ทำไม ฆราวาส ยิ่งปฏิบัติธรรม กลับยิ่งทุกข์ใจ (๔)


๔. เพราะเกิดการเห็นธรรม ได้นิพพิทาญาณ จึงเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร อยากจะไปให้พ้นๆ เมื่อยังไม่สามารถพ้นไปได้ บางท่านหากรู้ไม่เท่าทัน ก็อาจมีการกระทำที่ทำให้เกิดความทุกข์ใจตามมา

Tiny_grf

การเกิดความเบื่อหน่ายนี้เป็นธรรมดาของผู้ที่ได้นิพพิทาญาณ คือ เมื่อได้เห็นการเกิดดับของนามรูป เห็นไตรลักษณ์ของธรรมต่างๆ เห็นว่าสิ่งต่างๆเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยึดถือได้ เห็นสังขารเป็นของน่ากลัว เห็นโทษ ก็จะเกิดญาณคำนึงเห็นด้วยความเบื่อหน่าย (นิพพิทา) เมื่อรู้เห็นอยู่อย่างนั้นก็จะเบื่อหน่ายมากขึ้น จึงเกิดญาณขั้นต่อมาคือ มุญจิกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้ใคร่จะไปให้พ้น เมื่ออยากไปให้พ้น จึงหันมาทบทวนความรู้เก่าๆที่สะสมไว้ หาทางที่จะให้พ้นไปจากวัฏฏะ หรือปฏิสังขานุปัสสนาญาณ จนในที่สุดก็จะเห็นว่า แท้ที่จริง ทุกสิ่งๆก็เป็นไปตามธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เป็นที่เราต่างหากที่หลงไปในทางต่างๆ เมื่อหลงยึดติด ก็อยาก ก็เอียงไปข้างหนึ่ง ครั้นจะเลิกยึด จะหมดความอยาก ก็เอียงไปอีกข้างหนึ่ง เมื่อเห็นดังนี้แล้ว ก็จะมองทุกสิ่งตามที่เป็นจริง จึงเกิดสังขารุเปกขาญาณ หรือ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขารขึ้น

เมื่อมีการมองสิ่งต่างๆด้วยจิตที่เป็นกลาง ก็มีความเห็นคล้อยตามอริยสัจได้ ก็จะเกิดสัจจานุโลมมิกญาณอันเป็นญาณเห็นคล้อยตามอริยสัจขึ้น จึงเห็นสิ่งต่างๆด้วยจิตที่ประกอบอยู่ด้วยอุเบกขาจึงจะทำหน้าที่ต่ออริยสัจทั้ง ๔ นั้นได้อย่างถูกต้อง

ซึ่งเมื่อเห็นคล้อยตามอริยสัจ ได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจอย่างถูกต้อง อริยสัจ ๔ จึงจะสามารถปริวัฏฏ์ หรือ หมุนเวียน ๓ รอบ จนมีอาการ ๑๒ ได้ (สำหรับกตญาณนั้น ในขั้นแรกคือรู้ว่าได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง ไม่ได้หมายความว่ารู้แล้วว่าในบรรดากิจทั้งหมดนั้น ตนได้ทำหมดแล้ว) อันจะทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถก้าวข้ามการเป็นปุถุชน ไปเป็นอริยบุคคลขั้นต่างๆได้ต่อไป

Tiny_grd

ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อผู้ปฏิบัติได้นิพพิทาญาณแล้ว มักเกิดภวตัณหา เช่น อยากปฏิบัติในเพศนักบวช หรือ วิภวตัณหา ตามมา เช่น ไม่อยากปฏิบัติอยู่ที่บ้าน ไม่อยากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงในปัจจุบัน จึงก่อให้เกิดทุกข์ เกิดปัญหาครอบครัวจนบางท่านอาจคิดไปว่าการปฏิบัติตามธรรมนั้น ไม่ถูกต้องหรืออย่างไรดังที่ภิกษุณีวรมัยได้เล่าไว้

คุณๆที่รักเหมือนญาติสนิท เดือนนี้ทั้งเดือนมีญาติทางธรรมมาเยี่ยม ส่วนมากมีเรื่องภายในครอบครัวมาปรึกษาแทบทั้งสิ้น จะมีเรื่องอื่นเพียง ๓ ๔ รายเท่านั้น เรื่องที่ถูกนำมาปรึกษาก็คือ ความไม่ปกติสุขเกิดขึ้น เมื่อคนใดคนหนึ่งในครอบครัวหันมาเรียนสมถะวิปัสสนาอย่างจริงจัง บางคู่แทบจะหย่ากันเลยก็มี เพราะความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน

ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์ มาลัยธรรม เล่ม ๑ หน้า ๑๔

อันที่จริง การปฏิบัติที่ถูกต้องนั้น ไม่ได้ทำให้เกิดทุกข์ หากสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือตัณหา, การหลงติดในสมมติสัจจะ หรือ สมมติบัญญัติ ต่างหากที่ทำให้เป็นไป ซึ่งหากเราทราบดังนี้แล้ว และทำหน้าที่ต่ออริยสัจอย่างถูกต้อง ทุกข์ก็จะไม่เกิด

อริยสัจจ์ ๔ นั้น หากเราทราบแต่เพียงว่า ประกอบด้วยอะไร แต่หากเราไม่ทราบกิจ หรือ หน้าที่ ที่มีต่ออริยสัจแต่ละข้อ และไม่ทราบว่าได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจข้อนั้นๆแล้วหรือไม่ ก็ไม่สามารถทำให้เราพ้นจากทุกข์ไปได้ รวมทั้งไม่สามารถเรียกการปฏิบัตินั้นว่า การปฏิบัติธรรมโดยชอบ ได้อีกด้วย

สิ่งสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งเกี่ยวกับอริยสัจ คือ การรู้ และทำหน้าที่ต่ออริยสัจแต่ละข้ออย่างถูกต้อง ในการแสดงอริยสัจก็ดี ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจก็ดี จะต้องให้อริยสัจแต่ละข้อสัมพัน์ตรงกันกับหน้าที่หรือกิจต่ออริยสัจข้อนั้น จึงจะชื่อว่าเป็นการแสดงอริยสัจ และเป็นการปฏอบัติธรรมโดยชอบ มิฉะนั้น จะทำให้เกิดความผิดพลาด ทั้งในความเข้าใจ และการประพฤติปฏิบัติ

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย หน้า ๘๕๔

Tiny_grc

เพราะอริยสัจจ์ ๔ ต้องปริวัฏฏ์หรือหมุนวน ๓ รอบ จนมีอาการ ๑๒ จึงจะทำให้เราพ้นทุกข์ได้เป็นเรื่องๆไป พ้นจากทุกข์ได้หมดทุกข์เรื่อง ก็เป็นการสิ้นสุดของทุกข์

ซึ่งการปริวัฏฏ์ทั้ง ๓ รอบนั้น รอบแรก คือ สัจจญาณ รอบที่สอง คือ กิจญาณ และรอบที่สาม คือ กตญาณ

๑.สัจจญาณ คือ หยังรู้ความหมายของอริยสัจจ์แต่ละอย่าง เช่น รู้ว่า ทุกข์คืออะไร สมุทัย หรือ สมุทัย หรือ นิโรธ หรือ มรรค คืออะไร

๒.กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจจ์ รู้ว่ากิจ หรือ หน้าที่ที่ควรทำต่ออริยสัจแต่ละข้อ ซึ่งกิจเหล่านั้นคือ ปริญญา ปหานะ สัจฉิกิริยา และ ภาวนา

ปริญญา การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ การกำหนดรู้นี้ หมายถึงรู้ว่าอะไรเป็นอะไรตามสภาวธรรม ไม่ใช่รู้ตามที่ใจอยากให้เป็น การรู้เท่าทันสภาวะที่เกิดในแต่ละขณะจิต

เนื่องจาก ผลของทุกข์ มีสองอย่างคือ ให้หลงใหล และ ให้ใคร่หาทางออก การกำหนดรู้นี้ จึงเป็นไปเพื่อที่จะหาทางออกหรือก็คือเพื่อที่จะละ เพื่อที่จะไม่เปิดโอกาสให้เกิดทุกข์อีก ไม่ใช่รู้เพื่อที่จะหลง หรือ จมอยู่ในความทุกข์ ดังนั้น การกำหนดรู้ จึงเป็นการกำหนดในลักษณะของความเป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง (โดยความไม่เที่ยง) ทุกขัง (โดยความเป็นทุกข์ คือ ต้องแปรปรวน ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้) และ อนัตตา (ไม่ใช่ตน ไม่เป็นไปตามใจปรารถนา)

Tiny_gre

ดังนั้น สิ่งที่เราควรกำหนดรู้ จึงมีมากมาย เช่น นาม, รูป, ผัสสะที่ยังมีอาสวะ มีอุปาทาน, เวทนา ๓, อาหาร ๔, อายตนะ ๑๐, อุปาทานขันธ์ ๕, โลกธรรม ๘ เป็นต้น (ดูรายละเอียดได้จากพระไตรปิฏกเล่ม ๑๑ - ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค)

ปหานะ การละ เป็นกิจในสมุทัย คือ ละเหตุปัจจัยต่างๆที่จะก่อให้เกิดทุกข์ ทุกข์นั้นเป็นผล สมุทัยเป็นเหตุ หากเราละเหตุทั้งหมดได้ ทุกข์ก็ไม่เกิด ซึ่งเหตุที่ควรละ ก็เช่น มานะ (ถือตนว่าเสมอเขา ต่ำกว่าเขา หรือ สูงกว่าเขา), กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภวตัณหา, นิวรณ์ ๕ (กามฉันทะ ความพอใจในกาม, พยาบาท ความคิดร้าย,ถีนมิทถะ ความหดหู่และเซื่องซึม, อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย) อัชโฌสานะ (ความหมกมุ่นฝังใจ) หรือ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) เป็นต้น

สัจฉิกิริยา การทำให้แจ้งหรือการบรรลุ เป็นกิจในนิโรธ

"หน้าที่ต่อนิโรธ คือ สัจฉิกิริยา แปลว่า ทำให้ประจักษ์แจ้ง คือทำให้ประจักษ์กับตัวเอง หรือบรรลุถึง สุข จึงเป็นภาวะที่เราควรมีเพิ่มขึ้นๆ"

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) มองธรรมถูกทาง มีสุขทุกที่ หน้า ๑๘

ภาวนา การเจริญ เป็นกิจในมรรค คือการปฏิบัติ การทำให้เกิดขึ้นและทำให้เจริญขึ้น ก็คือ เมื่อรู้ว่าเหตุ หรือ ปัญหาที่ทำให้เกิดทุกข์มีอะไรบ้าง ก็ปฏิบัติตนตามแนวทางคือมรรคมีองค์ ๘ อันประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ), สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ), สัมมาวาจา (เจรจาชอบ), สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) สัมมาอาชีวะ (ประกอบอาชีพชอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ), สัมมาสติ (ระลึกชอบ) และ สัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นชอบ) ซึ่งเป็นแนวทางที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงจนปัญหาหมด เมื่อหมดปัญหา ก็หมดทุกข์

Tiny_grb

๓.กตญาณ หยั่งรู้กิจที่เราได้ทำแล้วในอริยสัจ คือรู้ว่าหน้าที่ไหนเราได้ทำไปแล้วบ้าง

ดังเช่น หากเรานำอริยสัจจ์คือ ทุกข์ มาหมุนวนจนครบ ๓ อาการ จะเป็นได้ดังนี้เป็นต้น

ทุกข์

สัจจญาณ รู้ว่า ทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายใจ ความไม่สบายกาย ความคับแค้นใจ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ความไม่สมในสิ่งที่หวัง หรือกล่าวโดยย่อได้ว่า ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการ เป็นทุกข์

การรู้ที่เรียกว่า สัจจญาณ หรือ ญาณหยั่งรู้ คือ รู้อย่างรอบคอบ รู้ทั่ว (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) อธิบายไว้ในเชิงอรรถของหนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย หน้า ๘๕๔ ว่า มักแปลกันมาว่า กำหนดรู้ ท่านว่าอาจเข้าใจได้ยาก จึงพึงเรียกทับศัพท์ว่า พึงปริญญา หรือ ควรรู้เท่าทัน) เช่นคำว่า การพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ เรามักเล็งไปที่การพลัดพรากจากคนรักเป็นส่วนใหญ่ หากการพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักยังมีอีกมากมาย ซึ่งเราควรกำหนดรู้ให้รอบคอบ ให้ทั่วถึงทุกสภาวธรรม เช่น สายตาที่เคยมองเห็นอย่างแจ่มชัด ต่อมาก็พร่ามัวแล้วเกิดทุกข์ใจขึ้น อันหมายถึงว่าเราได้พลัดพรากจากสายตาที่ดีอันสิ่งที่รักมามีสายตาที่ไม่เป็นที่รัก ซึ่งก็คือ การพลัดพรากจากจักขุวิญญาณในลักษณะหนึ่ง มาประสบกับจักขุวิญญาณในลักษณะอีกลักษณะหนึ่ง เพราะการพลัดพรากจากจักขุวิญญาณอันเป็นที่รัก มาประสบกับจักขุวิญญาณอันไม่เป็นที่รักนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้น

Tiny_gra

หรือ เราคิดถึงภาพของลูกตอนที่ยังเป็นเด็กเล็กๆแล้วอิ่มเอมใจในความน่ารัก คิดอยากให้ลูกกลับไปเป็นเด็กอีก อยากให้ลูกดูน่ารักอย่างนั้นตลอดไป เมื่อเรายึดมั่นในความจำ (สัญญา) นั้น แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว การการพลัดพรากจากสัญญาอันเป็นที่รักจึงเป็นเหตุให้เกิดเป็นความทุกข์ขึ้นมา

หรือ เราทำงานในความรับผิดชอบอย่างเต็มศักยภาพ ได้ผลงานที่ดี จึงมีผู้สรรเสริญ ต่อมา ทำงานชิ้นใหม่ แม้จะเป็นงานที่เกิดจากความตั้งใจดี ความรับผิดชอบที่ดี ความพยายามที่เต็มที่ แต่กลับมีเสียงติฉินมาให้ได้ยินเป็นระยะ ก็เกิดความทุกข์ใจ อันหมายถึงการพลัดพรากจากเสียงสรรเสริญ ซึ่งเราเก็บไว้ในรูปของความจำ (สัญญา) เมื่อเสียงอันเป็นปัจจัยพลัดพรากจากไป เราก็ขาดสิ่งที่จะมาเป็นปัจจัยปรุงแต่ง (สังขาร) ให้เกิดเป็นความชอบใจ ไม่ชอบใจ ก็คือ เราพลัดพรากจากทั้งสัญญา และ สังขาร อันเป็นที่รัก เป็นต้น

กิจจญาณ คือ รู้ว่าเกิดความไม่สบายใจขึ้นแล้ว ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิดความทุกข์ใจนั้นขึ้นอีก ในระดับสมมติสัจจะ คือ รู้ว่าตนไม่มีหน้าที่ทุกข์ ไม่มีหน้าที่หลงใหลในทุกข์ แต่มีหน้าที่หาทางออกจากทุกข์ หรือก็คือ มีหน้าที่ต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์เพื่อแก้ไขเหตุนั้นๆให้ได้ ไม่ใช่มีหน้าที่ทนทุกข์ ส่วนในระดับปรมัตถ์สัจจะ ก็คือ รู้ว่าจริงๆแล้วไม่มีผู้ทุกข์ ไม่มีตัวตนของผู้ที่มีความทุกข์แต่อย่างใด ทุกข์เป็นเพียงเวทนาขันธ์ที่ปรากฏในขณะหนึ่งกับขันธ์ทั้ง ๕ ที่รวมกันจนเป็นรูปกายที่เคลื่อนไหวได้ คิดได้ รู้สึกได้นี้เท่านั้น ที่เกิดเวทนาคือทุกข์ขึ้นได้ ก็เพราะยึดถือมั่นในสิ่งต่างๆ

Tiny_gre

เช่น ยึดมั่นในหู (อายตนะภายใน) ยึดมั่นในเสียงที่มากระทบ (อายตนะภายนอก) ยึดมั่นในการรู้แจ้งทางอายตนะ (วิญญาณ) เมื่อ หู เสียง วิญญาณรู้แจ้งทางหู อันเป็นองค์ประกอบทั้งสามนั้นสมบูรณ์ ก็เกิดการกระทบ หรือ ผัสสะ ขึ้น เราจึงเทียบเคียงสิ่งที่รู้กับ สัญญา หรือ ความจำ เดิมได้ เมื่อจำได้ ก็รู้ว่าเป็นเรื่องของอะไร ก็เกิดเวทนาคือ ทุกข์ใจ หากเราเพียงกำหนดรู้ว่าเกิดเวทนาคือความทุกข์ขึ้น และรู้ว่าเวทนา ก็คือผลพวงที่ตามมาจากผัสสะเท่านั้น ไม่ยึดมั่นในเวทนา ไม่ปรุงแต่ง หรือ สังขาร ต่อ จนเกิดเป็นความไม่ชอบใจขึ้น (เรามักเข้าใจกันไปว่า ความชอบใจ ไม่ชอบใจ เป็นเวทนา อันที่จริง ความชอบหรือไม่ชอบนี้เป็นธรรมในหมวดสังขาร) อาการต่างๆตามสายปฏิจจสมุปบาทก็จะไม่เกิด จึงไม่มีอะไรนำไปสู่ความทุกข์ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงมีคำกล่าวว่า เมื่อกระทบ ก็สักแต่ว่ากระทบ ได้ เพราะเมื่อปรุงแต่งเป็นชอบหรือไม่ชอบแล้ว จะไม่สามารถหยุดอยู่แค่นั้นได้ แต่จะมีปฏิกิริยาตามมา เช่น เมื่อไม่ชอบก็ตอบโต้ เป็นต้น

และ แม้หากจะรู้แล้วว่าอาการที่นำไปสู่ทุกข์เกิดจากอะไร หากเรารู้ แต่ไม่คิดหาทางออก กลับ หลงใหล หรือ จมอยู่ในความทุกข์ ก็เท่ากับเราหล่อเลี้ยงทุกข์นั้นไว้ด้วยอาหาร ทำให้ทุกข์ ตั้งอยู่ได้ เพราะมีอาหาร ทุกข์จึงไม่ดับ

อาจกล่าวได้ว่า สิ่งที่ควรกำหนดรู้ มีทั้งที่สภาวธรรมที่เป็นภายนอก และ ที่เป็นภายใน ซึ่งก็คือขันธ์ของเราเอง

และเมื่อดู ก็อาจจะดูภายนอกก็ได้ จะดูภายในก็ได้ ดูภายนอกนั้นก็คือความประจวบและความพลัดพรากจากสิ่งทั้งหลายจากบุคคลทั้งหลายภายนอก ดูภายใน ก็คือดูความประจวบและคว

หมายเลขบันทึก: 496117เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2012 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท