เข้าพรรษาทานมังสวิรัติเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา


การที่พุทธศาสนิกชวนชักชวนกันลดละเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นการเอื้อเฟื้อต่อการปฏิบัติตามศีลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้นั่นเอง

             พระพุทธองค์ตรัสว่า  "ละการฆ่า เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ(โทษภัย) วางศาสตรา(ของมีคม)แล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้    แม้ด้วยการกระทำอย่างนี้ ก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย"

             หากเราวิเคราะห์  ศีลข้อที่ ๑ การละเว้นจากการฆ่าสัตว์   จึงเสมือนว่า  การที่พุทธศาสนิกชวนชักชวนกันเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นการเอื้อเฟื้อต่อการปฏิบัติตามศีลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้นั่นเอง

             อนึ่งในเทศกาลเข้าพรรษา   หากเราสามารถลดละการกินเนื้อสัตว์ ปรับมาลองทานอาหารมังสวิรัติ  ก็เสมือนการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ เป็นการสร้างกรรมดีง่าย ๆ จากพฤติกรรมการกินในชีวิตประจำวันของเรา

            สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับอาหารมังสวิรัติอาจคิดว่า  อาหารมังสวิรัติต้องจืดชืดไร้รสชาติ ไม่น่าทาน  จึงอยากแบ่งปันเทคนิคการประกอบอาหารมังสวิรัติง่าย ๆ ด้วยตนเอง ดังนี้คะ

 รายการที่หนึ่ง  สอง  :  ยำผักกูด หรือยำถั่วพู

ก.      เครื่องปรุงอาหาร

1.      ผักกูดถั่วพูที่หั่นและล้างสะอาด   ลวกให้สุก    1 จาน

2.      น้ำยำ ( ส่วนผสมระหว่างน้ำมะขามเปียก , น้ำตาลปิ้บและเกลือป่น  นำมาผสมให้เข้ากันและตั้งไฟอ่อน ๆ )

3.      ซีอื้วขาว  2 ช้อนชา

4.      น้ำมะนาว   1  ช้อนชา

5.      มะพร้างขูดคั่ว           1  ช้อนโต๊ะ

6.      ถั่วลิสงป่น       2  ช้อนโต๊ะ

7.      ผักชีฝรั่ง   1 ช้อนชา

8.      แครอทหั่นเป็นเส้นฝอย    1  ช้อนโต๊ะ

9.      มะม่วงดิบหั่นเป็นเส้นฝอย      1   ช้อนโต๊ะ

10.   น้ำพริกเผา   1  ช้อนโต๊ะ

11.  กะทิสด          1  ช้อนโต๊ะ

12.  เห็ดลวก         1   ช้อนโต๊ะ

13.  หอมเจียว       1  ช้อนโต๊ะ

14.  ไข่ต้มสุก         (ผ่าเป็น 4 ซีก)  1  ฟอง

15.  พริกขี้หนูแห้งทอด   4  เม็ด

 ข.      ขั้นตอนการประกอบอาหาร

 1.      ใส่ซีอิ้วขาว  มะนาว  น้ำพริกเผา  น้ำยำ คลุกให้เข้ากัน

2. ใส่ผักกูด/ถั่วพูลวก  แครอท  เห็ดลวก  มะม่วง  มะพร้าวขูด  คลุกให้เข้ากัน

3.จัดใส่จาน  ตกแต่งด้วยไข่ต้มสุก  หอมเจียว  กะทิสด  พริกขี้หนูแห้งทอด  

     รายการที่สาม  :   ยำหัวปลี

ก.     เครื่องปรุงอาหาร

1.      หัวปลีหั่นและล้างสะอาด  แช่ด้วยน้ำมะนาว    1 จาน

2.      น้ำยำ ( ส่วนผสมระหว่างน้ำมะขามเปียก , น้ำตาลปิ้บและเกลือป่น  นำมาผสมให้เข้ากันและตั้งไฟอ่อน ๆ )

3.      ซีอื้วขาว  2 ช้อนชา

4.      น้ำมะนาว   1  ช้อนชา

5.      ใบโหระพา      10  ใบ

6.      ถั่วลิสงป่น       2  ช้อนโต๊ะ

7.      ผักชีฝรั่ง   1 ช้อนชา

8.      แครอทหั่นเป็นเส้นฝอย    1  ช้อนโต๊ะ

9.      มะม่วงดิบหั่นเป็นเส้นฝอย      1   ช้อนโต๊ะ

10.   น้ำพริกเผา   1  ช้อนโต๊ะ

11.  กะทิสด          1  ช้อนโต๊ะ

12.  เห็ดลวก         1   ช้อนโต๊ะ

13.  หอมเจียว       1  ช้อนโต๊ะ

14.  ไข่ต้มสุก         (ผ่าเป็น 4 ซีก)  1  ฟอง

15.  พริกขี้หนูแห้งทอด   4  เม็ด

 ง.       ขั้นตอนการประกอบอาหาร

 1.      ใส่ซีอิ้วขาว  มะนาว  น้ำพริกเผา  น้ำยำ คลุกให้เข้ากัน

2.      ใส่หัวปลีหั่นฝอย  แครอท  เห็ดลวก  มะม่วง  คลุกให้เข้ากัน

3.      จัดใส่จาน  ตกแต่งด้วยไข่ต้มสุก  หอมเจียว  กะทิสด  พริกขี้หนูแห้งทอด  

     หมายเหต :  ข้อแตกต่างระหว่างยำผักกูด  กับยำหัวปลีคือ  ยำหัวปลีจะไม่ใส่มะพร้าวคั่ว และใส่ใบโหระพา 

 

รายการที่สี่  :   ส้มตำไทย

ก.      เครื่องปรุงอาหาร

1.  มะละกอขูด                             1        จาน

2.  มะม่วงดิบขูด                  2        ช้อนโต๊ะ

3.  แครอทขูด                     2        ช้อนโต๊ะ

4.  มะเขือเทศสุกผ่าครึ่ง         4        ลูก(ขนาดลูกเล็ก)   

5.  ถั่วฝักยาวหั่น 1 นิ้ว           1        ช้อนโต๊ะ

6.  สาหร่ายอบแห้ง               1        ช้อนโต๊ะ

7.  ซี้อิ้วขาว                        1        ช้อนโต๊ะ

8.  น้ำตาลทราย                   1        ช้อนโต๊ะ

9.   กระเทียม                     5        กลีบ

10.  พริกขี้หนูแห้งทอด          4        เม็ด

11.  มะนาว                         1       ลูก

12. น้ำยำ ( ส่วนผสมระหว่างน้ำมะขามเปียก , น้ำตาลปิ้บและเกลือป่น  นำมาผสมให้เข้ากันและตั้งไฟอ่อน ๆ )

       ข.  ขั้นตอนการประกอบอาหาร

 1.  โขลกกระเทียม  พริกขี้หนูแห้งทอด  น้ำตาลทราย ให้ละเอียด และ ใส่ถั่วฝักยาวโขลกให้แตก 

 2. ใส่มะเขือเทศ  มะม่วง  แครอท  มะละกอ  ซี้อิ้วขาว น้ำมะนาว  น้ำยำ  คลุกให้เข้ากัน

3.  ใส่สาหร่ายอบแห้ง  และถั่วลิสง  จัดตกแต่งใส่จานพร้อมเสริฟ

 หมายเหตุ  :  ผู้ที่นิยมทานส้มตำลาวสามารถปรับโดยเติมกะปิเจ  และไม่ใสน้ำตาลทราย  พร้อมลดปริมาณน้ำยำ   เพราะรสชาติส้มตำลาวคือ  รสเค็มเปรี้ยวนำ  ในขณะที่รสชาติส้มตำไทยคือ รสหวานเปรี้ยวนำ

           สำหรับรายการที่นำเสนอทั้งหมดนี้  ดิฉันโชคดีที่ได้เรียนวิธีทำอาหารจากคุณลุงยุรวัฒน์   ทรรพนันท์  ผู้เสมือนต้นตำรับอาหารมังสวิรัติแห่งพันพรรณคะ   หากสนใจไปทดลองทำดูนะคะ   แล้วคุณจะพบว่า  อาหารมังสวิรัติน่าสนใจและให้อะไรมากมายกับชีวิตและสังคม


 

หมายเลขบันทึก: 498906เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขออนุโมทนาบุญและขอบคุณเมนูดีดีที่กรุณานำมาแบ่งปันค่ะ

พันพรรณยังตั้งอยู่ที่วัดสวนดอกรึเปล่าคะตอนนี้

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะคุณปริม

   ขอบคุณท่ีแวะมาเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจ
   ร้านพันพรรณ  ขยายสาขาเพิ่มจากวัดสวนดอก เป็นสาขาหลังมอคะ   อยู่ถนนสายหลังมอชอ  เลยประตูวิศวะ  อยูาซ้ายมือก่อนถึงกาแลคะ   ท่ีสาขานี้เปิดสอนทำอาหารมังสวิรัติด้วยคะ
  • สวัสดีครับอาจารย์
  • สบายดีไหมครับ
  • ดูเมนูแล้วน่ากินมากๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท