเป็นอาชีพ

ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรตลอดทั้งปี

ซึ่งแตกต่างจากอาชีพการเกษตรทั่วไป เช่น

อาชีพชาวสวน อาชีพชาวนา ซึ่งเป็นอาชีพ

ที่มีรายได้เป็นช่วงๆ ตามฤดูกาลการเลี้ยงโคนมไทยเป็นอาชีพพระราชทานก็คงว่าได้ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงให้การสนับสนุนและให้ความสนพระทัยมาโดยตลอด อาชีพการเลี้ยงโคนมมีมานานกว่า 50 ปีแล้ว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนต่างให้ความสนใจและให้การสนับสนุนการเลี้ยงโคนมมาโดยตลอด จนทำให้การเลี้ยงโคนมของไทยเป็นผู้นำในประเทศเพื่อนบ้าน แสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ของการเลี้ยงโคนมไทยเป็นอย่างดี แต่อย่างไร    ก็ตามจากการที่ประเทศไทยได้ไปทำข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศรวมทั้ง ออสเตเลีย และนิวซีแลนด์ ทำให้วันนี้อาชีพการโคนมของไทยต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน เนื่องจากว่า ประเทศออสเตเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันอย่างมาก เป็นประเทศที่ผลิตน้ำนมได้คุณภาพดี และการผลิตสามารถผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศไทยเป็นอย่างมาก แต่หากวันนี้เกษตรกรไทยพร้อมที่จะปรับตัว ผู้เขียนมองว่า เราสามารถแข่งขันได้แน่นอน และพร้อมที่จะเป็นผู้ส่งออก นมคุณภาพดีไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียน และยังสามารถผลิตน้ำนมคุณภาพดี และต้นทุนต่ำในการบริโภคในประเทศได้เป็นอย่างดี พร้อมสำหรับโครงการอาหารเสริม (โครงการนมโรงเรียน ) ในสถานการณ์ปัจจุบันเรามีเกษตรผู้เลี้ยงโคนม อยู่ประมาณ 23,000 ครัวเรือน และมีโคนมอยู่ประมาณ 536,720 ตัว มีสหกรณ์ซึ่งเป็นผู้รวบรวมน้ำนมดิบอยู่ 104 สหกรณ์ ใน 43 จังหวัด และมีโรงงานแปรรูปอยู่ 81 โรงงานซึ่งเป็นโรงงานของสหกรณ์โคนม 16 แห่ง ในการแปรรูป   นั้นปัจจุบันเราแปรรูป 3 ประเภท ด้วยกันคือ นมสดพาสเจอร์ไรซ์ นมยูเอชที และนมสดสเตอรีไรซ์  

   

ปัญหาการเลี้ยงโคนมของประเทศไทย

 

       ปัญหาในการเลี้ยงโคนมของ

ประเทศไทยนั้นผู้เขียนมองว่าเรามีปัญหา

ดังนี้ปัญหาในด้านการผลิต กล่าวคือ

ต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่อยู่ที่อาหารข้น

ซึ่งใช้ในการเลี้ยงโคนมและปัจจุบันเรามี

ต้นทุนในการผลิตที่สูง เมื่อเทียบกับ

ออสเตเลีย และ นิวซีแลนด์ เรามีต้นทุน

ในการผลิตน้ำนมดิบเฉลี่ยต่อกิโลกรัมละ 8.60 บาท ขณะที่ ออสเตเลีย และ นิวซีแลนด์ มีต้นทุนในการผลิตประมาณ 6 บาท /กิโลกรัม ซึ่งตรงนี้ผู้เขียนมองว่าเราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ปัญหาด้านการแปรรูปปัจจุบันเรามียังขาดโรงงานแปรรูปที่ได้มาตรฐาน และปัญหาในด้านการตลาด การบริโภคนมในประเทศไทยยังมีการบริโภคภายในประเทศที่น้อยมากเมื่อเทียบกับต่างชาติ กล่าวคือ คนไทยดื่มนมเฉลี่ยประมาณ 13.36 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีการดื่มนมเฉลี่ยประมาณ 250 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และในอาเซียนพบว่า มีอัตราการบริโภคนมเฉลี่ย 40 กิโลกรัมต่อคนต่อปีและมีแนวโน้มสูงขึ้น จากปัญหาตรงนี้ทำให้ผู้เขียนมองเห็นว่า เราควรเร่งรณรงค์ให้ประชาชนในประเทศบริโภคนมเพิ่มขึ้น

 

แนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC

ในการพัฒนาอุตสาหกรรมโคนมนั้น ผู้เขียนมองว่า เราต้องมีการพัฒาทั้งระบบ เพื่อให้ได้คุณภาพของน้ำนมที่ดี และลดต้นทุนในการผลิต และการขนส่ง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้

ด้านการผลิต

            1. รัฐบาลต้องให้ความสำคัญในเรื่องการส่งเสริมการผลิตน้ำนม     ให้ได้คุณภาพ คือ เร่งส่งเสริมการให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการเลี้ยงโคนม ส่งเสริมการวิจัยและเชื่อมโยงงานวิจัยจากนักวิชาการไปสู่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม และส่งเสริมในการบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบ การจัดทำบัญชีฟาร์ม จัดทำสารสนเทศโคนม

            2. เน้นการลดต้นทุนการผลิต การเลี้ยงโคนมที่ประสบปัญหาในปัจจุบันเนื่องมาจาก เรามีต้นทุนในการผลิตเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่ต้นทุนมาจากอาหารโคนม ผู้เขียนมองว่าเราสามารถลดต้นทุนในเรื่องอาหารของโคนมได้ โดยการรวมกลุ่มเกษตรกร ( Cluster ) กลุ่มในที่นี้คือ กลุ่มผู้ผลิต เช่น (กลุ่มเกษตรผู้เลี้ยงโคนม กลุ่มเกษตรผู้ปลูกมันสำปะหลัง กลุ่มเกษตรผู้ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ กลุ่มเกษตรผู้อัดฟางก้อน กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ) หากเราสามารถรวมกลุ่มได้แล้วก็สามารถผลิตอาหารสัตว์ได้ในราคาถูก โดย     อาจจะเชิญนักวิชาการด้านการผลิตอาหารสัตว์มาเป็นวิทยากร ให้ความรู้ในการผลิตอาหารสัตว์ ในที่สุดเกษตรกรก็สามารถลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตได้

ผู้เขียนขอยกกรณีตัวอย่างเช่น ผู้เขียนเอง มีเพื่อนอาจารย์ท่านหนึ่งซึ่ง จบปริญญาเอก ทางด้านอาหารสัตว์ อาจารย์ท่านนี้คุยกันกับผู้เขียนว่าเราจะช่วยเหลือเกษตรได้อย่าง หลังจากนั้น อาจารย์ท่านนี้ก็ทำวิจัยเน้นเรื่องอาหารโคนมโดยนำวัถตุดิบจากท้องถิ่น เช่น มันสำปะหลัง ซึ่งมีมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฟางข้าว มีมากเช่นกันในฤดูหลังเก็บเกี่ยวข้าว นำมาเป็นอาหารสัตว์คือโคนม โดยมีวิธีการหมักที่เรียกว่า การผลิตอาหารข้น จนได้สูตรการผลิตอาหารข้นที่เหมาะสม จากนั้นนำไปให้เกษตรทดลองใช้ก็ปรากฏว่าได้ผลดี สามารถผลิตน้ำนมได้คุณภาพดี และต้นทุนต่ำเนื่องจากวัตถุดิบสามารถหาได้ในท้องถิ่น ในหน้าทุเรียน เรามีเปลือกทุเรียนมาก ก็เป็นปัญหาของชุมชนเหมือนกัน ก็นามาบดกลายเป็นอาหารโคนม และจากการทดลองกับโคนมก็ให้น้ำนมดี และเป็นการลดต้นทุนอีกต่างหาก ผู้เขียนมองว่าสิ่งเหล่านี้เกษตรสามารถศึกษาสูตรการทำอาหารได้จาก นักวิชาการ หรือสถาบันการศึกษาใกล้บ้านท่านได้

 ด้านการแปรรูป

            1. สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์รวมน้ำนมดิบและโรงงานแปรรูปให้ได้มาตรฐาน อันนี้ผู้เขียนมองว่าสำคัญ อย่างจังหวัดที่ผู้เขียนอาศัยอยู่เรามีศูนย์รวมน้ำนมดิบอยู่ 2 แห่งซึ่งเป็นสหกรณ์ แต่ผู้เขียนยังมองว่าศูนย์รวมของสหกรณ์ยังไม่ได้มาตรฐาน หากเรามีศูนย์รวมน้ำนมดิบที่มีคุณภาพและมาตรฐานก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี คงไม่มีข่าวนักเรียนท้องเสีย เพราะดื่มนมโรงเรียนให้เห็นอีกต่อไป

 ด้านการตลาด

            1 รณรงค์การการบริโภคนมในประเทศเพิ่มมากขึ้น ผู้เขียนมองว่าปัจจุบันประเทศของเรามีการบริโภคนมเฉลี่ยต่อคนต่อปีในระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับต่างชาติ ดังนั้นจึงต้องเร่งในรณรงค์เรื่องของการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น รวมทั้งอาจจะมีการขยายโครงการนมโรงเรียนเพิ่มอีก ซึ่งปัจจุบันให้ อนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 4 ดื่มนมฟรี ควรเพิ่มเป็น อนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6  และเราควรใช้โอกาสในการเปิดค้าเสรีในการส่งออกผลิตภัณฑ์นมไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และควรมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น

 

เป็นไปได้หรือไม่หากอุตสาหกรรมโคนมไทยไปแข่งกับต่างชาติ

            คำว่า อุตสาหกรรมโคนมไทย ผู้เขียนหมายถึง เป็นผลิตภัณฑ์นมที่ผลิตจากอุตสาหกรรมโคนมไทยทั้งหมด เช่น การใช้วัถตุดิบของไทย โรงงานแปรรูปของไทย ไม่จะเป็นโรงงานแปรรูปของเอกชนหรือโรงงานแปรรูปของรัฐก็ตาม รวมทั้งแรงงานไทยด้วย

            คำว่า ต่างชาติ หมายถึง ว่าประเทศที่เป็นสมาชิก ( AEC )

            หากเราต้องการแข่งขันกับต่างชาติเราต้องทำอย่างไรก่อนอื่นผู้เขียนมองว่าเราควรมามองอุตสาหกรรมโคนมไทยของเราก่อน ว่าเรามีจุดแข็งจุดออ่นอย่างไร ในส่วนของจุดแข็งนั้นอาชีพการเลี้ยงโคนมของประเทศไทยเรานั้นเป็นอาชีพที่ได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐมาโดยตลอด และการเลี้ยงโคนมของไทยเรานั้นเลี้ยงมาก่อนใครเพื่อน ในประเทศเพื่อนบ้าน จึงทำให้เรามีประสบการณ์เลี้ยงที่ดีกว่า ส่วนจุดอ่อนเนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำมันแพงขึ้น ข้าวของต่างๆก็แพงขึ้น ก็ส่งผลทำให้อาหารสัตว์แพงขึ้น โดยเฉพาะอาหารโคนม และส่งผลให้เรามีต้นทุนในการเลี้ยงโคนมเพิ่มมากขึ้นด้วย และในปัจจุบันการผลิตน้ำนมคุณภาพยังต่ำและยังไม่ได้มาตรฐาน

จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้เขียนมองว่าหากประเทศไทยของเราต้องการแข่งขันอุตสาหกรรมโคนมกับต่างชาติ วันนี้เราต้องปรับตัวหลายด้าน เช่น การผลิตให้ได้ต้นทุนต่ำ และเน้นการผลิตน้ำนมให้มีคุณภาพ และมีโรงงานการผลิตที่ได้มาตรฐาน พร้อมสู้กับประเทศที่มีศักภาพในด้านการผลิต คือ ออสเตเลีย นิวซีแลนด์ หากอุตสาหกรรมโคนมเราไม่รีบปรับตัวทั้งระบบ ผู้เขียนขอย้ำทั้งระบบ เราจะก็มีปัญหาในเรื่องการแข่งขันแน่นนอน แล้วอาชีพพระราชทานก็มิอาจคงอยู่ต่อไปได้ แต่หากเกษตรกร รัฐบาล ผู้มีส่วนได้เสียทั้งระบบ ร่วมกันใจปรับตัว ผู้เขียนมองว่า เราสามารถแข่งขันได้ในอนาคตแน่นอน…..

   

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 500980เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กันยายน 2012 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท