ขอให้มีความสุขในวันหยุดและวันสำคัญนะคะ


ความสุขจากการให้ทาน

 ขอให้มีความสุขกับการให้และการพักผ่อนนะคะ

ทำบุญอย่างไรได้บุญสูงสุด

การทำบุญให้ได้บุญสูงสุดควรพิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1.       ผู้ให้ทานหรือทำบุญ

2.       สิ่งของที่ทำบุญ

3.       ผู้รับของทำบุญ

การทำบุญให้ทานนั้น เปรียบเสมือนการทำนาปลูกข้าว โดยที่ผู้รับเป็นเหมือนนาข้าว ของที่ให้เหมือนเมล็ดพันธุ์ข้าว กิเลสของผู้รับและผู้ให้เหมือนเป็นวัชชพืชในนาข้าวนั้น ความตั้งใจของผู้ให้เหมือนความตั้งใจในการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ตกลงในนา ไม่ให้กระจัดกระจายออกนอกนา ศรัทธาของผู้ให้เปรียบเหมือนปุ๋ย ปิติที่เกิดขึ้นกับผู้ให้เปรียบเหมือนน้ำ ผลบุญที่ผู้ให้ได้รับเปรียบเสมือนผลผลิตจากการทำนานั้น ผู้รับจึงได้ชื่อว่าเป็นเนื้อนาบุญ 

การทำนาปลูกข้าวนั้น ถ้าใช้ข้าวพันธุ์ดี ปลูกในนาข้าวที่มีดินดี ในขณะหว่านก็ตั้งใจหว่านให้ข้าวตกลงในท้องนาอย่างพอดี ไม่กระจัดกระจายสูญหายไปนอกนา มีน้ำบริบูรณ์ มีปุ๋ยอุดมสมบูรณ์ ไม่มีวัชชพืชมาคอยแย่งอาหารต้นข้าว ผลผลิตที่ได้ย่อมมากมาย เต็มเม็ดเต็มหน่วยฉันใด
การทำบุญด้วย วัตถุอันเลิศ ให้กับบุคคลอันเลิศ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใดๆ ทำไปด้วยความตั้งใจอันแน่วแน่มั่นคง ประกอบด้วยศรัทธาอันดี ถึงพร้อมด้วยปิติเบิกบานใจ ผลบุญที่ได้ย่อมไพบูลย์ฉันนั้น

คุณสมบัติของผู้ให้ทานที่จะได้บุญมาก
การที่ผู้ให้ทานจะได้รับผลบุญมากนั้น ตัวผู้ให้เองต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังนี้

- ให้ทานนั้นโดยเคารพ ทำความนอบน้อมให้ (มีความเคารพด้วยใจที่แท้จริง ไม่ใช่แค่เพียงร่างกาย)
- ให้ทานนั้น
ด้วยมือตนเอง (ถ้า ยิ่งต้องใช้ความพยายามมากเท่าไร จิตก็จะยิ่งมีกำลังมากขึ้นเท่านั้น การทำบุญด้วยความรู้สึกที่หนักแน่นมากเท่าไร ก็จะส่งผลให้ได้บุญที่หนักแน่นมากเท่านั้น)
-
เชื่อในกรรมและผลของกรรม (ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความรู้สึกที่หนักแน่นเช่นกัน ไม่ใช่ว่าสักแต่ให้ๆ ไปเท่านั้น)
- มีความ
เลื่อมใส ศรัทธาในผู้รับทานนั้น (เหตุผลเช่นเดียวกับข้อก่อน)
- เมื่อให้แล้วเกิด
ปิติโสมนัส จิตใจผ่องใส เบิกบาน
- ให้ทานเหมาะสมกับ
กาลเวลา คือให้ในสิ่งที่ผู้รับต้องการในเวลานั้นๆ
- ให้ทานโดย
สละวัตถุทานนั้นอย่างแท้จริง ไม่มีใจยึดเหนี่ยว ห่วงใยวัตถุนั้นอีก ไม่ว่าผู้รับจะเอาสิ่งนั้นๆ ไปใช้ทำอะไรหรือเมื่อไหร่
- เป็นผู้
มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน คือให้โดยหวังประโยชน์แก่ผู้รับจริงๆ ไม่ใช่หวังประโยชน์แก่ตัวผู้ให้เอง
- รู้สึก
ยินดีในการให้ทานครั้งนั้นทั้ง 3 กาล คือทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังจากให้ทานนั้นแล้วก็รู้สึกยินดี คือนึกถึงเมื่อใดก็ยินดีเมื่อนั้น ไม่ใช่ให้แล้วเสียใจในภายหลัง
- ให้ทานโดย
ไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ไม่หวังแม้แต่บุญที่จะได้รับ คือให้เพื่อให้จริงๆ แล้วผลบุญก็จะตามมาเอง

หมายเลขบันทึก: 496898เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2012 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2012 11:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เจ้าของบันทึกด้วยนะครับ ;)...

สาธุค่ะ

อนุโมทนาบุญกับการให้ธรรมเป็นทานด้วยเช่นกันค่ะ

  • สาธุๆๆๆ
  • ดีใจที่ได้อ่านบันทึกดีๆครับ
  • ใส่ภาพได้หรือยังครับ

อ้าวภาพเพิ่งมา ใส่ได้แล้วนี่ครับ ยินดีด้วยครับ...

ขอบคุรทุกท่าน คะ เริ่มลลองใส่ภาพ กับวิดีโอแล้วคะ เริ่มที่จะสนุกกับการเขียนบันทึกมากขึ้นคะ

ขออภัยคะ เขียนภาษาผิดเพราะความใจร้อน ขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท