คิดทะลายโลก (ปะติดจับสมุดขาดขาด ๒)


ขั้นตอนแห่ง ปะติดฯ  ตามคัมภีร์มีดังนี้

 

ความไม่รู้ (อวิชชา) ก่อความคิด (สังขาร)  

ความคิดก่อสภาวะรับรู้ (จิต/วิญญาณ) 

การรับรู้ก่อตัวตน (นามรูป)   (จุดนี้สำคัญและลึกซึ้งมาก)

ตัวตนก่อประตูรับรู้ (อายตนะ) 

ประตูรับรู้ก่อสัมผัส (ผัสสะ) 

สัมผัสก่อความรู้สึก (เวทนา) 

ความรู้สึกก่อความอยาก (ตัณหา) 

ความอยากก่อการยึดติด (อุปาทาน) 

 การยึดติดก่อการเกิด (ชาติ)   (จุดนี้ก็ลึกซึ้งมาก)

การเกิดก่อความแก่ (ชรา) 

การแก่ก่อความตาย (มรณะ) 

ซึ่งก่อความเครียด โศกเศร้า อีกมากหลาย  ซึ่งเป็นเชื้อให้ก่อ อวิชชา อีก

จนเป็นกรอบคอกที่ล้อมความทุกข์เอาไว้ ไม่ให้ดิ้นหลุดหนีออกไปได้

 

 

ท่านพุทธทาสฯ น่าเป็นคนแรกที่เอาเรื่อง “ปะติดจับสมุดขาดๆ”  นี้มาสาธยายให้เห็นว่า เป็น “หัวใจ” ของพุทธศาสนา คนต่อมาอาจเป็น Walpola Rahula ในหนังสือ What the Buddha Taught ของท่าน  

 

แต่คนที่นำมาปฏิบัติและสอนได้อย่างน่าทึ่งที่สุด ผมกลับยกให้ หลวงพ่อชา ผู้ล่วงลับแห่งวัดหนองป่าพง  อุบลฯ  ที่ท่านสอนสั้นๆว่า  “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ เมื่อหยุดคิดจึงได้รู้”  

 

 

ซึ่งถ้าพวกนักตรรกกะปรัชญาฝรั่งได้ยินเข้าคงขำก้าก ว่า โง่เง่าเต่าตุ่นเสียเหลือเกิน เพราะพวกฝรั่งนั้น บูชาความคิดกันสุดๆ  จนคิดกันได้ร้อยแปดเหลือเชื่อ  ตั้งแต่จุลินทรีย์ตัวจิ๋ว ยันระเบิดนิวเคลียร์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ท ไอแผด ไอโฟน ไอตะโกน และโจรห้าร้อยล่าอาณานิคม

 

 

คำสอนของลพช. นั้นลอง “คิด” ให้ดี จะเห็นว่า ตรงกับหลัก ปะติดฯ 100% เพราะถ้าคุณคิด คุณก่อสังขาร ซึ่ง วิญญาณ นามรูป และ ฯลฯ และทุกข์  จะตามมาแน่นอน  ถ้าหยุดคิด ก็หมดเวรหมดกรรม

 

 

คนบูชาความคิดอ่านแล้วคงเข้าใจยาก หาว่าไม่คิดแล้วก็โง่สิ       ผมจึงขอถามว่า  แล้ว ออกซิเจน มันมีสมองเคยคิดอะไรไหม  แต่ทำไม่มัน “คิด” โครงสร้างอะตอมให้มาเป็นอากาศให้เราหายใจเพื่อดำรงชีวิตได้ล่ะ ...  ระหว่างออกซิเจนกับสมองเรา อันไหนคิดได้เก่งกว่ากัน   ..สมองเราเคยคิดอะไรให้เป็นคุณกับสรรพสิ่งในวงกว้างได้เท่าออกซิเจนบ้างไหม

 

ต้นไม้คิดได้ไหม แล้วทำไม มันรู้จักออกดอกหอม ล่อแมลง ออกผลอร่อย  มีสารอาหารหุ้มเมล็ดเพื่อเลี้ยงดูต้นอ่อนที่จะงอกออกมาอย่างพร้อมมูล   สามารถงอกได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีพ่อแม่คอยเลี้ยงดู   คนเสียอีกที่อ้างว่ามีสมองเลิศ แต่กลับไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้เลยยามแรกคลอด 

 

...ดังนี้การทำแบบไม่คิดแบบออกซิเจน และต้นไม้  กับการคิดแบบมนุษย์ ใครคิดได้ฉลาดกว่ากัน  มีประโยชน์ต่อโลกมากกว่ากัน  

 

ถ้าโลกนี้ไม่มีคนมาเกิด มาอยู่ มาคิด  ความสมดุลคงมีไปตามธรรมชาติ  เกิดความยั่งยืน แต่พอมีคนมาอยู่ มาคิด  โลกกลับกำลังล่มสลาย ด้วยสภาวะต่างๆ เช่น โลกร้อน  การเมืองล้างผลาญ ระบบทุนนิยม ซึ่งสิ่งเลวร้ายต่างๆ นี้ มาจาก ความคิดของมนุษย์ ทั้งสิ้น

 

 

น่าคิดต่อนะครับ ว่าอะไรจะเกิดขึ้นจากผลพวงของการคิดของมนุษย์ที่เราเห็นว่าแสนน่าทึ่ง หรือว่า การคิดหาหนทางเพื่อจะไม่คิด อาจดีกว่าการคิด

 

 

...คนถางทาง (๑๕ สค. ๒๕๕๕) 

หมายเลขบันทึก: 498912เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 23:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เย้ บทความนี้ตามทันแล้ว ค่ะ เพราะวันนี้มานอนเฝ้าหมวยน้อยป่วยที่ รพ. มีเวลานั่งอ่านบทความได้นาน

ออกซิเจน มันมีสมองเคยคิดอะไรไหม  แต่ทำไม่มัน “คิด” โครงสร้างอะตอมให้มาเป็นอากาศให้เราหายใจเพื่อดำรงชีวิตได้ล่ะ ...  ระหว่างออกซิเจนกับสมองเรา อันไหนคิดได้เก่งกว่ากัน   ..สมองเราเคยคิดอะไรให้เป็นคุณกับสรรพสิ่งในวงกว้างได้เท่าออกซิเจนบ้างไหม

 ต้นไม้คิดได้ไหม แล้วทำไม มันรู้จักออกดอกหอม ล่อแมลง ออกผลอร่อย  มีสารอาหารหุ้มเมล็ดเพื่อเลี้ยงดูต้นอ่อนที่จะงอกออกมาอย่างพร้อมมูล   สามารถงอกได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องมีพ่อแม่คอยเลี้ยงดู   คนเสียอีกที่อ้างว่ามีสมองเลิศ แต่กลับไม่สามารถเลี้ยงดูตัวเองได้เลยยามแรกคลอด 

อาจารย์ช่างเปรียบเปรยให้เห็นภาพ น่าคิด  แต่ชลัญว่า อย่าพยายามหาหนทางที่จะไม่คิดเลย เอาเป็นหาหนทางให้คิดดีๆ ที่เป็นสิ่งที่ทำยากเหมือนที่อาจารย์เคยเขียนไว้  น่าจะมีประโยชน์มากกว่า  

ขอบคุณค่ะบทความดีๆ ช่วยกล่อมเกลาจิตใจยามดึก

"คนบูชาความคิดอ่านแล้วคงเข้าใจยาก หาว่าไม่คิดแล้วก็โง่สิ       ผมจึงขอถามว่า  แล้ว ออกซิเจน มันมีสมองเคยคิดอะไรไหม  แต่ทำไม่มัน “คิด” โครงสร้างอะตอมให้มาเป็นอากาศให้เราหายใจเพื่อดำรงชีวิตได้ล่ะ ...  ระหว่างออกซิเจนกับสมองเรา อันไหนคิดได้เก่งกว่ากัน   ..สมองเราเคยคิดอะไรให้เป็นคุณกับสรรพสิ่งในวงกว้างได้เท่าออกซิเจนบ้างไหม" เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะพี่คนถางทาง ขอบคุณบทความดีๆนะคะ อ่านแล้วคิด คิดแล้วพึงปฏิบัติตาม นี่คือ ผู้อ่อนอาวุโสที่น่ารักใช่ไหมคะพี่

 

คุณหมูจ๋า ทำกราฟฟิกได้สวยงามมาก สงสัยจะทำโดยไม่คิด อิอิ

หากเรารู้ทันความคิด ตั้งแต่ทีแรก มันก็คงจะไม่ก่อให้เกิดวงจรอื่นๆนะคะ ปะติดฯได้ดี จะว่าไปมันเป็นวงจรของธรรมชาติ หมุนไปไม่รู้จบ จนกว่าเราจะพบ กับ"เนกขัมมะ" บางสิ่งบางอย่างก็รู้ แต่ยังไม่ยอมเข้าใจ คนเราทุกวันนี้ถึงได้กลับมาเกิดในกองทุกข์ กัน ไม่รู้เบื่อ เพราะอวิชา นั่นเอง (รวมถึงตัวฉันเองก็ด้วย.....เฮ้อ) ยังคงหมุนเวียนเปลี่ยนถ่าย กันอยู่นี่เอง

เท่าทันความคิด อืมม์ ง่ายๆ แต่เห็นภาพดีครับ พอเท่าทันก็ไม่ตกเป็นทาสความคิด (แม้คิดดี)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท