วิธีการอ่านประวัติพระสมเด็จ จากผิวเนื้อพระ


ในความเป็นจริงนั้น ยากที่จะหาพระที่สมบูรณ์หมดทุกด้าน ได้อย่างก็เสียอย่าง จึงทำให้อ่านประวัติต่างๆ ได้จากตำหนิต่างๆบนผิวพระ

จากความพยายามที่จะหาจุดสำคัญต่างมาชี้ให้ผู้สนใจเรื่องพระสมเด็จได้เรียนรู้ร่วมกัน

ผมได้ใช้เวลาทบทวนพระสมเด็จที่ผมมีอยู่บ้าง โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆังที่มีมากหน่อย

  • ว่ามีอะไรที่ดูได้โดยง่าย หรือ
  • มีความแตกต่างกันอย่างไร ในความเหมือน และ
  • มีความเหมือนกันอย่างไรในความแตกต่าง
  • แบบทบทวนย้อนกลับไปมาหลายรอบ

ทำให้ผมพบความแตกต่างของเนื้อและความสมบูรณ์ของผิวมากพอสมควร

ตั้งแต่ผิวสมบูรณ์หน้าหลัง ไปจนถึงกร่อนหน้าหลัง

แต่การกร่อนส่วนใหญ่จะเกิดที่ด้านหลัง

ที่คาดว่ามาจากการวางไว้บนพื้นผิวที่มีการเลื่อนไปมาบ่อย จนผิวปูนด้านหลังสึกกร่อน

การกร่อนด้านหน้านั้นน่าจะมาจากการเลี่ยมเปิดหน้าพระไว้ จึงมีการสัมผัสบ่อยจนกร่อน

สำหรับด้านข้างนั้นยิ่งน่าสนใจมาก เพราะมักจะไม่กร่อน

แต่จะมีสองลักษณะใหญ่ๆ คือ มีรอยกรอบ และไม่มีรอยกรอบ

พระที่เคยใส่ตลับจะมีแนวการงอกของผิวไปชนขอบหรือฟองน้ำรองพระ เป็นแนวตรง

พระที่เคยใส่กรอบมานาน ผิวจะเป็นแนวตรง

พระที่ถอดๆใส่ๆ จะมีการงอกของขอบบางส่วน

พระที่ไม่เคยใส่กรอบ ผิวจะงอกแบบนี้

พระผิวหลังสึกกร่อนมาก

พระผิวหลังกร่อนพอสมควร แบบแท้ดูง่ายไปเลย

แต่พระที่วางไว้บนหิ้ง หรือใส่ถาดไว้แบบไม่ใส่กรอบ จะมีผิวงอกปูดเกินออกมาแบบย่นๆตลอดแนว

ส่วนคราบฝุ่นต่างๆ ที่นิยมโชว์กันว่าเป็นพระผิวเดิมๆนั้น มักจะมาจากการวางไว้ในที่โล่งแจ้งแบบนิ่งๆนานๆ จนเกิดเนื้องอกและฝุ่นเกาะ กลายเป็นพระผิว "เก่าเดิมๆ" ยอดนิยมไป

นอกนั้นก็จะมีพระล้างเอาคราบต่างๆออก ไม่ว่าจะเป็นคราบเหงื่อไคล คราบฝุ่นต่างๆ ที่จะทำให้ผิวพระดูสะอาด ไปใกล้เคียงกับพระที่ใส่ตลับรักษาผิวหน้าหลังไว้

แต่พระที่ใส่ตลับนั้น ข้างก็จะไม่เป็นธรรมชาติ มีรอยกดทับบนผิวขอบทั้งสี่ด้าน

ดังนั้นในความเป็นจริง จึงยากที่จะหาพระที่สมบูรณ์หมดทุกด้าน ได้อย่างก็เสียอย่างครับ

จึงทำให้อ่านประวัติต่างๆ ได้จากตำหนิต่างๆบนผิวพระ

ได้แบบไหน เสียแบบไหน ก็แล้วแต่ชอบครับ

ผมเลือกใส่ตลับไว้ก่อน อย่างไรก็เสี่ยงน้อย และเสียน้อยที่สุดครับ

 

หมายเลขบันทึก: 494384เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2012 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์ครับภาพหายไปไหนอ่ะครับ ไม่เห็นเลยงงเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท