ลงแขกปลูกข้าวไร่


...ช่วยกันลงแขกปลูกข้าวไร่ ยังเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิม และยังคงสืบต่อกันเรื่อยมา แต่ไม่วันใดก็วันหนึ่งอาจจะหมดไป เพระ?

   การปลูกข้าวไร่เป็นอาชีพหลักของเกษตรกรที่นี่ ในแต่ละปีหน้าที่หลักส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่อยู่ในไร่ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีการทำสวนบ้าง รับจ้างข้างนอกบ้าง แต่เมื่อถึงฤดูทำไร่สมาชิกในครัวเรือนทุกคนจะกลับมารวมตัวกันเพื่อมาช่วยกันทำไร่ให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเดินทางไปยังที่ ๆ ไปรับจ้างต่อ ทิ้งไว้เพียงพ่อแม่ที่แก่แล้ว แม่บ้านที่มีหน้าที่ดูแลเลี้ยงลูกหลาน และเด็กเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน

   การทำไร่ไม่ได้ทำแค่เดือนสองเดือนหรือเป็นฤดูกาลคล้ายกับการทำนา แต่มันใช้เวลาทั้งปี โดยชาวบ้านจะเริ่มถางไร่ในเดือนธันวาคม เดือนมกราคมปล่อยทิ้งไว้ให้ไม้ที่ถางแห้ง ก่อนที่จะเริ่มทยอยเผาไร่ในเดือนกุมภาพันธ์ สามารถปลูกข้าวไร่ในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงเมษายน ส่วนเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนจะอยู่ในชวงดูแล ถางหญ้า (ระหว่างนี้เก็บผลผลิตที่เป็นพืชผักต่าง ๆ ได้ เพราะปลูกพร้อมกับตอนปลูกข้าวไร่ มีพืชหลายชนิดมาก แต่ละชนิดจะเก็บเกี่ยวไม่พร้อมกันด้วย) ในเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวและเก็บข้าวในยุ้งฉาง

   เกือบทุกขั้นตอนจะมีพิธีกรรมเลี้ยงเจ้าป่า เจ้าเขา ไร่ ดิน ไฟ แล้วแต่กิจกรรมที่จะทำด้วย  แต่สำหรับวันนี้ในเดือนเมษายนได้ไปเห็นการปลูกข้าวไร่ของชาวบ้าน โดยมีน้อง ๆ (อีกแล้ว) เป็นผู้พาไป เหนื่อยอีกตามเคยค่ะ ทางชันมาก แต่เห็นน้อง ๆ มีความสุขกันมาก ๆ เช่นกัน


การปลูกข้าวไร่ จะมีคนขุดหลุม และคนหยอดเมล็ด โดยปกติจะจับคู่กัน ในแต่ภาพ น้อง ๆ ต้องช่วยกันหยอดเมล็ดข้าว เพราะคนขุด จะขุดไวมาก ๆ


มือดำกันเลยค่ะ จากการจับไม้ขุดหลุมบ้าง ตอไม้ในไร่บ้าง หรือดินขี้เถ้าบ้าง


ไม่ใช่แค่มือนะค่ะ หน้าหนูก็ดำค่ะ


ต้องห่อข้าวไปด้วยค่ะ ไม่อย่างนั้นไม่มีแรงเดินกลับบ้านแล้ว หมดแรง


รางน้ำดื่ม น้ำผุดขึ้นมา ชาวบ้านเลยเอาไม้ไผ่ไปทำเป็นน้ำไหล ทำให้สะดวกแก่การนำมาดื่มด้วย


หลังจากปลูกข้าวไร่เสร็จแล้ว ก็แวะพักดื่มน้ำเติมพลังก่อนค่ะ

 


รอบนี้ พี่ ๆ เป็นภาระให้น้อง ๆ อีกเช่นเคย แวะพักไม่รู้กี่รอบ ทางชันสุด ๆ ค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 499821เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2012 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2012 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

อายุปูนนี้แล้วอ่ะเนาะ ;)...

ดีจังเลยค่ะที่ได้กินข้าวในห่อใบตองกับดื่มน้ำจากปล้องไม้ไผ่

แหมอาจารย์ค่ะ ยังไงก็ไล่ตามอาจารย์ไม่ทันค่ะ กิกิ ขอบคุณค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

  • ดูแล้ว
  • ทำไม่ยากแต่ใช้เวลานะครับ
  • ใช้ไม่เจาะนำทาง
  • แล้วใส่เมล็ดข้าวนะครับ
  • ชอบน้ำผุดครับ
  • ปกติหายาก

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต ฝอยทอง เหมือนจะทำไม่ยากค่ะ แต่ต้องใช้พลังเยอะมากเลยสำหรับหนู แต่ชาวบ้านเขาคุ้นเคยทำจนชำนาญค่ะ

น้ำผุดที่อมก๋อยยังพอจะเจอได้อยู่บ่อย ๆ ค่ะ เวลาพวกเราเข้าสำรวจพื้นที่ป่าค่ะ

  • ชอบดูรางน้ำดื่ม ดูใสดีด้วยนะคะนั่น เข้าใจแล้วว่าเป็นอย่างไร ขอบคุณที่นำภาพมาให้ดู มีความสุขมากที่ได้เห็นวิถีชีวิตแบบนี้
  • ข้าวที่ห่อใบตอง ไม่คิดเลยว่า จะยังมีอยู่อีก ชอบมากที่สุดเลยหละคุณดอกหญ้าน้ำ (เพราะกินข้าวอิ่มแล้วไม่ต้องล้างจาน 555) นึกถึงที่บ้านควาย สุพรรณฯ ที่เค้ามีข้าวห่อใบบัว
  • สงสัยและอยากรู้พิธีกรรมเลี้ยงเจ้าป่า เจ้าเขา ไร่ ดิน ไฟ ว่าเค้าทำกันอย่างไร

การลงแขกเป็นกิจกรรมที่น่ารักมากค่ะ

 

ขอบคุณค่ะคุณครูNopparat Pongsuk รอติดตามอ่านต่อไปนะค่ะ จะเก็บมาเล่าให้อ่านค่ะ

  • ปลูกข้าวและยังแสดงความเคารพนอบน้อมต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพยาฟ้าดินด้วย เป็นการทำมาหากินที่มีประเพณีวัฒนธรรมดีงามสืบทอดต่อกันมาน่ายกย่องมากค่ะ
  • ข้าวห่อทานหลังลงแขกแล้วอร่อยเหาะเลยค่ะ เคยทานข้าวห่อตอนเดินป่ารู้สึกว่าอร่อยเป็นพิเศษค่ะ

 

ขอบคุณค่ะอาจารย์Sila Phu-Chaya กินข้าวในห่อใบตอง ต้องใช้มือเปิบด้วยนะค่ะ น้ำพริก ผักลวก อร่อยมากค่ะ

ได้เรียนรู้ไปกับเด็กๆด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์นงนาท สนธิสุวรรณ

การลงแขก...ปัจจุบันนี้เริ่มพบเห็นยากขึ้นนะครับ ดีใจจัง ที่ยังมีภาพแบบนี้ให้เห็นอยู่ที่อมก๋อยด้วย

ขอบคุณค่ะคุณอักขณิช เวลานี้การลงแขกยังมีอีกมากมายค่ะที่อมก๋อย แต่อีกไม่นานคงลดลงเช่นกันค่ะ

แบบนี้เคยทำแล้วค่ะ

ตอนเด็กๆสนุกนะค่ะ

แต่ถ้าเป็นตอนนี้คงไม่ไหวแล้วค่ะ

วิถีชุมชนดั้งเดิมนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรเป็นการทำทั้งกายและใจ เต็มไปด้วยความนอบน้อม รู้คุณแม่ธรรมชาติ หวังว่าชุมชนที่น้องเข้าไปทำงานด้วยจะสามารถอยู่ตามวิถีของเขาอย่างมีความสุขไปได้นานๆนะคะ

ขอบคุณค่ะคุณพี่ยุวนุช น้องก็หวังว่าชุมชนจะไม่ถูกดูดกลืนไปกับเทคโนโลยี สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท