บาลีเสริม๑-๓


ฐานกรณ์

 

 

ฐานของอักขระ   ฐานคือ ที่ตั้งที่เกิดของอักขระ  มี 6 คือ  กณฺโฐ คอ,  ตาลุ เพดาน,  มุทฺธา ศีรษะหรือปุ่มเหงือก, ทนฺโต ฟัน,  โอฏฺโฐ ริมฝีปาก,  นาสิกา จมูก   อักขระบางเหล่าเกิดในฐานเดียว บางเหล่าเกิดใน 2 ฐาน

อักขระที่เกิดในฐานเดียว

อา

กฺ

ขฺ

คฺ

ฆฺ

งฺ

หฺ

 

8 ตัวนี้เกิดที่คอ

เรียกว่า กณฺฐชา

อิ

อี

จฺ

ฉฺ

ชฺ

ฌฺ

ญฺ

ยฺ

 

8 ตัวนี้เกิดที่เพดาน   

เรียกว่า ตาลุชา

 

 

ฏฺ

ฐฺ

ฑฺ

ฒฺ

ณฺ

รฺ

ฬฺ

7 ตัวนี้เกิดที่ศีรษะ หรือปุ่มเหงือก

เรียกว่า มุทฺธชา

 

 

7 ตัวนี้เกิดที่ฟัน

เรียกว่า ทนฺตชา

อุ

อู

 

 

7 ตัวนี้เกิดที่ริมฝีปาก

เรียกว่า โอฏฺฐชา

ํ  (นิคคหิต)

 

 

 

 

 

เกิดในจมูก

เรียกว่า นาสิกฏฺฐานชา

 อักขระที่เกิดในสองฐาน

พยัญชนะที่สุดวรรค 5 ตัว คือ  งฺ  ญฺ  ณฺ  นฺ  มฺ  เกิดใน 2 ฐาน คือ ฐานเดิมของตนและจมูก เรียกว่า สกฏฺฐานนาสิกฏฺฐานชา
เอ    เกิดใน 2 ฐาน คือ คอและเพดาน    เรียกว่า  กณฺฐตาลุโช
โอ    เกิดใน 2 ฐาน คือ คอและริมฝีปาก    เรียกว่า  กณฺโฐฏฺฐโช
วฺ    เกิดใน 2 ฐาน คือ ฟันและริมฝีปาก    เรียกว่า  ทนฺโตฏฺฐโช
หฺ    ที่ประกอบด้วยพยัญชนะ 8 ตัว  คือ  ญฺ  ณฺ  นฺ  มฺ  ย  ลฺ  วฺ  ฬฺ  เกิดที่อก เรียกว่า อุรโช
ถ้าไม่ได้ประกอบ เกิดในคอ ตามฐานเดิมของตน (กณฺฐโช)

กรณ์ของอักขระ    กรณ์คือ เครื่องทำอักขระ มี 4 อย่างคือ 

  1. ชิวฺหามชฺฌํ ท่ามกลางลิ้น
  2. ชิวฺโหปคฺคํ ถัดปลายลิ้นเข้ามา
  3. ชิวฺหคฺคํ ปลายลิ้น
  4. สกฏฺฐานํ ฐานของตน

ท่ามกลางลิ้น    เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็น ตาลุชะ
ถัดปลายลิ้นเข้ามา    เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็น มุทธชะ
ปลายลิ้น    เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็น ทันตชะ    
ฐานของตน    เป็นกรณ์ของอักขระที่เหลือจากนี้ทั้งหมด คือ กณฺฐชา โอฏฺฐชา นาสิกฏฺฐานชา กับ วฺ และ เอ โอ

เสียงของอักขระ

โฆสะ   อโฆสะ

พยัญชนะที่มีเสียงก้อง เรียกว่า โฆสะ  ที่มีเสียงไม่ก้อง เรียกว่า อโฆสะ
พยัญชนะที่ 1 ที่ 2 ในวรรคทั้ง 5  คือ  กฺ ขฺ,  จฺ ฉฺ,  ฏฺ ฐฺ,  ตฺ ถฺ,  ปฺ ผฺ  และ สฺ   11 ตัวนี้เป็น อโฆสะ
พยัญชนะที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ในวรรคทั้ง 5  คือ  คฺ ฆฺ งฺ,  ฌฺ ชฺ ญฺ,  ฑฺ ฒฺ ณฺ,  ทฺ ธฺ นฺ,  พฺ ภฺ มฺ  และ ยฺ  รฺ  ลฺ  วฺ  หฺ  ฬฺ   21 ตัวนี้เป็น โฆสะ

นิคคหิต  นักปราชญ์ผู้รู้ศัพทศาสตร์ประสงค์เป็น โฆสะ   ส่วนนักปราชญ์ฝ่ายศาสนาประสงค์เป็น โฆสาโฆสวิมุตติ  พ้นจากโฆสะและอโฆสะเสียงนิคคหิตนี้ อ่านตามวิธีภาษาบาลี มีเสียงเหมือน ง สะกด   อ่านตามวิธีสันสกฤต มีเสียงเหมือน ม สะกด

สิถิล ธนิต

พยัญชนะที่ถูกฐานตัวเองหย่อน ๆ ชื่อ สิถิล
พยัญชนะที่ถูกฐานของตนหนัก บันลือเสียงดัง ชื่อ ธนิต

พยัญชนะที่ 1 ที่ 3  ในวรรคทั้ง 5  เป็น สิถิล
พยัญชนะที่ 2 ที่ 4  ในวรรคทั้ง 5  เป็น ธนิต
ในคัมภีร์กัจจายนเภทแสดงไว้ว่า พยัญชนะที่สุดวรรค 5 ตัว ก็เป็น สิถิล  แต่ในคัมภีร์อื่นไม่ได้กล่าวไว้
พยัญชนะอวรรค ไม่จัดเป็นสิถิล ธนิต

เสียงของพยัญชนะ

พยัญชนะที่เป็น สิถิลอโฆสะ    มีเสียงเบากว่า ทุกพยัญชนะ
พยัญชนะที่เป็น ธนิตอโฆสะ    มีเสียงหนักกว่า สิถิลอโฆสะ
พยัญชนะที่เป็น สิถิลโฆสะ    มีเสียงดังกว่า ธนิตอโฆสะ
พยัญชนะที่เป็น ธนิตโฆสะ    มีเสียงก้องกว่า สิถิลโฆสะ

พยัญชนะสังโยค

ในพยัญชนะวรรคทั้งหลาย

พยัญชนะที่ 1    ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 1 และที่ 2 ของตนได้  เช่น  อกฺก, ทกฺข, สจฺจ, วจฺฉ
พยัญชนะที่ 3    ซ้อนหน้าพยัญชนะที่ 3 และที่ 4 ของตนได้  เช่น  อคฺค, อชฺช, อชฺฌาสย
พยัญชนะที่ 5    ซ้อนหน้าพยัญชนะของตนได้ทั้ง 5 ตัว 
 (ยกเว้นแต่ตัว งฺ ซึ่งเป็นตัวสะกดอย่างเดียว  มิได้มีสำเนียงในภาษาบาลี  ซ้อนหน้าตัวเองไม่ได้  เช่น  ปงฺก, สงฺข, องฺค, สงฺฆ)
พยัญชนะอวรรค 3 ตัว คือ ยฺ  ลฺ  สฺ  ซ้อนหน้าตัวเองได้  เช่น  อยฺย, อลฺล, อสฺส

พยัญชนะ 4 ตัว คือ  ยฺ  รฺ  ลฺ  วฺ  ถ้าอยู่หลังพยัญชนะอื่น ออกเสียงผสมกับพยัญชนะตัวหน้า  เช่น  ทฺวารานิ ภทฺรานิ

สฺ  มีสำเนียงเป็น อุสุมะ ไม่มีคำเทียบในภาษาของเรา

หฺ    ถ้าอยู่หน้าพยัญชนะอื่น ก็ทำให้สระที่อยู่ข้างหน้าตน ออกเสียงมีลมมากขึ้น เหมือนคำว่า พฺรหฺม  ถ้ามีพยัญชนะ 8 ตัว คือ ญฺ  ณฺ  นฺ  มฺ  ยฺ  ลฺ  วฺ  ฬฺ  นำหน้า หฺ  ก็มีสำเนียงเข้าผสมกับพยัญชนะนั้น  เช่น  มุฬฺโห เป็นต้น

พยัญชนะที่เป็น อัฑฒสระ  คือ  ยฺ  รฺ  ลฺ  วฺ  สฺ  หฺ  ฬฺ   7 ตัวนี้มีเสียงกึ่งสระ คือ กึ่งมาตรา  เพราะพยัญชนะเหล่านี้ บางตัวก็รวมลงในสระเดียวกันกับพยัญชนะอื่น ออกเสียงพร้อมกันได้   บางตัวแม้เป็นตัวสะกด ก็คงออกเสียงได้หน่อยหนึ่ง พอให้รู้ได้ว่าตัวนั้นสะกด

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #มหาจุฬาฯ
หมายเลขบันทึก: 494888เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กราบสมัสการพระคุณเจ้า โยมหมูจ๋ามาหาความรู้เพิ่มเติมได้เยอะเลยค่ะท่านฯ ขอบพระคุณสำหรับความรู้ที่ละเอียดลึกมากๆ โยมฯชอบศึกษาค่ะท่านฯ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท