สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก


“ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง..." ไม่ว่าใครก็เคยได้ยินประโยคนี้!!

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร

อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

กรมหลวงสงขลานครินทร์


พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย



พระราชประวัติ

          สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กรมหลวงสงขลานครินทร์ พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย ทรงพระราชสมภพในพระมหาราชวัง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434  ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา พระบรมราชเทวี สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี(นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ)เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2463 มีพระธิดาและพระโอรส 3 พระองค์ คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนครธิวาสราชนครินทร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช(รัชกาลที่ 9) สมเด็จพระบรมราชชนก ก็เสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2472 เวลา 16.45 น. รวมพระชนม์มายุได้ 37 ปี 8 เดือน กับ 23 วัน เนื่องจากพระปับผาสะมีน้ำคั่งและพระหทัยวาย นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของวงการแพทย์ไทย ดังนั้นวันที่ 24 กันยายน จึงเรียกกันว่า “วันมหิดล”

 

ด้านการศึกษา

พ.ศ. 2448

ทรงเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบก ในปีเดียวกันได้ทรงเข้าศึกษา ณ โรงเรียนโรงเรียนแฮร์โรว์ (Harrow)ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

พ.ศ. 2450

ทรงย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยชั้นต้นปอตสดัม(ทรงศึกษาวิชาทหารบกที่เมืองปอตสดัม ประเทศเยอรมณี ทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยชั้นต้น สมเด็จพระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนีได้จัดนายร้อยเอกเอ็กเป็นพระอภิบาล)

พ.ศ. 2452

ทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยชั้นสูงที่ โกรสลิชเตอร์เฟลเด้ (Gross Lichterfelde) ในประเทศเยอรมนี ทรงศึกษาโรงเรียนนี้ 2 ปี (ในปี พ.ศ. 2454)ทรงสอบได้เป็นแฟนริคช์ (Fähnrich) คือ นักเรียนทำการ และในปีสุดท้ายทรงมีพระประสงค์จะเปลี่ยนเหล่าทัพไปศึกษาวิชาทหารเรือแทนที่จะเป็นทหารบก

พ.ศ. 2455

ทรงเข้าศึกษาวิชาทหารเรือ ณ โรงเรียนนายเรือเฟลนส์บวร์ก เมือร์วิค (Marineschule Flensburg Mürwik)ประเทศเยอรมนี ทรงเข้าเป็นนักเรียนนายเรือเยอรมันรุ่น 2455 (CREW 1912)

พ.ศ. 2460

เสด็จเข้าศึกษาวิชาสาธารณสุขที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2464

ทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับประกาศนียบัตรการสาธารณสุข

พ.ศ. 2468

ทรงเสด็จสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาวิชาแพทย์ต่อ โดยได้ทรงเลือกวิชากุมารเวชศาสตร์   

พ.ศ. 2471

ทรงสำเร็จการศึกษา และได้รับปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตเกียรตินิยม

  

 

การทำงาน

พ.ศ. 2455

ได้รับพระราชทานยศจากเมืองไทยเป็นนายเรือตรีแห่งราชนาวีไทย และทรงรับราชการในกองทัพเรือเยอรมันเป็นเวลา 3 ปี

พ.ศ. 2457

ทรงลาออกจากกองทัพเรือเยอรมัน เนื่องจากการอุบัติสงครามโลกครั้งที่ 1

พ.ศ. 2458

ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ ในตำแหน่งสำรองราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือได้รับพระราชทานยศเป็นนายเรือโท หลังจากทรงศึกษาวิธีบริหารราชการจาก และระเบียบราชการทหารเรือ จากกรมเสนาธิการทหารเรือ ประมาณ 4 เดือนแล้ว ก็ทรงย้ายไปรับตำแหน่งในกองอาจารย์นายเรือ แผนกตำรากรมยุทธศึกษาทหารเรือ ก็ทรงลาออกเนื่องจากทรงพบอุปสรรคในการพัฒนากองทัพเรือไทยให้เหมาะสม ในช่วงที่ทรงลาออกนั้นได้รับทราบถึงความขาดแคลนต่างๆในด้านการแพทย์และการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย จึงตัดสินพระทัยศึกษาวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด สหรัฐอเมริกา

ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่

ทรงได้พระราชทานทุนให้แก่นักเรียนแพทย์ ไปศึกษาที่สหรัฐอเมริกาจำนวน 2 ทุน คัดเลือกออกมา ปรากฏว่าได้นักเรียนพยาบาลมา 2 คนคือ นางสาวสังวาลย์ ตะละภัฏ (ต่อมาคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) และนางลิปิธรรม ศรีพยัตต์

พ.ศ. 2464

เสด็จยุโรปประทับที่เมืองเอดินเบอร์ก สก็อตแลนด์ ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการเจรจากับ มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านการศึกษาวิชาแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งบรรลุผลสำเร็จให้กับรัฐบาลไทย และเสด็จกลับมาทรงทำงานอยู่กับราชแพทยาลัยระยะหนึ่ง

พ.ศ. 2471

ทรงมีพระราชประสงค์จะทำหน้าที่แพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช แต่ทางการไม่อาจสนองพระราชประสงค์ได้ เพราะเกี่ยวด้วยฐานันดรศักดิ์ของพระองค์เองและราชประเพณี จึงทรงไม่พอพระทัยที่จะอยู่เฉยๆ โดยไม่ได้ทำประโยชน์ ดังนั้นจึงทรงเปลี่ยนความตั้งพระทัยเสด็จไปปฏิบัติหน้าที่แพทย์ประจำบ้านที่โรงพยาบาลแมคคอมิค จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่ทางโรงพยาบาลกราบทูลอัญเชิญมา

พ.ศ. 2472

เสด็จถึงเชียงใหม่ และได้เสด็จประทับร่วมอยู่กับครอบครัว ดร. อี.ซี.คอร์ท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแมคคอมิคในครั้งนั้น ที่ประทับเป็นตึกเล็กๆ และทรงมีมหาดเล็กรับใช้เพียงคนเดียว ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่กับผู้ป่วยในโรงพยาบาล และปฏิบัติพระองค์เยี่ยงแพทย์ธรรมดาสามัญผู้หนึ่ง ไม่โปรดให้แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่อื่นของโรงพยาบาล ผู้ปฏิบัติงานร่วมกับพระองค์ประกฤติต่อพระองค์เยี่ยงเจ้านายผู้สูงศักดิ์ทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยงแพทย์ธรรมดาสามัญชน เวลาจ่ายใบสั่งยาก็ทรงลงพระปรมาภิไธยคล้ายสามัญชนว่ามหิดล สงขลา แม้ว่าพระสุขภาพจะไม่ดีนัก แต่ก็ทรงมีความสุขเป็นอันมากกับการมีโอกาสเป็นหมอได้อย่างเต็มที่ ในชั่วระยะเวลาไม่นานก็มีกิตติศัพท์แพร่หลายทั่วไปว่า มีแพทย์เป็นเจ้าฟ้ามาทรงปฏิบัติงานอยู่ที่โรงพยาบาลแมคคอมิค ผู้ป่ายไข้ที่มารับการตรวจบำบัดโรคที่โรงพยาบาลครั้งนั้นขนานนามพระองค์ท่านว่า "หมอเจ้าฟ้า" พระองค์ทรงมีโอกาสปฏิบัติหน้าที่เยี่ยงสามัญชนด้วยความศรัทธา อย่างแท้จริงเพียง 3 สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯเพราะทรงพระประชวร

 

 

 

>> อ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่ << http://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร_อดุลยเดชวิกรม_พระบรมราชชนก

หมายเลขบันทึก: 498801เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2012 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2012 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท