การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว


การดูแลผู้สูงอายุระยะยาว,การดูแลผู้สูงอายุ ,Long Term Care, LTC

          ในปัจจุบันเราจะเห็นว่าคนมีอายุยืนขึ้นจากความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์และสาธารสุข  ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่การมีอายุยืนยาวไม่ได้หมายถึงการมีสุขภาพที่ดี  เราจะเห็นผู้สูงอายุหลายคนเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  ข้อเข่าเสื่อม ความจำเสื่อมเป็นต้น  สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุ ในปี2550  พบว่า ผู้สูงอายุอายุยิ่งสูงยิ่งมีความเจ็บป่วยมาก ร้อยละ 69.3 ของผู้สูงอายุในกลุ่มอายุ 60-69ปี เป็นโรคเรื้อรังและจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเพิ่มเป็นร้อยละ 83.3 ในกลุ่มที่มีอายุ 90ปีขึ้นไป โดยจะมีภาวะการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 6 โรค( เบาหวาน ความดัน   โรคหัวใจ โรคอัมพาตอัมพฤกษ์  โรคหลอดเลือดในสมองตีบ และโรคมะเร็ง ) พร้อมกันถึงร้อยละ 70.8 และ 1ใน4 ที่มีปัญหาสุขภาพจะเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้  และถ้ามีปัญหาสุขภาพนานเกิน 6 เดือน อาจจะมเป็นภาวะทุพพลภาพระยะยาว ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา

        จากสาเหตุดังกล่าวกรมอนามัยจึงได้มีนโยบายการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว โดยเริ่มนำร่องในปี 2551 ได้มีการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจนถึงปัจจุบัน  โดยมีระบบการดูแลผู้สูงอายุทั้งในสถานบริการสาธารณสุขและในชุมชนเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ  จึงแบ่งผู้สูงอายุออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

          กลุ่มที่ 1 เรียกว่ากลุ่มติดสังคม  คือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองได้ดี โดยให้มีการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นชมรมผู้สูงอายุเพื่อที่จะได้มีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรครวมทั้งร่วมทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และอาจช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุอื่นๆที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือได้บ้างเล็กน้อย

          กลุ่มที่ 2 เรียกว่ากลุ่มที่ติดบ้าน คือผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองและช่วยเหลือตนเองได้บ้าง  กลุ่มนี้ต้องมีคนให้ความช่วยเหลือบ้างในบางเรื่อง

          กลุ่มที่ 3 เรียกว่ากลุ่มติดเตียง คือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พิการหรือทุพพลภาพ  ต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา

         เนื่องจากการขยายการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุระยาวไปในพื้นที่ระดับตำบลและอำเภอ ผู้ปฏิบัติรับทราบยโยบายและเกณฑ์/ตัวชี้วัด ต่างก็นำไปดำเนินการตามบริบทของพื้นที่จนประสบผลสำเร็จ   แตยังไม่มีคู่มือแนวทางการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ศูนย์อนามัยที่ 8 นครสวรรค์ โดยงานผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำแนวทางการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุร่วมกับภาคีเครือข่าย 4 จังหวัดคือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร และอุทัยธานี  โดยนำรูปแบบของพื้นที่ดำเนินการแล้วประสบความสำเร็จ  มารวบรวมเป็นแนวทางการดำเนินงานฯ ในวันที่ 20-22 มิถุนายน 2555 ณ.บ้านคุ้งนำรีสร์อท จังหวัดสมุทรสาคร  

แนวทางการดำเนินงานดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในพื้นที่ ประกอบมีดังนี้

1. บาทบาทหน้าที่ของภาคีเครือข่าย/อปท.และกิจกรรมในการดำเนินงาน

ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน  

2. องค์ประกอบในการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวประกอบด้วย  

        องค์ปกอบที่1 ระบบข้อมูลผู้สูงอายุ

        องค์ปกอบที่2 ชมรมผู้สูงอายุคุณภาพ        

       องค์ปกอบที่3  อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน   

       องค์ปกอบที่4  การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านโดยบุคลากรทางการ

แพทย์

       องค์ประกอบที่5 การส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในระดับตำบล

       ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบจะมีรายละเอียดและตัวอย่างการดำเนินงานของ

พื้นที่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว    สามารถเข้าไปดูในเว็ปไซด์ของศูนย์อนามัย

ที่ 8 ได้

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 499525เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

พี่เพ็ญขาถ้า link เนื้อหาที่จะให้เข้าไปเรียนรู้กับ web ศูนย์ฯไว้เลยก็น่าจะดีค่ะ จะได้ง่ายต่อการเข้าถึงค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท