เขียนจดหมายถึงทีมงานถอดบทเรียนส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ลำปาง


ดึงจดหมายถึงทีมงาน มาเป็นบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ

ทีมงานที่รักทุกท่านครับ

ผมขอส่ง กรอบ หรือ แนวคิดที่เป็นแนวทางในการถอดบทเรียน งานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ของ จ.ลำปาง มาให้อ่านเเละพิจารณาสำหรับการเตรียมความพร้อมกันครับ

จากเรื่องเดิมที่เคยได้ไปถอดบทเรียนมาแล้ว ในครั้งนี้อาจต้องขึ้นสเตปประเด็นไปอีกขั้น สำหรับจังหวัดที่เป็นต้นแบบในการดูแลสุขภาพช่องปาก หากจะมาถอดบทเรียนความสำเร็จแบบเดิม ก็เป็นเรื่องที่ดูเหมือนไม่ไปข้างหน้า อาจต้องมีหลักการในการกำกับ ดังนั้นหลังจากที่เราอ่านต้นเรื่องกันระดับหนึ่งแล้ว

อ่านบันทึกรวมทั้งหมดที่นี่ครับการขับเคลื่อน การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง โดย ทพญ.นนทลี (เพือนร่วมทาง)

และ รวมเรื่อง ลปรร.คนลำปาง ที่บ้านกรูด โดย  ทพญ.นนทลี (เพื่อนร่วมทาง)

ส่วนความเห็นของผมในเวทีครั้งนั้น Knowledge café ค้นหาความสำเร็จงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เมืองลำปาง ลองติดตามอ่านดูและทำความเข้าใจ

 

ก้าวต่อไปอาจต้องมองว่า ในความสำเร็จ (เราตั้งสมมุติฐานไว้ที่ความสำเร็จ)  มีปัจจัยอะไรบ้างที่เข้ากรอบของการส่งเสรอมสุขภาพ ผมคิดว่าจะทำให้งานถอดบทเรียนง่ายมากขึ้น

ผมคิดใช้กรอบ การส่งเสริมสุขภาพ จากออตตาว่า ชาร์เตอร์ สู่ บางกอกชาร์เตอร์ และคิดเองว่างานส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่จังหวัดลำปางเราเดินไปไกลถึงขนาดต้องถอดบทเรียนในระดับนั้นแล้ว

มาทำความเข้าใจ ออตตาว่าชาร์เตอร์ แบบง่ายๆ เพื่อเป็นต้นทุนในการสร้างโครงสร้างคำถามในวงถอดบทเรียนกันครับ

(เป็นบทความที่ ผมนำมาจากการบรรยายของ นายแพทย์หทัย ชิตานนท์ ประธาน สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย
บรรยายเป็นปาฐกถานำ ในการประชุมวิชาการประจำปีของทันตแพทยสมาคมณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 17 กรกฎาคม 2541
) สรุปได้ดังนี้ครับ

กฎบัตรออตตาวา ได้สรุปให้มีกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพ 5 ประการ

  1. การให้การศึกษา และข้อมูลข่าวสารแก่สาธารณสุข (Public education and public information) การให้การศึกษา และให้ข้อมูลแก่สาธารณะ เป็นกลยุทธ์พื้นฐานของงานส่งเสริมสุขภาพ ทั้งนี้อาจทำได้ผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งมีหลากหลายประเภท ในยุคข้อมูลข่าวสารปัจจุบันนี้
  2. การชี้แนะ (Advocate) สุขภาพดี เป็นทรัยากรที่สำคัญ สำหรับการพัฒนาบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ และเป็นมิติสำคัญอันหนึ่ง ของคุณภาพชีวิต ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม พฤติกรรม และชีววิทยา สามารถให้ทั้งคุณ และโทษต่อสุขภาพ งานส่งเสริมสุขภาพมีเป้าหมาย ที่จะทำให้ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว เป็นผลดี โดยการชี้แนะเพื่อสุขภาพ
  3. การตลาดสังคม (Social marketing) การเปลี่ยนแปลงของสังคมในเรื่องสุขภาพ อาจทำได้โดยนำหลักวิชาการตลาด ซึ่งใช้ได้ผลในธุรกิจทั่วไป มาประยุกต์ขึ้น เป็นการตลาดสังคม ตัวอย่างในประเทศไทยของการตลาดสังคม ที่ประสบความสำเร็จ ก็คือ โครงการวางแผนครอบครัว ซึ่งได้ดำเนินการ จนสามารถลดอัตราการเพิ่มของประชากรได้
  4. การทำให้มีความสามารถ (Enable) การส่งเสริมสุขภาพ มุ่งที่การทำให้มีความเสมอภาคในสุขภาพ (Equity in health) ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพมีเป้าหมาย ที่จะลดความแตกต่างในสถานภาพทางสุขภาพ (Health status) และให้มีโอกาส และทรัพยากรเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประชาชนทั้งมวล มีความสามารถใช้ศักยภาพทางสุขภาพ (Health potential) ของตนเองได้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงการมีหลักมั่นคง ในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ทักษะชีวิต และโอกาสที่จะตัดสินใจเลือก ประชาชนจะไม่สามารถบรรลุถึง ศักยภาพทางสุขภาพได้สูงสุด จนกว่าเขาจะสามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ที่กำหนดสุขภาพของเขา ทั้งนี้ต้องใช้ชายกับหญิง อย่างเท่าเทียมกันด้วย
  5. การไกล่เกลี่ย (Mediate) สิ่งที่ได้มาเพื่อสุขภาพที่ดี มิได้เกิดจากภาคสุขภาพแต่ฝ่ายเดียวเสมอไป อุปสงค์ทางการส่งเสริมสุขภาพ ต้องการปฏบัติการประสานกัน โดยส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คือ โดยรัฐบาล ภาคสุขภาพ ภาคสังคม ภาคเศรษฐกิจ โดยองค์กรที่มิใช่รัฐ โดยองค์กรท้องถิ่น โดยภาคอุตสาหกรรม และโดยสื่อ ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีความเกี่ยวข้องกัน ในฐานะปัจเจกบุคคล ครอบครัว และชุมชน นักวิชาชีพ กลุ่มสังคม และบุคลากรทางสุขภาพ มีความรับผิดชอบสำคัญ ในการไกล่เกลี่ยระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ในสังคม เพื่อผลดีต่อสุขภาพ

กลยุทธ์และโครงการ การส่งเสริมสุขภาพจำเป็นต้องได้รับการปรับ ให้เข้ากับความต้องการของท้องถิ่น และความเป็นไปได้ของแต่ละประเทศ และภาค โดยคำนึงถึงระบบสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน

ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพ

กฎบัตรออตตาวาได้จำแนกวิธีปฏิบัติ ในการส่งเสริมสุขภาพออกเป็น 5 ประเภท

  1. สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Build healthy public policy) การส่งเสริมสุขภาพออกไปนอกขอบเขต การบริบาลทางสุขภาพ (Health care) การส่งเสริมสุขภาพนำสุขภาพ เข้าไปอยู่ในวาระของผู้กำหนดนโยบาย ในทุกภาค และทุกระดับ เป็นการนำให้เขาเหล่านั้น ได้ตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น จากการตัดสินใจของเขา และให้เขาได้รับว่า เป็นความรับผิดชอบเพื่อสุขภาพ  นโยบายส่งเสริมสุขภาพรวมแนวทางหลายแนว ที่เสริมซึ่งกันและกัน คือ การออกกฎหมาย มาตรการการเงิน การจัดเก็บภาษี และการเปลี่ยนแปลงองค์กร เป็นการดำเนินการประสานกัน ซึ่งนำไปสู่สุขภาพ รายได้ และนโยบายสังคม ซึ่งก่อให้เกิดความเสมอภาคมากขึ้น ปฏิบัติการร่วมกัน ช่วยให้เกิดสินค้า และบริการ ที่ปลอดภัยกว่า และเอื้อต่อสุขภาพมากกว่า และสภาพแวดล้อมที่สะอาดกว่า และน่าอภิรมย์กว่า  นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ต้องการแสวงหาอุปสรรคต่างๆ ในภาคที่มิใช่สุขภาพ (Non-health sectors) และวิธีการที่จะขจัดอุปสรรคเหล่านี้ เป้าหมายต้องเป็นว่า ทำให้การเลือกเพื่อสุขภาพของผู้กำหนดนโยบาย เป็นการเลือกที่ง่ายด้วย
  2. สร้างสรรค์สภาพแวดล้อม ที่สนับสนุนสุขภาพ (Create supportive environment for health) สังคมของเรามีความสลับซับซ้อน และมีปฏิสัมพันธ์กัน สุขภาพไม่อาจแยกจากเป้าหมายอื่นได้ ความเชื่อมโยงกันอย่างแน่นหนา ระหว่างประชาชน กับสภาพแวดล้อมของเขา เป็นรากฐานของแนวทางสังคม-นิเวศวิทยา ต่อสุขภาพ หลักการโดยทั่วไปของโลก ของชาติ ของภาค และของชุมชนที่เหมือนกัน คือ จำต้องสนับสนุนให้เกิดการดำรงอยู่ร่วมกัน คือ ต้องดูแลซึ่งกันและกัน ดูแลชุมชนของเรา และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของเรา การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั่วโลก จะต้องได้รับการเน้นหนัก ให้เป็นความรับผิดชอบของโลกใบนี้ การเปลี่ยนแปลงในลีลาชีวิต งาน และการพักผ่อนหย่อนใจ มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อสุขภาพ งาน และการพักผ่อนหย่อนใจ ควรจะเป็นแหล่งเพาะสุขภาพของประชาชน วิธีการบริหารงานของสังคม ควร สร้างสรรค์ สังคมที่มีสุขภาพดี การส่งเสริมสุขภาพก่อให้เกิดสภาพความเป็นอยู่ และสภาพการทำงานที่ปลอดภัย เร้าใจ พอใจ และน่าอภิรมย์  การประเมินอย่างเป็นระบบของผลกระทบ ต่อสุขภาพจากสภาพแวดล้อม ที่เปลียนแปลงอย่างรวดเร็ว (โดยเฉพาอย่างยิ่ง ในเรื่องของเทคโนโลยี งาน การผลิตพลังงาน และความเป็นเขตเมือง) เป็นเรื่องสำคัญ และจะต้องติดตามด้วยปฏิบัติการ ซึ่งจะมีผลเป็นบวกต่อสุขภาพ ของสาธารณะ การปกป้องสภาพแวดล้อม ทั้งที่เป็นธรรมชาติ และที่สร้างขึ้น และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะต้องอยู่ในกลยุทธ์ของการส่งเสริมสุขภาพ
  3. สร้างความเข้มแข็งให้แก่ปฏิบัติการชุมชน (Strength community action)  การส่งเสริมสุขภาพทำได้ โดยผ่านทางปฏิบัติการชุมชนที่มั่นคง และมีประสิทธิผล ในการจัดลำดับความสำคัญ การตัดสินใจ การวางแผนกลยุทธ์ แล้วดำเนินการเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีขึ้น แล้วดำเนินการเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีขึ้น หัวใจของขบวนการนี้คือ การเพิ่มอำนาจให้ชุมชน ให้มีความเป็นเจ้าของ และควบคุมกิจกรรม และโชคชะตาของชุมชนเอง  การพัฒนาชุมชนเป็นการดึงเอาทรัพยากรบุคคล และวัตถุในชุมชน มาเสริมการพึ่งพาตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม และเพื่อพัฒนาระบบที่ยืดหยุ่น ในการสร้างความเข้มแข็ง ในการให้สาธารณะมีส่วนร่วม และชี้นำในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งนี้ต้องมีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อย่างเต็มที่ และต่อเนื่อง เข้าถึงโอกาสที่จะเรียนรู้เรื่องสุขภาพ รวมทั้งการสนับสนุนในเรื่องทุน
  4. พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal skill)  การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนการพัฒนาบุคคล และสังคม โดยการให้ข้อมูลข่าวสาร การศึกษาเพื่อสุขภาพ และการเสริมทักษะชีวิต ด้วยการกระทำเหล่านี้ การส่งเสริมสุขภาพจึงเพิ่มทางเลือก ให้ประชาชนใช้ควบคุมสุขภาพของตนเอง และสิ่งแวดล้อมของเขา นอกจากนั้น ยังสามารถเลือกสิ่งที่เป็นคุณต่อสุขภาพอีกด้วย  เป็นเรื่องจำเป็นที่จะทำให้ประชาชน มีความสามารถจะเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเตรียมตนเองสำหรับช่วงต่างๆ และเพื่อเผชิญกับโรคเรื้อรัง และการบาดเจ็บ สิ่งเหล่านี้ต้องทำให้เกิดมีขึ้น ในโรงเรียน บ้าน สถานที่ทำงาน และที่ตั้งชุมชน ปฏิบัติการนี้ต้องการ องค์กรศึกษา วิชาชีพ พาณิชย์ และอาสาสมัคร และภายในของสถาบันเอง
  5. ปรับเปลี่ยนบริการสุขภาพ (Reorient health services)  ในบริการสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพเป็นหน้าที่ซึ่งแบ่งกันรับผิดชอบ โดยบุคคล กลุ่มชุมชน นักวิชาชีพสุขภาพ สถาบันบริการสุขภาพ และรัฐบาล ทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกัน เพื่อระบบบริบาลสุขภาพ ซึ่งนำมาซึ่งสุขภาพดี  บทบาทของภาคสุขภาพต้องเคลื่อนมากขึ้น ไปในทิศทางของการส่งเสริมสุขภาพ นอกเหนือจากการให้บริการทางคลินิก และการรักษาบริการสุขภาพ จำต้องรับเอาภาระกิจ ซึ่งขยายกว้างออกไป ด้วยความเอาใจใส่ และเคารพต่อความต้องการทางวัฒนธรรม ภาระกิจนี้ควรสนับสนุนความต้องการของปัจเจกบุคคล และชุมชน เพื่อชีวิตที่มีสุขภาพดีกว่า และเปิดช่องทางติดต่อระหว่างภาคสุขภาพ และองค์ประกอบทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อม การปรับเปลี่ยนบริการสุขภาพ ยังต้องการความเอาในใส่อย่างมากในการวิจัยสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงในการศึกษา อบรมวิชาชีพ เรื่องนี้ต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเจตนคติ และการจัดองค์กรของบริการสุขภาพ ซึ่งต้องเปลี่ยนจุดมุ่ง ไปยังความต้องการทั้งหมด ของปัจเจกบุคคลในฐานะคนทั้งคน

 

จากการอ่านเราก็เห็นได้ว่า ปฏิบัติการงานส่งเสริมสุขภาพมี 5 ประเภท ดังนั้น รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ที่จังหวัดลำปาง อาจต้องออกแบบโครงสร้างคำถามออกมาผ่านปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพแบบนี้

  1. การส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ไปไกลถึง สร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Build healthy public policy) หรือยัง  หากมีมีกระบวนการอย่างไร? และผลลัพธ์ บทเรียนเป็นอย่างไร?
  2. มีรูปแบบ และกระบวนการ สร้างสรรค์สภาพแวดล้อม ที่สนับสนุนสุขภาพ (Create supportive environment for health) ในงาน ส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ อย่างไรบ้าง?  (ทั้งวิธีคิด มุมมอง การปฏิบัติ และ ผลลัพธ์ บทเรียน)
  3. เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ มีการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ปฏิบัติการชุมชน (Strength community action)  ในงาน ส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ อย่างไรบ้าง?
  4. มีรูปแบบ กระบวนการ วิธีการ กลยุทธ์ อย่างไร ใน พัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal skill)   ในงาน ส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ?
  5. เรามีการปรับเปลี่ยนบริการสุขภาพ (Reorient health services)  อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ?

ส่วนบางกอกชาร์เตอร์ ที่ผมคิดว่าเน้นย้ำจริงๆก็คือ

  1. การดึงเอาภาคี (Partner) เข้ามาเกี่ยวข้องมีกระบวนการอย่างไร และ ผลลัพธ์บทเรียนอย่างไร ในพื้นที่ หมายถึงอบต.และ เทศบาล ที่เป็นองค์กรทางการเมืองที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง?
  2. บทเรียนการในเชื่อมภาคี และบทเรียนในการร่วมกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้

สุดท้ายที่อยากให้เกิดการเรียนรู้ในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ

  • การขับเคลื่อนการพัฒนาในโอกาสต่อไปมีความคิดอย่างไร รูปแบบที่เป็น โมเดล การทำงานที่เป็นเอกลักษณ์และมีพลังที่ลำปางเป็นอย่างไร? (ตรงนี้น่าจะเป็นการสังเคราะห์แบบรวมกลุ่มในวันสุดท้ายของการถอดบทเรียนและจะมีประโยชน์มากๆ)

ในความเห็นของผมก็คือ ต้องอ่านเรื่องราวการถอดบทเรียนที่เคยถอดบทเรียนไว้ก่อน แล้ว ลองทำความเข้าใจคำถาม

และหากเป็น Facilitator ในวงเรียนรู้จริงๆ เราควรตั้งคำถามอย่างไร เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามธรรมชาติ และทุกคนเติบโตจากวงถอดบทเรียน นี่คือหัวใจสำคัญครับ

 

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 498844เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากค่ะ ช่วงนี้มีเวลาลงชุมชนเพิ่มขึ้น จะได้นำบทเรียนเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้นะคะ

ด้วยความระลึกถึงครับ

ผมคิดว่า งาน ส่งเสริมสุขภาพหลายๆแห่ง เราอาจต้องประเมินให้คมชัด เเละเขียนนำเสนอให้เห็นเเง่มุมของการพัฒนา จะเกิดประโยชน์มากครับ

ผมยินดีเเลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับพี่

เรียนน้องเอก ...จากการลงพื้นผู้สูงอายุ "ชวนคุย ร่วมคิด ค้นทุน หลายพื้นที่ได้ งบกองทุนสุขภาพตำบลมาจัดกิจกรรมแล้ว แต่ยังมีส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึงกองทุนนี้ พรุ่งนี้ 17 สค ทุกอำเภอในพัทลุง ผู้สูงอายุจะนำของดีมาอวดกัน ในงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ พัทลุง

ขอบคุณความรู้ในการถอดบทเรียนชั้นสูง

ผมนั่งยิ้มตรง "ถอดบทเรียนชั้นสูง" นี่ละครับบัง

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามธรรมชาติ และก่อให้เกิดการเจริญเติบโต ... จากวงถอดบทเรียน นี่คือ หัวใจสำคัญ....สำคัญจริงๆ ค่ะ


ขอบคุณมากกับบทความดีดีนี้ค่ะ

การขับเคลื่อนการพัฒนาในโอกาสต่อไปมีความคิดอย่างไร รูปแบบที่เป็น โมเดล การทำงานที่เป็นเอกลักษณ์และมีพลัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท