5 ส. นำทาง สู่ World Class บริษัท NOK PRECISION COMPONENT (THAILAND) LTD. หรือ NOKPCT ตั้งขึ้นในประเทศไทยในปี 2545 ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิต อุปกรณ์อิเลคโทนิค โดยเฉพาะ Hard disk frive components และ Automotive parts เป็นหลัก ตลอดระยะเวลาการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย NOKPCT ตั้งเป้าหมายในการก้าวขึ้นสู่ความเป็น “world class” โดยมีผลงานดีเด่นในหลายๆ ด้านเกิดขึ้นบนเส้นทางการก้าวขึ้นสู่ “World class” อาทิ Award from costomer คือ รางวัล Distinguished Partner Award 2005 จาก FUJITSU รางวัลMicrodrive Award 2004, รางวัล Outstanding in Overall Supplier Quality Performance Year 2004 และ รางวัล Outstanding in Total Process Control Performance Year 2004 จาก Hitachi GST นอกจากนี้ยังมี มาตรฐาน Zero Accident 1,000,000 ชม. , อาหารสะอาด รสชาติอร่อย จาก Clean Food, ชมรม “To Be Number One” ระดับดีเด่น จาก โครงการTo Be Number One, รางวัลดีเด่นปี 2548 ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน
การได้มาซึ่งรางวัลอันเป็นการการันตีผลงานยอดเยี่ยมดังกล่าวมีเบื้องหลังความสำเร็จอยู่ที่การเป็นองค์กรเรียนรู้ และการมีกิจกรรม 5 ส. ( สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย) ที่แข่งแกร่ง ยึดปฏิบัติกันจนยึดเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งเป็นฐานทุนเดิม อันก่อให้เกิด Knowledge assets ที่เกิดจากการทำ 5 ส. มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Best prctice กันเป็นเป็นกลุ่มย่อยๆ ที่เรียกว่า Small Group Activity (SGA)
แนวคิดการสร้างองค์กร ของ NOK
NOK มีวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง โดยจะถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เป้าลงมา ซึ่งคนที่จะกำหนดวัฒนธรรมองค์กรก็คือ ผู้บริหารทุกคน ที่มีบทบาทในการคิดสร้างสรรค์ว่าต้องการเห็นองค์กรเป็นอย่างไร จากนั้นก็ไปสร้างรูปแบบของตนเอง ขึ้นกระทั่งเมื่อแต่ละส่วนเติบโตขึ้นในระดับหนึ่ง ก็จะนำมาปรับปรุงให้รูปแบบดำเนินไปด้วยกันได้อย่างสอดคล้อง เรียกว่า ‘Inside to outsite’คือการมองออกจากตัวเองจนกระทั่งเข้าหาระบบทั้งองค์กร
นอกจากนี้บริษัทยังมีจุดเด่นอยู่ 4 ด้าน คือ Clean, Clear, Small Group Activity, Smart System และนับเป็นหัวใจความสำเร็จของ NOK
Clean ความสะอาด เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในกระบวนการผลิตในโรงงานฝุ่นแป้งผัดหน้าเพียงเม็ดเดียวก็อาจส่งผลกระทบต่อชิ้นงานได้ ซึ่งที่นี่สามารถควบคุมฝุ่นให้อยู่ 0.5 ไมครอนต่อ อากาศหนึ่งลูกบาศฟุตหรือ ไม่เกิน 111,100 เม็ด
Clear ความเรียบร้อย เมื่อทำอะไรเสร็จก็ต้องมีการปัดกวาด จัดเก็บของให้เรียบร้อย สภาพต้องเหมือนก่อนที่จะเริ่มเข้ามาใช้งาน เมื่อจัดการสร็จ ก็จะมีป้าย clear มาวางให้เห็นเด่นชัด พร้อมกับมีรูปประกอบบอกตำแหน่งอุปกรณ์ไว้อย่างละเอียด ชัดเจน เพื่อความสะดวกและความเข้าใจของผู้เข้ามาใช้งานรายต่อๆ ไป
Small Group Activity (SGA) เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบคณะกรรมกิจกรรมพัฒนาต่างๆ เช่นกิจกรรม saffty TPM การบำรุงรักษา ฯลฯ ซึ่งในอดีตการเรียนรู้จะกระจุกตัวอยู่ที่คณะทำงาน หรือคณะกรรมการ แต่ระดับปฏิบัติการแล้วกลับไม่มีความรับรู้ เข้าใจ หรือตระหนักให้ความสำคัญ กับกิจกรรมที่ทางคณะกรรมการจัดขึ้น ปัญหาคือจะทำอย่างไร ให้ เกิดการเรียนรู้ลงลึกถึงระดับพนักงาน
จึงเกิด SGA ขึ้นเพื่อให้เป็นกลุ่มที่เรียนรู้ทุกๆ เรื่องในองค์กร โดยแบ่งกลุ่มตามพื้นที่ 8-10 คน โครงสร้างกลุ่มจะประกอบไปด้วย reader Adviser ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ Engineer และต้องมีที่ปรึกษาที่มาจากแผนกอื่น ซึ่งทุกคนในองค์กรจะต้องสังกัดกลุ่ม โดยในปัจจุบันมีกลุ่ม SGA อยู่จำนวน 67 กลุ่ม แม้แต่ GM ของที่นี่ยังต้องสังกัดกลุ่ม SGA เช่นกัน ทั้งนี้ SGA เป็นกุศโลบายที่ทำให้พนักงานได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ำเสมอทำให้เกิดมาตรฐานการใช้พื้นที่ในทุกๆ พื้นที่กว่า 67 มาตรฐาน และทำเป็นนิสัยของการทำงานประจำ ในโรงงานจะมีการ set พื้นที่เป็นมุมประชุมเล็กๆ ที่เตรียมไว้ให้กลุ่มได้ใช้ประชุมกัน ซึ่งแต่ละวันทุกกลุ่มจะมีโอกาสประชุมกัน 10-15 นาทีต่อวันในช่วงเวลาพัก หรือเบรก สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ กลุ่มย่อยที่ยืนจับกลุ่มคุยกันหน้าเครื่องจักร ซึ่งก็เป็นการทำ SGA นั่นเอง นอกจากนี้แต่ละพื้นที่ก็ยังได้เรียนรู้เทคนิคการทำมาตรฐานพื้นที่จากกลุ่มอื่นๆ ผ่านการดูพื้นที่จริงและการเข้าไปค้นคว้าเทคนิคในเว็บไซด์ได้อีกด้วย
Smart System แหล่งเรียนรู้ของ NOK จะมีอยู่ 2 แหล่งคือ ระบบ Interner และ ระบบ portal ซึ่งต่อมาองค์กรได้พัฒนามาเป็นportal ที่คนใน NOK เป็นผู้พัฒนาต่อยอดขึ้นใช้เอง ที่สำคัญ เรื่องของทุกฝ่าย ทุกหน่วย ทุกๆ กิจกรรม แม้กระทั่งการลาป่วย การเบิกของ รายงาน รายงานการประชุม การดำเนินกิจกรรม และกิจกรรมของ NOK ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จะถูกset ระบบเข้าไว้ในนี้ ทุกๆสายงานจะ set งานของทุกคนลงใน portal นี้ ที่น่าทึ่งมากๆ คือ report หน้าเดียว นั่นก็คือ ผลการทำงานในทุกฝ่ายทุกแผนกจะถูกกำหนดวิธีการรายงานผล ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วเชื่อมโยง และประมวลผลลัพท์ออกมาซึ่งสามารถ update ได้ถึงวันละ 2 ครั้ง ทำให้ผู้บริหารเกิดความสะดวกในการติดตามผลการดำเนินธุรกิจในทุกๆ แง่มุมขององค์กรได้ครบถ้วนในคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้บริหารมีเวลามากพอที่จะไปคิดสร้างสรรค์เรื่อง valua-added ไปข้างหน้า ไม่มัวมาถอยหลังคุยเรื่องปัญหาหรือทวงงาน นอกจากนี้ยังลดปริมาณขยะและแฟ้มเอกสารอีกทั้งสิ่งที่update ที่สุดก็ถูกปรับปรุงอยู่ในระบบเรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ NOK มีความพยายามที่จะกระตุ้นให้พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรหลากหลายรูปแบบหนึ่งในกิจกรรมนั้นก็คือ ทำ kizen sucesstion ที่เป็นการเปิดโอกาสให้น้องๆ ซึ่งเป็น operator ซึ่งไม่มีเครื่องมือได้นำเสนอขึ้นมาว่าอยากจะแนะนำอะไรกับองค์กร และคาดว่าผลที่ได้รับคืออะไร มีภาพประกอบไหม พร้อมใส่ชื่อตำแหน่ง ซึ่งเมื่อพนักงานเขียนเสร็จแล้วก็จะรวบรวมเอกสารลงในระบบให้ผู้บริหารรับรู้และติดตามผลการดำเนินการตามคำแนะนำ ซึ่งเหล่านี้เองจะไปสู่การปฏิบัติจริงและเห็นศักยภาพในการพัฒนาต่อในโครงการต่อๆ ไปได้
สิ่งที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ของพนักงานในองค์กร
1.เนื่องจาก NOK มีวิสัยทัศน์ที่จะปลูกฝังวัฒนธรรมด้านวินัยและทัศนคติที่ดีในการทำงาน โดยเริ่มที่ใจก่อนที่จะให้ความรู้ ทำให้วัฒนธรรมการทำงานของพนักงานที่นี่มีความชัดเจนและเข้มแข็ง กระเกิดความร่วมมือจากพนักงานทุกคน กระทั่งก่อให้เกิดการผลักดันกิจกรรมต่างๆ ออกมาได้ง่าย
2.นอกจากนี้ยังพบว่า “ ผู้บริหาร” เป็นบุคคลสำคัญที่เป็นแบบอย่างให้พนักงานทุกๆ คน ในด้านการเอาจริงเอาจัง ต่อนโยบายอีกทั้งยังเป็นผู้ที่ร่วมคิด ร่วมทำ กิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นกันเอง ทำให้เกิดแรงกระตุ้นในการให้ความร่วมมือกับนโยบายของบริษัท
3.มีระบบการถ่ายทอดความรู้ที่ใครเห็นอะไรรู้อะไร ใครเจออะไรดีๆ แล้วต้องถ่ายทอด ซึ่งอยู่ในระบบที่เรียกว่า “TPM” เป็นการสอนแบบสั้นๆ โดยให้ “ผู้รู้” เขียนลงบนกระดาษแผ่นเดียว อาจจะเป็นหัวหน้าสอนพนักงาน, เพื่อนสอนเพื่อนก็ได้ แต่ไม่ใช่ 1 คนสอน 10 คน วิธีการคือจะมีใบงานที่ถูกset แบบฟอร์มไว้แล้วในLotus notes เพื่อให้กรอกข้อมูลว่า ใครสอน สอนอะไร ใครเรียน ให้เป็นหนึ่งต่อหนึ่งคนเท่านั้น สิ่งนี้เองทำให้เกิดโอกาสที่พนักงานทุกคนได้แสดงศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาความรู้ของตนเองอยู่เสมอ
4.ที่สำคัญ NOK เป็นบริษัทเอกชนที่เปิดกว้าง ให้มีการศึกษาดูงานเพื่อกระตุ้นให้กับพนักงานในองค์กรเกิดความตื่นตัวที่จะพัฒนาองค์กรซึ่งเป็น “บ้าน” ของตนเองอยู่เสมอ เพื่อแสดงศักยภาพให้ “เพื่อน” ผู้มาเยือนได้เห็นอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของการ “ให้” และเมื่อให้แล้ว NOK ยิ่งพบว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ” หลายต่อหลายครั้ง ที่ NOK ยอมรับว่านอกจากพนักงานเกิดความตื่นตัวที่จะพัฒนาแล้ว เขายังได้เรียนรู้จากผู้มาดูงานในหลายเรื่องจนกลายเป็นเพื่อนที่สนิทสนม แลกเปลี่ยนความรู้กันไป-มาโดยไม่หวงความรู้ เช่นกรณีของโรงเรียนพหลโยธินซึ่งได้มีโอกาสมาดูกระบวนการกำจัดขยะเพื่อทำน้ำหมักชีวภาพ และได้กลับไปพัฒนาปรับปรุงกระบวนการที่ได้ผลดีกว่าซึ่ง NOK เองก็จะได้ไปเรียนรู้จากโรงเรียนพหลโยธินเพิ่มเติมว่าทำอย่างไรนั่นเอง