ปัญหาทางเทคโนโลยีในการศึกษาและแนวทางการแก้ไข


เมื่อมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการศึกษาก็ต้องมีการคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือความเสี่ยงที่เป็นผลกระทบจากความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอาจทำให้การดำเนินการของการเรียนรู้เกิดความไม่ต่อเนื่องได้ จึงต้องมีการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่อาจจะเสี่ยงที่จะเกิดปัญหากับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อหาวิธีการป้องกันปัญหาล่วงหน้า เพื่อหาแนวทางวิธีการที่เหมาะสมให้กับแต่ละความเสี่ยง เพื่อมีกระบวนการเมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด และเป็นการสร้างความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
       การทำงานโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้น เป็นการทำงานโดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆให้มีผลดีมากยิ่งขึ้นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้นั้น ก็ต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานแต่ละอย่าง ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในงานด้านใด ก็จะเรียกว่าเทคโนโลยีด้านนั้นๆ เช่น ถ้านำมาใช้ทางด้านการแพทย์ ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ ถ้านำมาใช้ทางด้านการเกษตร ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร ถ้านำมาใช้ทางด้านวิศวกรรม ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางวิศวกรรม ถ้านำมาใช้ทางด้านการศึกษา ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในส่วนต่างๆของวงการศึกษา การที่จะศึกษาถึง องค์ประกอบต่างๆในเทคโนโลยีการศึกษา จึงจำเป็นต้อง ทราบความหมายของคำต่างๆเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมถึงพัฒนาการระยะต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นการศึกษาถึงความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านนี้ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ รวมถึงความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=795497 และในปัจจุบันเทคโนโลยีก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตในแต่ละวันของเราอย่างมาก มีการเรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆกันอย่างกว้างขวางขึ้น ซึ่งในแต่ละด้านก็อาจจะมีปัญหาที่แต่ต่างกันออกไป ในที่นี้จะขอกล่าวในด้านการศึกษา
         พัฒนาการด้านเทคโนโลยีในการศึกษา เพื่อที่จะทำให้การศึกษาไทยทัดเทียมกับนานาชาติ เพราะอีกในไม่กี่ปีนี้แล้วเราก็จะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  ดังนั้นการเรียนการสอนจึงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนรู้ต่างๆมากขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์  วีดีทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน จัดตารางสอบ จัดชั้นเรียน คำนวณระดับคะแนน ทำรายงานและการทำวิจัย เป็นต้น โดยจะให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลัก แต่เราก็ยังประสบกับปัญหาต่างๆ 
ปัญหาเทคโนโลยีทางการศึกษา ดังนี้
  1. ปัญหาความพร้อมของผู้สอน  ครู/อาจารย์ยังขาดความพร้อมในการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี  เพราะการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพได้นั้น  ก็จะต้องเริ่มจากการพัฒนาครู/อาจารย์  ซึ่งนอกจากจะต้องดูแลเรื่องกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยการใช้เทคโนโลยีแล้ว เช่น การนำสื่อนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องแล้ว  ยังต้องควบคุมอารมณ์และสังคมให้ได้อีกด้วย
  2. ปัญหาวัสดุ อุปกรณ์  งบประมาณ คือ เรายังขาดงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรม ขาดวัสดุ – อุปกรณ์และงบประมาณที่จะพัฒนาสื่อนวัตกรรม การจัดหา การใช้ การดูแลรักษาและขาดงบจัดหาสื่อทันสมัย เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับระบบเครือข่ายและโปรแกรมระบบเครือข่ายทุกระบบ  สัญญานอินเตอร์เน็ต เพราะบางโรงเรียนในประเทศไทยเราสัญญานการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็ยังไปไม่ถึง หรือไม่ควบคุมทุกพื้นที่ ซึ่งปัญหานี้ก็เป็นปัญหาที่สำคัญอีกข้อหนึ่ง เนื่องจากทุกวันนี้การเรียนการสอนจะใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลต่างๆ เพราะเป็นการเรียนรู้ที่ทำได้ทุกที่ ทุกเวลา และตลอดชีวิต และเป็นการเปิดโลกกว้างในการเรียนรู้แก่นักเรียนนักศึกษาได้เป็นอย่างดี
  3. ปัญหาด้านสภาพการเรียนการสอน เด็กมีความแตกต่างกันด้านสติปัญญา  ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม ปัญหาสุขภาพต่างๆนี้ก็ทำให้เด็กมีการตอบสนองรับรู้การเรียนการสอนได้ไม่เท่ากัน ทำให้มีผลต่อสภาพการเรียนการสอน เพราะบางเนื้อหาวิชาก็มีมากและสาระการเรียนการสอนแต่ละครั้งไม่ต่อเนื่อง ก็จะทำให้นักเรียนบางคนไม่สบายใจในการทำกิจกรรม  และทำไม่จริงจัง นอกจากนี้นักเรียนต้องเข้าคิวรอนานกับนวัตกรรมบางชนิด 
แนวทางแก้ไขปัญหา
        1.มีการสร้างความตระหนักที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก มีความรับผิดชอบในส่วนที่ยังบกพร่องทางนวัตกรรมของผู้สอน ส่งเสริมให้เข้าร่วมการอบรมสัมมนาต่างๆ เช่น การอบรมหลักสูตร การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ณ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ http://www.itrmu.net/tc/index.php?  ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้ความรู้และประสบการณ์ในการใช้สื่อนวัตกรรมทางการศึกษาที่มากขึ้น
 
 http://www.itrmu.net/ebookonec/index.php?name=gallery&op=showgallery&id=22&gid=46

 

         2. เพิ่มงบประมาณให้เพียงพอ ให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องจัดหางบประมาณสนับสนุน สำนักงานเขตพื้นที่ต้องช่วยดูแลและให้ความช่วยเหลือจัดสรรงบประมาณได้ เพื่อใช้ในการพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น และระดมทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น มาช่วยสนับสนุน นอกจากนี้ก็ต้องเปิดโลกกว้างทางอินเตอร์เน็ตโดยการปรับปรุงเสริมสร้างสัญญานอินเตอร์เน็ตให้ทั่วถึงกันทุกพื้นที่
 http://www.moe.go.th/websm/2012/may/127.html

 

         3.จัดกลุ่มให้เพื่อนช่วยเพื่อน  คอยกำกับแนะนำช่วยเหลือ  จัดครูเข้าสอนตามประสบการณ์ความถนัด ควรจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ จัดทำนวัตกรรมที่มีโอกาสเป็นไปได้โดยจะต้องสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน  และสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน  สอนเพิ่มเติมนอกเวลา และจัดการสอนแบบรวมชั้น  โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามช่วงชั้น
         http://www.itrmu.net/tc/index.php?name=gallery&op=showgallery&id=18&gid=47

 

        ดังนั้นเมื่อมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการศึกษาก็ต้องมีการคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือความเสี่ยงที่เป็นผลกระทบจากความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งอาจทำให้การดำเนินการของการเรียนรู้เกิดความไม่ต่อเนื่องได้ จึงต้องมีการศึกษาถึงปัจจัยต่างๆที่อาจจะเสี่ยงที่จะเกิดปัญหากับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อหาวิธีการป้องกันปัญหาล่วงหน้า เพื่อหาแนวทางวิธีการที่เหมาะสมให้กับแต่ละความเสี่ยง เพื่อมีกระบวนการเมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด และเป็นการสร้างความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องให้ความสำคัญและร่วมมือในการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันความเสี่ยงของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้มีการวางแผนไว้แล้ว จึงจะเกิดระบบที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
หมายเลขบันทึก: 496774เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 สิงหาคม 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • อาจารย์ได้ระบุในบันทึกวันที่ 24 กรกฏาคม ว่า ให้ทุกคนตั้งชื่อสมุดของตนว่า "บันทึกของ....." หรือ "งานเขียนของ..." หรืออะไรทำนองนี้ และได้ยกตัวอย่างการใช้หัวสมุดของหนูโดยตรง ดังภาพและคำแนะนำว่า ... มีนักศึกษาที่ได้แก้ไขแล้ว แต่ยังไม่ถูกต้อง คือใช้หัวสมุดดังภาพล่าง คำว่า "บันทึกของฉัน" ไม่รู้ว่า "ฉัน" คือใคร แต่ ณ วันนี้ หนูก็ยังไม่ได้ทำตามที่อาจารย์ได้แนะนำไป

           ตัวอย่างที่อาจารย์ให้ทำ คือ ต้องมีภาพและข้อมูลบุคคลในหัวสมุด ดังตัวอย่าง

       และที่สำคัญ อาจารย์ได้แจ้งในบันทึกเดียวกันว่า "ขอทบทวนว่า ในการเขียนบันทึก ต้องมีส่วนประกอบครบ 3 ส่วน แต่ละส่วนแยกเป็นแต่ละย่อหน้าให้เห็นชัดเจน และต้องค้นคว้าและนำมาอ้างอิงอย่างน้อย 1 แหล่งพร้อมทั้งแสดงการอ้างอิงโดยให้ Link ตามรูปแบบต่างๆ ที่อาจารย์ให้ไว้ในบันทึกนี้และบันทึกอื่นๆ ซึ่งสามารถ Click เข้าไปดูแหล่งที่มาได้ ถ้าใครไม่เขียนให้ถูกต้อง ตามข้อกำหนดเบื้องต้นดังกล่าว จะไม่ได้รับการตรวจประเมิน"

  • เมื่องานเขียนนี้ของหนู มีหัวสมุดที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด และไม่ได้ให้ Link แหล่งอ้างอิงที่ผู้อ่านสามาถ Click เข้าไปดูได้ งานเขียนนี้จึงจะยังไม่ได้รับการประเมิน จนกว่าจะมีการแก้ไขให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังกล่าว

  • ขอแก้ไขคำที่พิมพ์ผิด "...ที่ผู้อ่านสามาถ (สามารถ) Click เข้าไปดูได้"

รีบแก้ไขเร็วเข้า เดี๋ยวอาจารย์เค้าไปประเมินน้า ;)...

ขอขอบคุณ คุณโสภณ เปียสนิท มากนะค่ะที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมและได้มอบดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ

ขอขอบคุณ ผศ. วิไล แพงศรี มากเลยนะค่ะที่ได้เข้ามาให้คำแนะนำในการเขียนบันทึกครั้งนี้ด้วย และยังได้มอบดอกไม้ให้กำลังใจ หนูจะนำคำแนะนำนี้ไปปรับปรุงแก้ไขทั้งในบันทึกนี้และบันทึกต่อไปนะค่ะ

ขอขอบคุณ คุณวศิน ชูมณี มากนะค่ะที่ได้แวะมาอ่านและเข้ามามอบดอกไม้ให้กำลังใจนะค่ะ

04ขอขอบคุณ   คุณสเร็นเหลา มากนะค่ะที่ได้เข้ามามอบดอกไม้เป็นกำลังใจ

ขอขอบคุณ คุณขจิต ฝอยทอง มากนะค่ะที่ได้แวะเข้ามาเยี่ยมชมและได้มอบดอกไม้เป็นกำลังใจให้นะค่ะ

ขอขอบคุณเพื่อนๆ 04 จิรารัตน์ อินธิเดช และ 02 แสงสุวรรณ แก้วระดาษ มากเลยนะค่ะที่ได้เข้ามามอบดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ

ขอขอบคุณ คุณ Wasawat Deemarn มากนะค่ะที่ได้แวะเข้าเยี่ยมชมและยังได้ช่วยเตือนให้รีบแก้ไขบันทึกอีก

  • เขียนได้ดีมาก
  • รออ่านอีกนะครับ

ขอขอบคุณ คุณขจิต ฝอยทอง มากนะค่ะสำหรับคำติชม และจะพยายามทำให้ดีที่สุดในบันทึกต่อๆไปค่ะ

ขอขอบคุณ 02 ปวิณา แพงทรัพย์ มากนะค่ะที่ได้เข้ามาให้กำลังใจด้วยการมอบดอกไม้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท