สหรัฐเห็นความสำคัญของการฝึกจิตต่อการศึกษายุคศตวรรษที่ ๒๑


การพัฒนาทักษะทางจิต ความโน้มเอียงเชิงสังคม และการควบคุมความรู้สึก สำคัญต่อเป้าพึงประสงค์ของการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑

เพิ่งมีบทความปริทัศน์ตีพิมพ์ โดยคณะผู้เขียน ๑๐ คน จาก ๑๐ สถาบันการศึกษาในสหรัฐ ที่เรียกว่า 

Mind and Life Education Research Network (MLERN) เขียนบทความเรื่อง  Contemplative practices and mental training: prospects for American education. 2012  Child Dev Prospect  June 1, 6 (2), 146-153

doi:10.1111/j.1750-8606.2012.00240.x

กล่าวถึงว่า การพัฒนาทักษะทางจิต ความโน้มเอียงเชิงสังคม และการควบคุมความรู้สึก สำคัญต่อเป้าพึงประสงค์ของการศึกษาของเยาวชนสหรัฐฯ ในคริสตศตวรรษที่ ๒๑ และ การฝึกจิตมีประโยชน์ 

เขาพูดถึงวิปัสสนาในการฝึกจิตแยะมาก  แต่เขาใช้คำว่า mindfulness meditation ไม่ได้ใช้ศัพท์ว่า Vipassana โดยเน้นหนักเพื่อเพิ่มสมาธิในการเรียน และควบคุมอารมณ์ และเขาพูดถึง โยคะด้วย มีผลต่อการพัฒนาสมอง

มีให้ดาวน์โหลดได้ฟรีจาก Pubmed Central 

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22905038

ผมว่า เมืองไทยซึ่งเป็นเมืองพุทธน่าจะต้องมีการฝึกสมาธิมากขึ้นในโรงเรียน ไม่จำเป็นว่าเป็นโรงเรียนวิถีพุทธเท่านั้น ถึงจะมีการเข้าสมาธิ วิปัสสนาทุกวัน

หมายเลขบันทึก: 500756เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2012 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท