แดน บีช บรัดเลย์


ใครว่าชาวต่างชาติเอาเปรียบคนไทย?? บันทึกนี้จะทำให้ความคิดของคุณเปลี่ยนไป!!

 นาย แดน บีช บรัดเลย์

 

 หมอบรัดเลย์ บิดาแห่งการพิมพ์สยาม

 

ประวัติ

  •       นายแดนบีชบรัดเลย์ (หมอบรัดเลย์) เกิดเมือวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2347 เป็นชาวเมืองมาร์เซลลัส ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
  •       ในช่วงที่หมอบรัดเลย์เกิด ประเทศสหรัฐอเมริกามีความตื่นตัวในการเผยแผ่คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ ไปยังประเทศอื่นๆ ทำให้องค์กรต่างๆที่ทำงานในด้านนี้มีความต้องการนักสอนศาสนาที่มีคุณสมบัติเป็นแพทย์จำนวนมาก หมอบัดเรย์ก็เป็นคนหนึ่งในนั้น ท่านจึงได้สำเร็จการแพทย์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และได้สมัครเป็นนักสอนศาสนาในองค์กร American Board of   Commissioners of Foreign Missions  ซึ่งมีข้อกำหนดว่าผู้ที่จะไปทำการเผยแผ่ศาสนาในดินแดนต่างถิ่นจะต้องแต่งงานแล้ว
  •       หมอบรัดเลย์จึงได้แต่งงานกับ เอมิลี รอยซ์ แล้วทั้งสองก็ได้ออกเดินทาง  มายังประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่นั่นเป็นเวลา 6 เดือนจึงได้เดินทางต่อมายังประเทศไทยถึงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2378 ตรงกับวันเกิดครบรอบ 31 ปีของหมอบรัดเลย์พอดี
  •       หมอบรัดเลย์ได้ทำงานในคณะหมอสอนศาสนา เพรส ไบทีเรียน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2379 ในสมัยรัชกาลที่ 3 พักอาศัยอยู่แถววัดเกาะ สำเพ็ง (วัดสัมพันธวงศ์) โดยอาศัยพักรวมกับครอบครัวของศาสนาจารย์สตีเฟน จอห์นสัน หมอบรัดเลย์เปิดโอสถศาลาขึ้นเป็นที่แรกในสยาม เพื่อทำการรักษา จ่ายยาและหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้กับคนไข้ แต่เนื่องจากในย่านนั้นมีชาวจีนอาศัยอยู่ กิจการนี้จึงถูกเพ่งเล็งว่าอาจทำให้ชาวจีนกระด้างกระเดื่องต่อรัฐบาลสยามได้ จึงกดดันให้เจ้าของที่ดินคือนายกลิ่น ไม่ให้มิชชันนารีเช่าอีกต่อไป ต่อมาจึงย้ายไปอยู่แถวกุฎีจีน ที่เป็นย่านของชาวโปรตุเกส เช่าบ้านที่ปลูกให้ฝรั่งเช่าของเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) บริเวณหน้าวัดประยุรวงศาวาส โดยหมอบรัดเลย์และคณะมิชชันนารีดัดแปลงบ้านเช่าที่พักแห่งใหม่นี้เป็น โอสถศาลา เปิดทำการเมื่อ 30 ตุลาคม 2378
  •       ในบ้านนี้ วันที่ 13มกราคม พ.ศ. 2379 ท่านได้ทำการตัดแขนให้กับภิกษุรูปหนึ่งนับว่าเป็นการผ่าตัดแขนขาครั้งแรกของประเทศไทย ท่านได้ทำการผ่าตัดต้อกระจก และได้ทำการรักษาผู้ป่วยโรคฝีดาษ ซึ่งเป็นที่พึงพอใจของพระบาทพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมากโดยพระองค์ได้พระราชทานเงินเป็นรางวัลให้ด้วยในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2382 นอกจากนั้นท่านยังได้เขียนตำราการปลูกฝีโคไว้ใช้ในการเผยแผ่ความรู้ให้คนไทยในสมัยนั้นได้นำมาใช้ในการป้องกันโรคผีดาษเพื่อการรักษาและการป้องกันที่ถูกต้องอีกด้วย
  •       สถานที่แห่งนี้เองได้ถูกใช้เป็นโรงพิมพ์ สิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับหนังสือสอนศาสนาแต่โรงพิมพ์แห่งนี้ได้มีส่วนร่วมในงานราชการของไทยเช่นกัน ดังเช่นกรณีที่สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สั่งให้มีการพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นและห้ามค้าฝิ่น โดยพิมพ์ขึ้น 9000 ชุด เมื่อวันที่ 27  เมษายน พ.ศ. 2384 เอกสารชิ้นนี้ถือว่าเป็นเอกสารทางราชการฉบับแรกของไทยที่ถูกพิมพ์ขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์ ซึ่งถือว่านี่เป็นครั้งแรกที่เทคโนโลยีการพิมพ์ได้เข้ามาสู่อาณาจักรของไทย
  •       ครั้งหนึ่ง พระกรรณเจ้าฟ้ามงกุฏที่ทรงผนวชอยู่ที่วัดราชาธิวาส ทรงประชวรเป็นโรคลมอัมพาตที่เกิดแก่พระพักตรของพระองค์ พระองค์จึงทรงมีรับสั่งให้หมอบรัดเลย์เข้าทำการรักษา โดยหมอบรัดเลย์ได้ให้ยาที่ใช้ในการรักษาในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2379 ผลการรักษาออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ หมอบัดเรย์จึงได้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลลบาตรจนกลายเป็นพระสหาย 
  •       จากนั้นหมอบัดเรย์ได้ออกหนังสืออนามัยแม่และเด็กซึ่งเป็นงานแปลของท่านเอง สองปีต่อมาเมื่อถึงวันชาติของสหรัฐอเมริกา คณะผู้สอนศาสนาได้ออกหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยโดยให้ชื่อว่า บางกอกรีคอเดอ นับว่าทำให้เกิดการพัฒนาของวงการสื่อสารมวลชนของไทยไปอีกขั้น
  •       หนังสือพิมพ์ฉบับนี้มีวางจำหน่ายเรื่อยมาจนกระทั่งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2388 เหตุจากไม่มีผู้มาทำต่อและภรรยาของหมอบัดเรย์ถึงแก่กรรมลง ทำให้หนังสือพิมพ์ฉบับนี้จำต้องปิดตัวลงไป หมอบัดเรย์ได้เดินทางกลับไปยังสหรัฐอเมริกา
  •       สองปีต่อมาหมอบัดเรย์ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกขององค์กร American Board of  Commissioners of Foreign Missionsและย้ายมาทำงานที่องค์กรณ์ American Missionary Association  แทนโดยองค์กรมีฐานะทางการเงินไม่ดีนัก และได้แต่งงานกับภรรยาคนใหม่ชื่อว่า  แซราห์ แบลกเลย์ จากนั้นทั่งคู่ได้เดินทางมายังประเทศไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2393
  •       และในปี พ.ศ. 2340  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ลาสิกขาและเสด็จขึ้นครองราชย์ จากความเดิมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระสหายกับหมอบัดเรย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระบรมราชานุญาติให้หมอบัดเรย์เช่าที่อยู่ด้านข้างของพระราชวังเดิม บริเวณปากคลองบางหลวงฝั่งธนบุรี เพื่อปลูกบ้านและโรงพิมพ์ 
  •       ท่านได้หาเลี้ยงชีพด้วยการพิมพ์หนังสือขาย และได้กลับมาพิมพ์บางกอกรีคอดเดออีกครั้งหนึ่ง โดยกลับมาพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษในวันที่16 มกราคม พ.ศ.2408 และพิมพ์ฉบับภาษาไทยในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2408 และบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์คือหมอบรัดเรย์เอง นอกจากแจ้งข่าวสารทั่วๆไปแล้วท่านยังเป็นปากเสียงให้กับประชาชนในระดับล่างอีกด้วย
  •       มีครั้งหนึ่งที่หมอบรัดเลย์ได้เขียนบทความต่อต้านชาวต่างประเทศที่เป็นภัยแก่ประเทศไทยทำให้ท่านถูกฟ้องร้องด้วยขอหาหมิ่นประมาทเป็นครั้งแรกของไทย ศาลกงสุลอเมริกันตัดสินให้หมอบรัดเลย์แพ้ความ หลังจากนั้นหมอบรัดเลย์ก็ได้ปิดหนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอลง ด้วยเหตุผลว่าทำแล้วขาดทุน แต่ท่านยังคงเลี้ยงชีพด้วยการขายสิ่งพิมพ์ต่อมา จนเสียชีวิตในวันที่ 23 มิถนายน พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ในการทำศพและหลุมศพ


 

ผลงาน

  • ทำการผ่าตัดแผนใหม่เป็นรายแรกของประเทศไทย
  • ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษสำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทย
  • ตั้งโรงพิมพ์และตีพิมพ์ประกาศห้ามสูบฝิ่นซึ่งเป็นประกาศทางราชการที่ใช้วิธีตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
  • ริเริ่มนิตยสาร บางกอกรีคอเดอ (The Bangkok Recorder) หนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก
  • พิมพ์ปฏิทินสุริยคติเป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
  • พิมพ์หนังสือคัมภีร์ครรภ์ทรักษา


 

คุณานุประการต่อระบบการแพทย์ของไทย

          หมอบรัดเลย์ เป็นบุคคลที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาวงการแพทย์ของไทยเป็นอย่างมาก ดังนี้

                     1.) หมอบรัดเลย์ เป็นผู้ริเริ่มการใช้เครื่องพิมพ์ในเมืองไทย ทำให้การคัดลอกเอกสาร หรือตำราต่างๆเป็นไปได้ง่าย ส่งผลให้ความรู้ทางด้านการแพทย์ที่มีอยู่เดิมรวมถึงความรู้ใหม่ที่ได้รับมาจากชาวตะวันตกและความรู้อื่นๆในผืนแผ่นดินไทย ได้กระจายออกไปยังสถานที่ต่างๆ ทำให้คนไทยได้มีโอกาสที่จะพัฒนาความรู้ของตนเองและนำความรู้ที่ได้รับมานำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมมากขึ้น

 

  

 

                     2.) ครั้นเมื่อหมอบรัดเลย์ได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทยใหม่ๆคนไทยในสมัยก่อนยังคงใช้สมุนไพรไทยในการรักษาโรค และบางส่วนยังใช้ความเชื่อที่มีแต่เดิมมาในอดีตในการรักษาโรค เช่น  การบนบานสานกล่าว แต่เมื่อหมอบรัดเลย์เข้ามายังประเทศไทย ท่านได้นำความรู้ของชาวตะวันตกเข้ามาด้วยว่า โรคต่างๆที่เกิดขึ้นย่อมเกิดขึ้นจากเหตุ ถ้าเราสามรถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ก็จะสามารถรักษาโรคได้ สิ่งนี้เมือได้รับการพิสูจน์ ทำให้ความคิดความเชื่อของคนไทยที่มีต่อการรักษาโรคนั้นเปลี่ยนไป ส่งผลให้คนไทยมีอายุขัยที่ยืนมากยิ่งขึ้น

 


>> อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ << 

http://th.wikipedia.org/wiki/แดน_บีช_บรัดเลย์

หมายเลขบันทึก: 498803เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 00:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท