หมออนามัย แนวทางลด ละ เลิก บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด 2


    6.   การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพของประชาชน(เน้น 6 อ. และปัญหาที่พบ)

             6.1 จัดทำแผนปฏิบัติงานดูแลสุขภาพของประชาชนในกลุ่มอายุต่างๆ

             6.2 จัดกิจกรรมตามกลุ่มอายุ ทั้งในกลุ่มที่มีปัญหา  กลุ่มเสี่ยง กลุ่มปกติ โดย ให้ประชาชนมีส่วนร่วม เช่น  กลุ่มอายุ  40 ปีขึ้นไป ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน     ให้มีการจัดตั้งชมรมและมีกิจกรรม ทั้งการสร้างการซ่อม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  กลุ่มอายุ40 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มอายุอื่นๆที่ปกติ  อาจให้มีกิจกรรมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ    การสร้าง สุขภาพ การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มอายุต่างๆ โดยการตั้งชมรมและการขยายเครือข่าย

             6.3 จัดกิจกรรมรณรงค์ด้านสุขภาพ มีการจัดนิทรรศการเรื่องของการออกกำลังกาย การแข่งกีฬาในหมู่บ้าน     สิ่งสนับสนุนอื่นๆงบประมาณ อุปกรณ์การออกกำลังกายต่างๆ บุคลากร ภาครัฐ/เอกชน ผู้นำการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ  (เช่นผู้นำการออกกำลังกายเต้นแอโรบิด   กีฬาชนิดอื่นๆ ที่ชุมชนแต่ละชุมชนจัดขึ้น)        สนับสนุนกีฬาพื้นบ้านในการออกกำลังกาย เป็นการอนุรักษ์ การศึกษาดูงานหรืออบรมให้ความรู้แกนนำในการสร้างสุขภาพ           อย่างน้อยหมู่บ้านละ 2 คนที่ดำเนินการ

             6.4 การจัดตลาดนัดสุขภาพ อย่างน้อยครอบครัวละ 1 คนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของหลังคาเรือน

              7. การบำบัดรักษา/ ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่มีปัญหา

              7.1 ทำแผนติดตามเยี่ยมผู้ป่วยในกลุ่มอายุต่างๆ พร้อมสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ

              7.2 ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่มีปัญหา ตามกลุ่มอายุต่างๆ ตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ และสอนแนะนำ ให้ผู้ป่วยหรือญาติ ให้สามารถดูแลผู้ป่วยและตนเองได้ พร้อมทั้งมีการจดบันทึกข้อมูล

 

                 8. การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชน ในการแก้ปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อมในชุมชน(กลุ่มแกนนำต่างๆ)เช่น

                    8.1 การพัฒนาทักษะในการป้องกันปัจจัยเสี่ยง   ต่อสุขภาพไดแก่ การพัฒนาทักษะในการป้องกันควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน การพัฒนาจิตใต้สำนึกของเยาวชนในการป้องกันยาเสพติด การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก  การพัฒนาในการดูแลสุขภาพตนเองและผู้สูงอายุ การพัฒนาศักยภาพผู้นำการออกกำลัง   การพัฒนากลุ่มภรรยากลุ่มผู้ใหญ่บ้านหรือกลุ่มแม่บ้าน  ในการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

 

           9. การจัดกิจกรรมในการแก้ปัญหาโดยประชาชนมีส่วนร่วม ทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม(เจ้าหน้าที่ทำเอง ประชาชนทำเอง หรือร่วมกันทำ)เช่น

         9.1 อาหารปลอดภัย การดูแลร้านค้า  คุ้มครองผู้บริโภค  การอบรม ผู้นำชุมชน ร้านขายของชำ  การตรวจสอบผลิตภัณฑ์เป้าหมาย

         9.2 ประปาหมู่บ้าน เช่นการตรวจแบคทีเรีย คลอรีน

              ประปาหมู่บ้านมีการ             ใส่คลอรีนตามมาตรฐานและมีการตรวจสอบคลอรีนตกค้างที่ปลายทางน้ำอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง มีการอบรมผู้ดูแลประปาหมู่บ้าน

         9.3 การเฝ้าระวังโรคต่างๆ สอบสวนโรคเมื่อมีผู้ป่วย ควบคุมโรค การค้นหา ผู้สัมผัส ปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม   มีข้อมูลสถิติผู้ป่วยและวิเคราะห์เป็นประจำ การให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ ติดตามเฝ้าระวัง

         9.4 การออกข้อบังคับต่างๆ      มีการประชาคมหมู่บ้าน      โดยประชาชนลงความเห็นและมติข้อบังคับต่างๆที่ใช้ในชุมชน

 

         10. ตั้งตั้งกลุ่มหรือชุมชนในการสร้างสุขภาพ(พร้อมจัดทำผัง)เช่น

            10.1 กลุ่มออกกำลังกาย กำหนด วัน เวลา สถานที่  ดำเนินการออกำลังกาย 3 – 5 วัน/สัปดาห์ จัดตั้งกลุ่ม/ชมรม การออกกำลังกาย.......กลุ่ม ชมรม..........คน  กิจกรรมสนับสนุนงานออกกำลังกาย เช่น วิทยากร      เป็นที่ปรึกษาในเรื่องการออกกำลังกาย รณรงค์สาธิตการออกกำลังกาย ส่งเสริมการออกกำลังกายในโรงเรียน ชุมชนนอกสถานบริการ

            10.2 กลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค     การสำรวจข้อมูลร้านขายของชำภายในหมู่บ้าน(เป็นรายร้าน)

การอบรมผู้นำชุมชน ร้านค้าขายของชำ การอบรมครูอนามัยโรงเรียน การตั้งกลุ่มคุ้มครองผู้บริโภค  การกำหนดกิจกรรม      การตรวจสอบผลิตภัณฑ์เป้าหมาย       ด้านอาหาร(น้ำปลา เกลือปรุงอาหาร  น้ำส้มสายชู ซอส ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว อาหารกระป๋อง     น้ำหวานใส่สี น้ำบริโภค นม       อาหารห้ามใส่สี อาหารขบเคี้ยว  อาหารเสริมสุขภาพ และเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน)ยาดมทุกชนิด ยาลดไข้เด็ก  ยาแก้ปวดลดไข้ ยาคลอแรมฟนิคอล เด็ก ยาเตต้าไซคลิน เด็ก ยาวิตามินที่มีไซโปรผสม ยาไดไพโรนเด็ก ยาเพนิซิลิน จี 5 แสน อะม็อกซี่ ซิลลินผง)

           10.3 กลุ่มเบาหวาน ความดันโลหิต  ค้นหาผู้ป่วยโรคจากกลุ่มเป้าหมายอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีอาการเสี่ยงต่อโรคทุกคน โดยการตรวจเลือด   และวัดความดันโลหิตทุกคน ลงทะเบียนผู้ได้รับการตรวจแล้ว ทำทะเบียนติดตามและ    ให้การรักษาผู้พบโรค      เพื่อติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานทุก 4 เดือน

             10.4 กลุ่มผู้สูงอายุ      ดำเนินการมอบบัตรผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับทุกคน       ให้บริการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุฟรี ถ้าเจ็บป่วย          ติดตามผลการรักษาที่บ้าน อบรมผู้สูงอายุเรื่องการดูแลสุขภาพตนเอง จัดตั้งกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในหมู่บ้านให้มีกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

 

          11. การประเมินผล ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ

            11.1 ดูจากประชาชนมีความสนใจ     เกิดการตระหนักเห็นความสำคัญ ของการดูแลสุขภาพ และให้ความร่วมมือ    ในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี เริ่มตั้งแต่        การสำรวจข้อมูลสุขภาพประจำครอบครัว การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพในชุมชน การจัดรณรงค์   การจัดตลาดนัดสุขภาพ การพัฒนาทักษะ ในการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ การสร้างเครือข่ายในการดูแลสุขภาพ

             11.2 การประเมินภาวะสุขภาพของประชาชน     การสังเกตขณะร่วมกิจกรรม การสัมภาษณ์ หลังร่วมกิจกรรม ใน แต่ละกิจกรรม มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยการถาม – ตอบ ด้านสุขภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่ ประชาชนมีการนำความรู้ไปเผยแพร่     มีการรวมกลุ่มสนทนาเรื่องสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม

 

สรุปโครงการลด ละ เลิก บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

สุขภาพดี

             เป็นยอดปรารถนาของทุกคน  เพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ จึงจำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นสุขนิสัยทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ

การมีสุขภาพดี

             เป็นคุณลักษณะที่สำคัญ ประการแรกของคนไทยในอนาคต ซึ่งได้กำหนดไว้เป็นนโยบายและมาตรการ

กรอบแนวคิด

             เพื่อเป็นกรอบแนวคิดที่ให้ประชาชนสามารถนำไปพัฒนาให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งจำเป็นจึงกำหนดให้กว้างไว้สำหรับเป็นแนวทาง

1. ธรรมชาติของตัวเรา

2. การส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์

3. การดำรงสุขภาพที่ดี

 

 

 

 

สรุปตารางแผนงานในการลด ละ เลิก บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

 

อายุ

ออกกำลังกาย

อาหาร

อารมณ์

อโรคยา

สิ่งแวดล้อม

เด็ก<6ปี

แรกเกิด

นมอาหารตามวัย(เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

พัฒนาการ

การได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

ครอบครัวที่อบอุ่น

6 – 12ปี

50%

โตตามวัย โภชนาการ

นันทนาการในโรงเรียน กีฬา สุขศึกษา

ไข้เลือดออกมีการเฝ้าระวัง การได้รับวัคซีน ทันตสาธารณสุข

รวบรวมข้อมูลจัดทำแผนป้องกันโรคล่วงหน้าสำรวจความชุกชุมลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านปีละ 2 ครั้งในโรงเรียนเดือนละ 1 ครั้งควบคุมแหล่งเพาะพันธ์ยุง

วัยรุ่น

50%

การสร้างเสริมสุขภาพให้สมบูรณ์

To be Number 1

อุบัติเหตุ บุหรี่สุรา ยาเสพย์ติด

 

วัยแรงงาน

50%

การดำรงสุขภาพที่ดี ตลาดสด รานค้าในหมู่บ้าน

To be Nember1

สุขภาพจิต

อายุ 40ปี เบาหวาน ความดันลิต อายุ 35ปีมะเร็งเต้านม

 Pap smear

สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม การจัดบ้านเรือนให้สะอาด ขยะ น้ำดื่มน้ำใช้

วัยสูงอายุ

50%

การเลือกบริโภคอาหาร

สุขภาพจิต กิจกรรมการพบกลุ่ม(นันทนาการ)

การตรวจสุขภาพ การรักษาโรคที่เจ็บป่วย

 

 

  

                                         กิจกรรม

แนวทาง ลด ละ เลิก บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด

หมายเลขบันทึก: 497289เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2012 20:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2012 04:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท