โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2555


...เพียงคำนึงถึงว่า พื้นฐานของมนุษย์ต้องการอะไร หากเราเป็นอาสาสมัคร เราอยากได้หรือไม่อยากได้อะไร ก็พอทราบได้คร่าวๆว่า เราควรทำอย่างไร...

19-20 กรกฎาคม 2555 เข้าอบรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2555 ณ ห้องสัมมนา 1 ชั้น 9 อาคารเพียรวิจิตร คณะวิศวกรรมศาสตร์

เนื้อหาประกอบด้วย

  • วิวัฒนาการของจริยธรรมการวิจัย และหลักจริยธรรมพื้นฐาน (รศ.พญ.จิราภรณ์ ศรีนัครินทร์)
  • บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย ผู้บริหาร นักวิจัย ในการปกป้องอาสาสมัคร (ศ.นพ.สุชาติ อารีมิตร)
  • Initial Review & Continuing Review (รศ.ดร.นิมิตร มรกต, ผศ.พญ.รัตนา คำวิลัยศักดิ์ และศ.พญ.ธาดา สืบหลินวงศ์)
  • กระบวนการการขอความยินยอม (Informed consent) และป้ายโฆษณาเชิญชวนอาสาสมัคร
  • Ethical Consideration in Behavioral Social Study
  • Ethical issue in community based participatory research (พ.อ. รศ.สุธี พานิชกุล)
  • Ethical Consideration in clinical trials: Drug trials (รศ.ดร.ภญ.นุชจรี ประทีปะวณิช จอนห์ส)
  • Medical Device (นพ.สหพล อนันต์นำเจริญ)
  • Ethical Consideration in vaccine trials (รศ.พญ.จามรี ธีรตกุลพิศาล)
  • Ethical Consideration in Research involving Pregnant Women (พล.ต.หญิง รศ.พญ. อาภรณ์ภิรมย์ เกตุปัญญา)
  • SOP training (อ.พญ.พรรณพิทา ว่องไว)

...

ใน session ที่น่าสนใจมากคือ การเชิญท่านที่เคยมีประสบการณ์อาสาสมัครร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง

ประเด็นสำคัญคือ

  • ได้รับโทรศัพท์ทาบทามเข้าร่วมวิจัย ได้รับทาบทามบ่อยๆโดยมีข้อสงสัยว่า ได้เบอร์โทรศัพท์มือถือส่วนตัวจากที่ไหน?
  • แบบสอบถามมีจำนวนมาก ต้องกลับไปทำที่บ้าน ใช้เวลาทำนาน ต้องคิดคำนวณซึ่งไม่สะดวกในคนที่ไม่มีเครื่องคิดเลข ช่วยเพื่อนที่ตอบแบบสอบถามคำนวณ
  • มาร่วมในกิจกรรมของงานวิจัยโดยเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าที่ได้รับ
  • เข้าหาไม่ถูกเวลา ให้ลงลายมือชื่อโดยมีคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ จะนำลายมือชื่อไปทำอะไร
  • ถูกถามขณะรอตรวจว่ามาทำอะไร ทำให้รู้สึกว่าโรคของตนถูกเปิดเผย

...

 

 

โดยภาพรวมทั้งหมดเป็นความพยายามให้กรรมการจริยธรรมและผู้วิจัยทราบและเข้าใจความจำเป็นของการปกป้องสิทธิ สวัสดิภาพของอาสาสมัคร โดยเฉพาะในกลุ่มวิชาชีพที่ปฏิบัติต่อมนุษย์โดยตรง เช่นแพทย์ พยาบาล กลุ่มบุคลากรทางสาธารณสุข หรือสังคมศาสตร์ต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการที่ทำหน้าที่พิจารณาจริยธรรมต้องพัฒนาความสามารถให้ทันกับแนวคิดเชิงวิชาการและสังคม และเมื่อมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีวิสัยทัศน์ ว่า "มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำระดับโลก (World Class Research University)" จึงจำเป็นที่ต้องใช้เกณฑ์การพิจารณาจริยธรรมที่เป็นมาตรฐานระดับโลกเป็นกรอบ ซึ่งทุกฝ่ายต้องพยายามร่วมมือกัน

...

...เพียงคำนึงถึงว่า พื้นฐานของมนุษย์ต้องการอะไร หากเราเป็นอาสาสมัคร เราอยากได้หรือไม่อยากได้อะไร ก็พอทราบได้คร่าวๆว่า เราควรทำอย่างไร... ในงานวิจัยกับมนุษย์

หมายเลขบันทึก: 496175เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012 10:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท