ประเด็นหรือปัญหาที่ปรากฏอยูในวงการการศึกษาไทย


ความเข้มแข็งทางการศึกษา

การฟังบรรยายในหัวข้อที่ 4 จาก ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์
ห้อง 5309 คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

         เริ่มต้นศตวรรษใหม่ 1999 พวกคอเคซอร์เป็นพวกเริ่มนับ ทางตะวันตก มีนักอนาคตศาสตร์ ที่ชอบหยิบยกเหตุการณ์มาเกี่ยวพันกับเวลา อาจแตกต่างกับกลุ่มตะวันออก บังเอิญในศตวรรษที่ 20 คือวิวัฒนการของ IT เหตุการณ์ที่ใหญ่ รวดเร็ว มันจะกระทบต่อการศึกษา การเปล่ยนที่รวดเร็วเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างระเทศ วิธีการที่จะพาชาติรอดพ้นได้ คือการสร้างระบบการศึกษา คือเตรียมคนให้พร้อม จึงเกิดสังคมแห่งความรู้ เช่น งานอุตสหกรรม ต้องอาศัยความรู้มาก Knowledge Society  แต่บ้านเราเริ่มช้ามาก ลองดูเกาหลี เราได้กลิ่น ได้สี ได้รูปแบบของเกาหลีเต็มไปหมด นั่นคือความสำคัญของเกาหลีที่เตรียมคนให้พร้อม ต้องสร้างคนให้อยู่ได้ และมีความก้าวหน้า คทอต้องมีภูมิคุ้มกันและภูมิแข่งขัน ภูมิคุ้มกันไม่ให้ตกเป็นทาสของสิ่งที่ละเมอเพ้อพก และสามารถแข่งขันได้
         มาดูรายงานการศึกษา สรุปผลรายงาน 9 ปี การศึกษาและรายงานความก้าวหน้าการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สภาวะการศึกษาไทย ทุกชาติต่างให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะเปนตัวช่วยให้ยกระดับคุณภาพการศึกษา ปะเทศไทยก็เช่นกัน เริ่มใช้ระบบการศึกษา ที่เรียกว่าปฏิรูป คือเปลี่ยนทั้งระบบ ต่างจากการการพัฒนาสิ่งใหม่ๆขึ้นมา เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา แบบ even ที่เราทำบ่อยๆ 
        เราในฐานะการเตรียมความพร้อมสู่ Scholar  ต้องพิจารณาว่า Authority ท่านใดบ้างที่กล่าวอย่างไรบ้าง มันมี 2 ประเด็น คือคุณภาพ ที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่รับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ต้องเปลี่ยนแบบ Over all อาจารย์แอบถามว่า คนจบ ป.เอกหัวใจอยู่ตรงไหน โดยปกติจะมี Academic Achievement แต่มันไม่พอนะ ในหลักสูตรจึงต้องมีความใหม่ในความสามารถต่างๆ เช่น การรู้เทคโนโลยี การใช้ภาษาอังกฤษ เรากำลังเข้าสู่โลกไร้พรมแดน สิ่งที่เรารู้ต้องกว้างเท่าๆกับคนอื่น รู้เท่าเทียมกัน เราถึงจะต้องสู้ได้ เราไม่ได้แข่งขันกันเอง แต่กำลังแข่งกับชาวต่างชาติแล้ว เช่น ญวน เวียดนาม เค้านำเราไปแล้ว นั่นคือคุณภาพระดับใหม่ มาตรฐานสากล เป็น World Standard, World Quality และต้องเสมอภาคด้วย เสมอภาคคือ การศึกษาไม่ว่าอยู่ที่ไหนต้องได้รับมาตรฐานแบบนี้ด้วย ไม่ว่าจะต้องใช้เวลาเท่าไร แต่เราต้องทำให้ได้ เวลาพูดถึงการปฎิรูปคือการพูดถึงความฝันของประเทศชาติ ที่จะต้องอยู่รอด จะต้องพัฒนา เราเป็นฝ่ายบุ๊น เราต้องพัฒนา ต้องพัฒนาอย่างทั่วถึง ทำให้คนมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม นี่คือภารกิจของระบบการศึกษา มันจึงไม่ใช่แค่การทำให้โรงเรียนหนึ่ง ระบบหนึ่งสูงขึ้น แต่มันคือความเสมอภาค

        "การจะทำให้โรงเรียนเป็นโรงเรียนชั้นดี เราต้องพัฒนาโดยการขับเคลื่อน ออกแบบวางแผน ให้เป็นไปตามปรานารถ บางที่อาจใช้เวลาไม่เท่าไร บางที่อาจจะ 10 ปี หรือ 30 ปี ความมุ่งหมายของการปฏิรูปคือ การผลิตเด็กให้ได้มาตรฐานเท่ากัน

        แม้มันอาจจะเป็นไปไม่ได้ แต่อย่าลืมว่า เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เช่น พี่หนูดี วนิษา กล่าวไว้ว่า "all student can learn" (ว้าวๆๆ อาจารย์พูดถึงพี่หนูดีด้วย)

      ย้อนกลับมาถึงการวิจัย ที่บอกว่า Strong Instruction Leadership, High expective, Focus Learning นี่คืออยู่ที่คนทั้งนั้น คนนั้นคือครูด้วยนะ

       บางทีเราต้องกลับมามองเรานะ เราเป็นครู เรามองเห็นว่าเด็กไม่ฉลาด เด็กฉลาด  ความผิดพลาดคือ การมองว่าเด็กไม่ฉลาด ไม่ว่ายังไงก็พัมนาไม่ได้ นี่คือข้อผิดพลาดที่รุนแรงที่สุด นี่เป็นเหตุผลนี่ทำให้ประเทศอังกฤษและอเมริกา ให้ความสำคัญของการวิจัย รูปแบบของโรงเรียนที่ดี โรงเรียนที่ดีมีระเบียบ วินัยที่เข้มงวดมาก เพราะเชื่อว่าเด็กทุกคนเรียนได้ มีความคาดหวังสูง 


       การเสมอภาคในการบริหารจัดการ

       เด็กที่มีข้อจำกัดด้านทรัพสินย์ต้องให้เค้าได้เข้าเรียนเหมือนคนอื่นๆ   ชาติที่จะดูแลตัวเองได้ ทุกมีคนที่เรียนปริญญาไม่ต่ำกว่า 50% 
       การเรียนมหาวิทยาลัยในบางคอร์ส ต้องผ่านบางคอร์สมาก่อน เพราะมหาวิทลัย คือ Extends High School  
       ตอนนี้สถาบันการเงินถูกต่างชาติครอบครอง 
       มีบัณฑิต แต่บัณฑิตตกงาน
       

        "นี่คือความจำเป็นของการปฎิรูป"
  
        การปฏิรูปแยกส่วนไม่ได้ มันเหมือนการตำน้ำพริกกะปิ ทุกคนตำได้ แต่มีบางคนที่ตำอร่อย การศึกษาก็เหมือนกัน เราปฏิรูปการเรียนรู้ ที่เรารู้ว่าการเรียนรู้ มันเกี่ยวกับการบริหาร เกี่ยวกับครู ความรู้ของครู (subject matter)
        อาจารย์มอง การชกมวย การสร้างนักมวยโลกไม่ต้องใช้ Coach ที่เคยป็นนักมวยโลก ก็สามารถสร้างนักมวยโลกได้

        สภาการศึกษาบอกเราเลยว่าการศึกษาเรายังอ่อน เราสู้ไม่ได้ โดเฉพาะวิชา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดและภาษาไทยด้วย 




     คุณภาพต่ำเพราะอะไร 
     ระบบการถ่ายทอดความรู้และครูผู้สอนมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน พระตามแนวพุทธ ท่านสอนคือ "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" นี่ถูกนะ แต่คนเราเถียงเพราะบางที ทำดีไม่ถูกดี ทำดีไม่พอดี ทำดีไม่ถูกเวลา การปฏิรูปการสอนต้องเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง ทำไมครูเปลี่ยนได้ไม่นาน "ระบบการสึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจริงๆมันคืออะไร" ทั้งระบบต้องเป็น Leaner Center  เรามักปฏิรูปกันแต่ปาก เพราะเห็นว่ามันดี มัน In Train แต่พอมีคนออกมาทักท้วง เราไม่สามารถ Defense วิธีการน้ันได้ เพราะเราไม่เชื่อในสิ่งที่เราจะใช้ 

    มันมีงานวิจัยอะไรบ้างที่บอกคุณภาพของเราด้านการศึกษาในตอนนี้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น 
 

   มันเป็นเรื่องที่เราต้องคิดต่อ




        

หมายเลขบันทึก: 494411เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มกราคม 2014 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท