พระสมเด็จเนื้อผง ฝีมือจัด


แทบทุกอย่างที่บอกไว้ในตำรา หรือท่านอยากเห็น ช่างโรงงานทำพระเขาทราบดี ทราบมานานมานานแล้ว และเตรียมไว้ให้ท่านดูอย่างเต็มที่แล้ว

ข่าวดีสำหรับนักส่องพระสมเด็จ เนื้อผงปูนเปลือกหอย

ตอนนี้ผมพบพระฝีมือขั้นสูงสุดมากๆแล้วหลายองค์

 มีมากในตลาดระดับล่าง อย่างผิดปกติ (ทั้งๆที่ ไม่ควรจะมี)

จะทะยอยนำมาให้ชม และอธิบาย "จุดเก๊"

เขาทำไว้ให้ดูเกือบหมด

และเป็นบทตีแสกหน้านักส่องที่ชอบ “ใช้หูดูพระ” ไม่ชอบเรียน ว่า

  • แทบทุกอย่างที่บอกไว้ในตำรา หรือท่านอยากเห็น
  • ช่างโรงงานทำพระเขาทราบดี
  • ทราบมานานมานานแล้ว และ
  • เตรียมไว้ให้ท่านดูอย่างเต็มที่แล้ว

 

ที่มีทั้ง

  • ผิวผดเม็ดๆ คล้ายผิวงอก เนื้องอกเป็นจุดๆบนสันนูน
  • ร่องแยกตามผิวขอบนวลๆ
  • รอยเส้นตังอิ้วในเนื้อปูน

แต่เท่าที่พบ ยังทำได้ไม่ครบในองค์เดียวกัน จะมีเพียงบางอย่าง

และ ที่ยังไม่พบว่าทำได้ คือ

ความเหี่ยวของผิวแบบเป็นริ้ว ทำได้แค่เป็นคลื่นหยาบๆ

เนื้อที่นิยมทำเลียนแบบมากที่สุดคือ พระเนื้อปูนดิบ กรุเก่า และพระล้าง

น่าจะมาจากลักษณะของผิวแกร่ง แต่งผิวง่ายกว่า และไม่ซับซ้อน

  • ใช้เรซินเป็นวัสดุพื้นฐาน มีเนื้อในเนื้อนอก
  • หล่อเหมือนพิมพ์จริงๆในทุกมิติ
  • ทำให้มีผิวผดเม็ดบนสัน แต่งผิว ขัดผิวผดเบา ให้ดูเหมือนใหม่
  • โปะให้ดูเหมือนเนื้องอก
  • อบให้ผิวปริตื้นๆ
  • แต่งเส้นตังอิ้วในร่อง และตามเส้นซุ้ม องค์พระ
  • ใช้สีน้ำตาลแต่งคราบตังอิ้วตามขอบสันและองค์พระ
  • แต่งผิวนวลในร่องปริ



เขาทำได้ระดับเลนส์ธรรมดา ขนาด 20X ยังมองไม่ออก ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่อง จึงจะแยกได้

ดังนั้น

สำหรับท่านที่ยังใช้เลนส์ ไม่เกิน 20Xถ้าเน้นความครบถ้วนของลักษณะพระแท้

  • ผิวเป็นริ้วเหี่ยวๆ แบบละเอียดยิบ
  • สีและแบบหลากลาย กลมกลืน
  • หน้า-หลัง เหมือนกัน
  • พิมพ์ที่คมชัดลึก
  • หนึกนุ่ม ไม่กระด้าง

ยังจะปลอดภัยอยู่พอสมควรครับ

สำหรับท่านที่มีกล้องกำลังขยายสูงหน่อย ให้ดู

  • ผิวผดจะมีทั้งใหม่และเก่า หลากสี หลากอายุ (ของเก๊จะมีอายุเดียว)
  • ฐานของเม็ดผดจะดูเป็นมุมแยกจากเนื้อเดิม (ของเก๊จะดูกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน)
  • ผิวโปะให้ดูว่างอกใหม่จะดูกระด้าง ไม่ฉ่ำและหลากอายุในเม็ดเดียวกัน
  • ตังอิ้วไม่กลมกลืนกับรูน้ำตา รูปลายเข็ม และไม่สามารถไล่หาที่มาของตังอิ้วได้
  • ผิวในร่องดูเรียบตึง ไม่เหี่ยว

สำหรับท่านที่ชอบดูแบบเร็วๆ

  • พิมพ์จะดูคมชัดลึก สวยงาม ถูกต้อง (ของเก๊จะมีข้อผิดพลาดเสมอ ที่ซุ้ม องค์พระ และฐาน มักไม่เรียบร้อย)
  • เวลาอ่านพิมพ์ ให้อ่านลอดผิวโปะ หรือผิวงอกทั้งหมด ของแท้จะดูเนื้อใหม่เป็นเนื้อเกิน (ของเก๊จะดูรวมเนื้อใหม่แล้วลงตัวพอดี)
  • ผิวดูนุ่มตางดงาม (ของเก๊ จะดูกระด้างๆ)

และหลักการเดิม ที่ยังต้องใช้อย่างเคร่งครัด

  • ทุกรอยปริ รูน้ำตา และรูปลายเข็ม จะต้องเหมือนกัน ทั้งข้าง หน้าและหลัง
  • ที่จะมีทั้ง นวลปูนสุก คราบปูนดิบ และคราบตังอิ้ว
  • อยู่อย่างกลมกลืนกัน ไม่แยกกัน ไม่ขัดแย้ง และไม่ผิดลำดับ

เท่าที่ทราบ เกณฑ์นี้ยังใช้ได้อย่างปลอดภัยอยู่ครับ

จนกว่าช่างจะพัฒนาฝีมือไปอีกระดับหนึ่ง แล้วค่อยว่ากันใหม่ ว่ายังเหลืออะไรให้ระวังได้บ้าง

 

ดังนั้นผมจึงขอความกรุณา ท่านที่พบพระเก๊จัดๆ อย่าซ่อนไว้ครับ

นำมาดู และอธิบาย เพื่อทำบุญความรู้ เพื่อการเรียน และความปลอดภัยในการหยิบพระเนื้อผงครับ

หมายเลขบันทึก: 500121เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2012 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2012 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

 

พระสวยมาก  ชอบค่ะชอบมาก ....  แต่ผู้หญิงๆ ....ดูไม่เป็นอยู่ดีนะคะ

 

ขอบคุณ สิ่งดีดีที่ได้เรียนรู้นะคะ ท่านอาจารย์

โหวว // เก๊ ขนาดนี้ อึ้ง เลย ดูยากกว่าสนามท่าพระจันทร์อีกนะเนี่ย สงสัยต้องศึกษาลึกๆๆกว่านี้ ค่อยเก็บ

อาจารย์ได้เขียนบทความในหนังสือเล่มใดบ้างไหมครับ เพื่อผมจะหามาอ่านศึกษาดูบ้างครับ

วางขายที่ SE-ED ครับ เล่มสองสมเด็จ กำลังจะออกครับ

อาจารย์ภาพหายครับ 

รูปเล็กไปครับ เก๊แบบเด็กๆ ดูง่ายๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท