ทำไม “เซียน” จึงสอนให้ดูพิมพ์


เมื่อความรู้ตันแบบเน้นไปในทางศิลปะ และพิมพ์ทรง ผู้เขียนหนังสือที่ยืนบนฐานความรู้ดังกล่าว ก็คงจะมีชุดความรู้ความเข้าใจมาจากจุดนี้

หนังสือความรู้เรื่องพระที่ผมเห็น ซื้อ และอ่านมานับได้เป็นร้อยเล่ม ส่วนใหญ่และเกือบทั้งหมด

  • สอนให้ดูพิมพ์ทรง เป็นหลัก และ
  • ดูความเป็นธรรมชาติ เป็นรอง

และจำนวนมาก จะบอกว่า มีกี่พิมพ์ มีเนื้ออะไรบ้าง

ทั้งพิมพ์และเนื้อ มักจะว่าไปตามที่ “เซียน” มีมาก

  • แถมกำหนดสิ่งที่ตัวเองมีมาก หรือชอบ ว่าเป็น “พิมพ์นิยม”
  • และเนื้อที่ตัวเองมีมาก หรือชอบ ว่า “เนื้อนิยม”
  • สำหรับความนิยม ก็อาจตีมาเป็นตัวเงินด้วยซ้ำ
    • เช่น ความนิยมอยู่ที่ หลักแสนกลาง ก็มีราคาประมาณ 500000 บาท เป็นต้น

ตอนแรกๆ ผมก็เชื่อตามที่หนังสือว่ามา

  • ทั้งพิมพ์
  • ทั้งเนื้อ
  • ความนิยม
  • และราคาซื้อขาย

แต่เมื่อผมเข้าไปในวงการ ตั้งแต่

  • ศึกษา เรียนรู้ จากตลาดพระทั่วประเทศไทย ทัศนศึกษาตามเมืองโบราณ ตามกรุต่างๆ ทั่วประเทศ
  • หาซื้อพระในตลาดแทบทุกระดับ
  • แบ่งปันให้เพื่อนๆ และผู้สนใจตามโอกาส

ผมจึงเข้าใจความจริง ที่มากกว่าที่เขียนไว้ในหนังสือพระเครื่องทั้งหลาย ที่พบว่า

  • พิมพ์ (ที่คัดพิมพ์เก๊ เนื้อเก๊ออกแล้ว) มีมากกว่าที่เขียนไว้ในหนังสือพระทั้งหลาย
  • เนื้อ (ที่คัดเนื้อเก๊ออกแล้ว) มีมากกว่าที่เขียนไว้ในตำราทั้งหลาย
  • ความนิยม นั้นไม่มีมาตรฐานแน่นอน แต่ทุกคนนิยมพระแท้เป็นหลัก ที่หลงแขวนพระเก๊ ก็เพราะความรู้ไม่พอใช้มากกว่า
  • และความนิยม ไม่เกี่ยวกับราคาซื้อขาย
  • และราคาซื้อขายจริงๆ อยู่ที่หลักพันเป็นส่วนใหญ่ อย่างมากก็หลักหมื่น ไม่ว่าจะเป็นพระระดับไหน
  • และราคานี้ถือว่า “โก่ง” แล้ว ส่วนใหญ่พระเขามีไว้แบ่งกันใช้มากกว่า

เมื่อเข้าใจเช่นนี้ ผมก็เริ่มมาหาเหตุผล ที่ไปที่มาของแต่ละเรื่อง ตามหลักอิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา คิดทบทวนไต่ตรองมาตลอด เป็นเวลายาวนานจนเข้าใจระดับที่พอจะเล่าให้เพื่อนๆฟังได้ ดังนี้

ผู้เขียนหนังสือพระในระยะแรกๆ จะเขียนด้วยใจบริสุทธิ์ ต้องการถ่ายทอดความรู้ที่ตนเองมี

แต่ด้วยเหตุที่ตัวเองมีฐานความรู้ทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี จึงมีมุมมองในเชิงของ ศิลปะ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ อันรวมถึง ประเพณี ศาสนา และวัฒนาธรรม ที่ผ่านมา

จึงนำความรู้ที่ได้มาเขียนในเชิงศิลปะ พิมพ์ทรง

  • เพื่อแยกยุค แยกสมัยของศิลปะ และโบราณสถาน
  • มากกว่าที่จะวิเคราะห์เจาะลึกถึงรายละเอียดของการสร้าง และความหลากหลายของเนื้อ
  • ที่เป็นความรู้อีกระดับหนึ่ง
    • ที่ต้องอาศัยการพิจารณาความแตกต่างของตัวอย่างที่มี
    • บริบทของการสร้าง และ
    • ความน่าจะเป็นในเชิงมวลสาร
    • เจตนาในการสร้าง และ
    • พัฒนาการของความรู้ และ
    • พัฒนาการของมวลสารต่างๆตามธรรมชาติ ในแต่ละสภาพแวดล้อม

ที่ต้องอาศัยข้อมูลเชิงเปรียบเทียบมากพอสมควร จึงจะสามารถทำความเข้าใจและวิเคราะห์ออกมาได้

ที่ท่านเหล่านั้น ยังอาจจะมีตัวอย่างและความเข้าใจไม่กว้างพอที่จะเขียนเปรียบเทียบแบบนั้นได้

และยิ่งกว่านั้น

การทำความเข้าใจในเชิงภูมิปัญญา ยังอาจต้องใช้ความรู้หลายสาขา ทั้งหลักวิทยาศาสตร์และธรรมชาติวิทยา เข้าประกอบกับ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ที่มีอยู่แต่เดิม จึงจะสามารถตีความออกมาได้อย่างชัดเจนมากที่สุด

ดังนั้น เมื่อความรู้ตันแบบเน้นไปในทางศิลปะ และพิมพ์ทรง ผู้เขียนหนังสือที่ยืนบนฐานความรู้ดังกล่าว ก็คงจะมีชุดความรู้ความเข้าใจมาจากจุดนี้

และความรู้ในเชิงลึกที่จะเสริม หรือนำมาอธิบายก็ไม่ค่อยมี

จึงจำเป็นต้องว่าไปตามนั้น

และเสริมด้วยเจตนาแอบแฝงทางการค้า เชิงพุทธพานิช เชียร์พระที่ตัวเองมีมากว่าเป็น

  • พิมพ์นิยม
  • เนื้อนิยม
  • พร้อมบอกราคาเสร็จสรรพ ว่าใครสนใจก็ ราคาประมาณนี้

แต่การเขียนหนังสือ ก็ต้องแสดง “ภูมิ” กันหน่อย ว่ามีสาระอะไรจะบอกคนอื่น เพราะถ้าไม่มี อาจจะขายไม่ออก

จึงต้องแสดงเท่าที่ตัวเองมั่นใจ และพอจะทำได้

ก็คือ

  • การแจงพิมพ์ทรง ตามที่ตัวเองมี ที่อาจขอยืมรูปของคนอื่นมาด้วย
  • แต่ส่วนใหญ่จะใช้รูปพระของตัวเองเพื่อผลในทางการโฆษณาไปด้วย
  • และส่วนใหญ่ก็เน้นอยู่แคนั้น
  • ความรู้ที่เหลือ ที่บอกไม่ได้ ก็ถือโอกาสเทไปรวมกันไว้ใน “ความเป็นธรรมชาติ” ที่คนอ่านต้องศึกษาเอง และเข้าใจเอาเอง
  • ใครไม่เข้าใจ ก็เป็น “เหยื่อ” ของระบบ หรือ “หมูสนาม” ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดตัว

ดังนั้น คนที่เรียนตามตำรา หรือตามคำสอนของเซียนรุ่นเก่า

  • จะมีมาตรฐานการดูที่เริ่มจากพิมพ์ทรง
  • แล้วก็มาดู “ความเป็นธรรมชาติ” ตามความถนัด และทักษะของตน
  • ที่มักจะถือว่าเป็น “ความรู้ฝังลึก” (Tacit knowledge)
  • ทั้งๆที่เป็นความรู้ในทางเคมี มวลสารวิทยา และธรรมชาติวิทยาธรรมดาๆนี่เอง

แต่เนื่องจากนักส่องพระส่วนใหญ่ เขาไม่เคยศึกษามาด้านนี้อย่างถึงประเด็น ก็เลยคิดว่าเป็นความรู้ฝังลึกไป เพียงด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ฉะนั้น ถ้าเราใช้ความรู้ทางเคมี และธรรมชาติวิทยาของมวลสารที่เรามีเสริมให้กับฐานความรู้ด้านพิมพ์ทรง เนื้อต่างๆที่ตำราเดิมเขียนไว้ ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงความหลากหลายของพิมพ์ และเนื้อได้อย่างชัดเจน และสามารถแบ่งแยก

  • พระเก๊ออกจากพระแท้ และ
  • พระเก่าออกจากพระใหม่

ได้โดยง่าย

ผมจึงได้ข้อคิดสำคัญว่า

จงเรียนรู้ อย่าท่องจำ หรือเลียนแบบ”

เป็นหลักในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของผมครับ

 

หมายเลขบันทึก: 496638เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อันนี้เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง ที่เซียนมักจะดูที่พิมพ์ก่อน เพราะง่ายในการมอง ผมก็ถูกสอนมาอย่างนี้เหมือนกัน จนประมาณปี40 อาจารย์คนแรกก็สอนผมด้วยประโยคคำพูดแรกว่า องค์นี้ต้องซื้อเพราะเนื้อเสียเงิน ผมถามว่าแล้วพิมพ์ละ คำตอบคือ ถ้าเนื้อใช่พิมพ์ก็ใช่ เพียงแต่จะวัดไหนเท่านั้นเองหรือเป็นพิมพ์ที่ยังไม่ได้ลงหนังสือ พระพวกนี้ถ้าอยู่ในมือเซียนก็กลายเป็นแท้ไป ปัจจุบันผมมักบอกกล่าวคนรอบข้างเสมอว่า หลักเกณท์การดูพระของผมคือ พิมพ์ใช่ เนื้อใช่ ธรรมชาติใช่ พระองค์นี้ก็มีโอกาส แต่เวลาไปหาของในตลาด ผมจะเน้นการดูที่เนื้อหาและธรรมชาติก่อน ถ้าไม่แพงจนเกินไปหรือผิดพิมพ์มากเกินไป ก็จะซื้อมาก่อน ส่วนการพิสูจน์นั้นผมก็ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยบ้างเหมือนกัน เพียงแต่ยังไม่ได้จัดทำให้เป็นระบบแบบท่านอาจารย์ครับ


ขอบคุณมากครับ

แสดงว่าท่านอ่านจนจบจริงๆ

คนส่วนใหญ่จะมาอ่านผ่านๆ แบบลวกๆ แล้วก็ข้ามไป จะเข้าใจไม่มากเท่านี้ครับ

กดร้อยที ร้อยองค์ ก็ร้อยอย่าง ขอบคุณครับสำหรับความคิดดีๆ

 วงการนี้ไม่ปรานีใคร ใครไม่รู้ทันก็โดนแน่ๆ มีทางเลือกสองทาง ไม่เรียนก็เลิกไปซะ อิอิอิอิ

ในเมื่อเซียนส่วนใหญ่เป็นผู้ทุศีล แต่มาอยู่ในวงการพระ

ทำไมผู้คนถึงได้เชื่อและศรัทธากันนัก

นี่เป็นเหตุผลที่เกิดปัญหาวุ่นวายในวงการพุทธพานิชย์

ละวางพวกทุศีลเหล่านั้นได้ มาศึกษาเองประเสริฐกว่า

ดีชั่วปะปนกันไปนะครับ ทุกวงการก็เป็นเช่นนี้ครับ มันเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย พระพุทธเจ้าสอนเราให้พิจารณาดูเอาครับ โดยให้ยึดหลักกามาลสูตรครับ(ความเชื่อ 10 อย่าง) ส่วนสาเหตุที่คนส่วนใหญ่เขาเชื่อเซียนเหล่านั้นเพราะเขามีความสามารถจริงนะครับ ไม่ได้มั่วหรือโม้อวยกันเองครับ เขาสามารถแยกแยะได้และถูกต้องรวดเร็ว หากแต่ที่ขาดอยู่ก็คือธรรมข้อความสุจริต อาจเนื่องจากเขาต้องทำมาหากินและเอารัดเอาเปรียบเพื่อให้ได้ผลประโยชน์มากที่สุด หยุดด่าเขาเพราะเราแก้เขาไม่ได้ แต่หากต้องแก้ที่ตัวเรานะครับ ศึกษาให้มากพิจารณาให้ดี พากเพียรไปเรื่อยๆหนทางข้างหน้ายาวไกลไม่ควรมาใส่ใจกับคำพูดของเซียนให้มากนัก ทุกคนจะสอนอย่างไรช่างเขา เราจะเชื่ออย่างไรช่างเรา ไม่มีใครบังคับกะเกณฑ์เราได้ อย่าลืมนะครับทุกท่าน ให้แก้ที่ตัวเรา ไม่ใช่แก้ที่ตัวเขา ฝากอีกครั้ง" ก็เป็นแค่ปถุชนธรรมดา ไม่ใช่ว่าทวยเทพแต่หนไหน จะทุ่มเทกำลังทั้งกายใจ วาดหวังไว้ดีขึ้นสักนิดหนึ่ง" สวัสดีมีชัยทุกท่าน......ธรรมคือธรรมชาติ เข้าใจธรรมเข้าธรรมชาติ 

อาจารย์ ผมเชื่อ ความสอนของ อาจรย์ ดูความเป็นธรรมชาติ พระผิดพิมพ์ จะแท้เมื่ออยู่ใน คอเซียน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท