การอ่านออกเขียนได้เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดในการใช้เทคโนโลยีและการเรียนรู้


ได้ยินคุณครูบ่นเสมอว่า นักเรียนตอนเรียนระดับประถม ลายมือสวย ว่านอนสอนง่าย แต่พอขึ้นระดับมัธยมกลับมีพฤติกรรมที่ตรงกันข้าม ถ้าคำกล่าวนี้เป็นจริงก็เท่ากับว่ายิ่งเรียนสูงยิ่งแย่ลงอย่างนั้นหรือเปล่า
    วันนี้(29 ก.ค.)เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติทำให้นึกถึงการใช้ภาษาไทยของเด็กและเยาวชน ทั้งด้านการอ่าน การเขียน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดในการเรียนรู้ และถ้ามีพื้นฐานความรู้ภาษาอื่นเพิ่มขึ้นอีกก็จะสร้างโอกาสการเข้าถึงความรู้ได้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้น 
 ปัญหาจากการอ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่องกลายเป็นปัญหาสำคัญของเยาวชนขณะนี้ ยกตัวอย่างผลกระทบที่เป็นรูปธรรมคือผลการสอบโอเน็ตของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ตกต่ำทั่วประเทศ 
สาเหตุสำคัญน่าจะเกิดจากการที่นักเรียนอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่องและตีความโจทย์ปัญหาไม่แตก รวมทั้งไม่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพียงพอ เลยตอบข้อสอบไม่ได้ 
แม้เทคโนโลยีจะมีประโยชน์ อำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างกว้างขวาง แต่ถ้านักเรียนใช้อย่างไม่เหมาะสม ก็อาจส่งผลกระทบให้เยาวชน มีนิสัยเกียจคร้านที่จะเขียน จะคิดเลข เพราะมีตัวช่วยที่สะดวกรวดเร็วอยู่แล้วคือคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข ฯลฯ เลยทำให้สมองที่ไม่ได้ถูกใช้อีกด้านฝ่อไป รวมทั้งเกิดผลข้างเคียงต่างๆตามมา เช่น เขียนหนังสือไม่เป็นตัว คิดอะไรแบบง่ายๆ ไม่รอบคอบ(มักง่าย) ใจร้อน ใช้ภาษาไม่สร้างสรรค์ แยกตนเองไปมีชีวิตอยู่ในโลกของเวทีเสมือนจนทำให้การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมีน้อยลงฯลฯ 
ผมได้ยินคุณครูบ่นเสมอว่า นักเรียนตอนเรียนระดับประถม ลายมือสวย ว่านอนสอนง่าย แต่พอขึ้นระดับมัธยมกลับมีพฤติกรรมที่ตรงกันข้าม ถ้าคำกล่าวนี้เป็นจริงก็เท่ากับว่ายิ่งเรียนสูงยิ่งแย่ลงอย่างนั้นหรือเปล่า และนอกจากการเปลี่ยนแปลงของวัยที่มากขึ้นและวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปแล้ว เทคโนโลยีก็มีส่วนทำให้เป็นเช่นนั้นหรือไม่
หมายเลขบันทึก: 496395เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 04:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

With digital cameras, children and people are learning to express themselves in pictures and colors (or light). Television and YouTube really show the trend for audio-visual expressions. Maybe because audio-visual carries more information and reaches many sensory channels at the same time.

In comparison, text messages are getting shorter and more cryptic (and requiring deeper understanding of the context -circumstances- where/when the messages are generated).

The world are fast running out of time for people to sit down to read and to understand text in all possible contexts and intentions. More muli-dimensional/media expressions are here!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท