ตลาดนัดความรู้....สู่พฤติกรรมใหม่" 16-17 สิงหาคม 2555 ณ โรงแรมหลุย แทเวิร์น หลักสี่ กรุงเทพมหานคร (ตอนที่ 6)


      มาต่อกันในเรื่องกิจกรรม Dancercise ของโรงพยาบาลเปาโลเมมโมเรียล มีการขั้นตอนการทำงานมาอย่างไร ..จากวันที่ได้รับคำแนะนำจากผู้มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน"เพื่อนยากวันพุธ" ให้นำลีลาศมาแทนกิจกรรมออกกำลังกาย น้องหน่อยกับน้องโอ๋  ก็นำเรื่อง " Wow ! service" นี้ไปปรึกษา อย่างอาจารย์อารยา ทองผิว แพทย์เฉพาะทางต่อมไร้ท่อ ซึ่งอาจารย์ให้การสนับสนุนการดำเนินการทันที จากนั้นก็มาการประชุมทีม วางแผนที่จะฝึกฝนทีมเพื่อจะมาเป็นผู้ฝึกสอน

     ขั้นตอน training of  trainers ทีมสุขภาพที่เข้าฝึกเรียนลีลาศ  ได้แก่  นักกำหนดอาหาร พยาบาล กายภาพ ริ่มฝึกกันจริงจังตั้งแต่ ฟังจังหวะ นับ นับ ทุก วันพฤหัสหลังเลิกงาน 2 ชั่วโมง เรียนกัน 2 เดือนเต้นได้ แต่ถ้าจะสอนคนอื่นได้ต้องสัก 6 เดือนเนื่องจากการสอนผู้อื่นต้องมีการประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพสุขภาพด้วย ก่อนที่จะลงมือกับผู้รับบริการที่มารักษาเบาหวานหรือผู้สนใจ ได้ทดลองสอนกับอาสาสมัครภายในโรงพยาบาลก่อน

    กระบวนการใน class พื้นฐานลำดับแรกก็คือหลักการสอนทั่วไปร่วมกับ OLE (O-bjective   L- earning process          E -valuation)

 

วัตถุประสงค์ (Objective) เพื่อป้องกันโรคทั้ง 3 ระดับ มีตัวชี้วัดผลน้ำตาลในเลือด น้ำหนัก รอบเอว ดัชนีมวลกาย(Body Mass Index)  BP A1C lipid profile

กระบวนการเรียนรู้ (Learning process)

-ลำดับแรกต้องมีการประเมินสุขภาพก่อนเต้นเพื่อตรวจสอบว่ามีข้อจำกัดเรื่องออกกำลังกายหรือไม่ อย่างไร

- สอนจับ pulse, คำนวณmaximum heart rate

- สอนการเต้นลีลาศ ช้าเร็ว มีการ warm up cool down

  *ก่อนและหลังเต้นลีลาศให้จับ pulseและ หลังเต้น 10 นาที

ทีมสุขภาพต้องมีความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน ทุกคนได้รับการอบรม CPR(cardiopulmonary resuscitation) ในระหว่างกิจกรรมการออกกำลังกายต้องระมัดระวังการบาดเจ็บ เป็นลมหมดสติ และในช่วง dancercise ควรสังเกตและถามผู้ป่วย ทำต่อได้ไหม 

E -valuation ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ป้องกันโรคได้ทั้ง 3  ระดับ ตัวชี้วัดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีการติดตาม ภาวะแทรกซ้อนระยะยาว การเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตสูง(Blood Presure ) ร้อยละของน้ำตาลที่เกาะเม็ดเลือดแดง (A1C) ระดับไขมันในเลือด(lipid profile)

กิจกรรมนี้มีข้อดี  ผู้รับบริการพึงพอใจพัฒนาเป็นโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพป้องกันการเกิดโรค และสามารถขายได้

-ผู้รับบริการพึงพอใจ : ใช้เพลงประกอบ เบา สบาย โดน โดน

-ทีมงานมีความเชี่ยวชาญ มั่นใจ มีความสุขในการทำงานมากขึ้น

มีองค์ความรู้รองรับศักยภาพกิจกรรมนี้

การเผาผลาญพลังงาน (Calories burned) 

-จังหวะเพลงช้า( slow ) เช่น การรำวง เต้นลีลาศในจังหวะบีกินเผาผลาญพลังงานได้  3 cal /min

-จังหวะเพลงเร็ว (quick dance) เช่น  แซมบ้า, ร็อค,บันนี่ฮ็อป เผาผลาญพลังงานได้  6 cal/min

อาจารย์ อารยา ทองผิว ได้กรุณา ให้คำแนะนำ การศึกษาเพิ่มเติมที่มาของข้อมูลการเผาผลาญพลังงานจาก  Journal of sport medicine http://journals.lww.com/cjsportsmed/pages/default.aspx   

ข้อควรคำนึงในการทำกิจกรรมนี้

-ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ต้องประเมินสุขภาพให้ผู้ป่วย จัดคัดแยกกลุ่มที่เหมาะสมกิจกรรม ประเมินผู้ป่วยได้:เลือกเพลง ให้เหมาะสม

 

-เตรียมพร้อมระบบความปลอดภัย (ทีมงานต้องฝึกการช่วยเหลือชีวิตในภาวะฉุกเฉิน CPR)

-ปัญหาที่ยากในกิจกรรมนี้

*เพลงหายาก:จังหวะต้องชัดเจน  *เครื่องมือต้องดี เพลงมีจังหวะชัด

* trainer ต้องได้รับการยอมรับ -เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ป่วย ฝึก/ประยุกต์/ผ่านได้มีประสบการณ์สโมสรลีลาศที่ได้รับการยอมรับ

 น้องโอ๋กับน้องหน่อยผู้เล่าเรื่อง กล่าวสุดท้ายว่าเมื่อตกลงใจจะทำตั้งเป้าแล้วว่า ผู้ป่วยต้องทำได้จริง สุขภาพดี ลดแทรกซ้อนได้ค่ะ

 

 

 



คำสำคัญ (Tags): #kmdm
หมายเลขบันทึก: 500976เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2012 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2012 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท