โรครากเน่าโคนเน่า รักษาได้ด้วยการใช้จุลินทรีย์


ครัน เนื่องด้วยเป็นการรักษาโรคแบบเฉพาะหน้าแก้กันที่ปลายเหตุเพียงอย่างเดียว ไม่มีการวางแผนแก้ไขในระยะยาว เมื่อใช้สารเคมีกำจัดแบบเดิมไปเรื่อยๆซ้ำซากจึงเกิดการดื้อยารักษาไม่หาย

ปัญหาเรื่องรากเน่าโคนเน่าที่เกิดในผลไม้ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลางสาด ลองกอง ส้ม มะนาว นับเป็นปัญหาคลาสสิคมากที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะเคยผ่านการใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรามาหลากหลายยี่ห้อแล้วก็ตาม แต่ไม่สามารถที่จะทำให้โรคต่างๆเหล่านี้หมดสิ้นไปจากสวนไม้ผลของเกษตรกรได้ ยังคงรบกวนสร้างปัญหาไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรยุคเก่า ยุคใหม่ต่างยังต้องพบเจอโรคหรือปัญหานี้กันอย่างครบครัน เนื่องด้วยเป็นการรักษาโรคแบบเฉพาะหน้าแก้กันที่ปลายเหตุเพียงอย่างเดียว ไม่มีการวางแผนแก้ไขในระยะยาว เมื่อใช้สารเคมีกำจัดแบบเดิมไปเรื่อยๆซ้ำซากจึงเกิดการดื้อยารักษาไม่หาย

โรครากเน่าโคนเน่าที่สาเหตุส่วนใหญ่เกิดมาจากเชื้อราฟัยท็อพธอร่า (phytophthora) จะระบาดได้ง่ายและชัดเจนสุดๆคือระยะที่มีฝนตกชุก รากถูกน้ำท่วมขัง ขาดอากาศ สภาพต้นโดยรวมอ่อนแอ ง่ายต่อการถูกโจมตีเข้าทำลายของโรคและแมลง หลังจากน้ำท่วมจึงมีเชี่ยวชาญจากหลายๆ ฝ่ายออกมาให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในเรื่องการเข้าไปเหยียบย่ำใต้ทรงพุ่มโคนต้นเพราะจะยิ่งเป็นการทับถมซ้ำเติมให้พืชผลเหล่านั้นกระทบกระเทือนรากเกิดบาดแผลฉีกขาดง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อราโรคพืชโดยเฉพาะโรครากเน่าโคนเน่า

เนื่องด้วยเรายังคงปลูกพืชเชิงเดี่ยวเป็นหลักจึงทำให้ไม่สามารถที่จะหลีกหนีโรคภัยต่างๆ เหล่านี้ไปได้อย่างแน่นอน วิธีการป้องกันรักษาทำง่ายๆด้วยการใช้เชื้อ ไตรโคเดอร์ม่า หนึ่งกิโลกรัม ไปทำการหมักขยายกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกหรือรำละเอียด 50 กิโลกรัม ขั้นตอนการทำให้ ใช้ ไตรโคเดอร์ม่า 1 กิโลกรัมคลุกกับปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเพียง 10  กิโลกรัมก่อน ทำการคลุกผสมให้เข้ากันแล้วจึงนำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกที่เหลือเติมเข้าไปคลุกเคล้าให้เข้ากันครั้งที่สองพรมน้ำพอชื้นหมักทิ้งไว้ หนึ่งหรือสองคืนแล้วจึงนำไปใส่รอบทรงพุ่มต้นละประมาณ 1 กิโลกรัม ถ้าทำแบบนี้ตั้งแต่เริ่มปลูกโดยใส่สักเดือนหรือสองเดือนครั้งจะเป็นการสร้างจุลินทรีย์ดีมีประโยชน์ให้เป็นจุลินทรีย์เจ้าถิ่นคุ้มครองแปลงผักเรือกสวนไร่นา มิให้มีจุลินทรีย์ตัวร้ายเข้ามาอาศัยขยายพันธุ์ลดการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าได้แบบระยะยาว

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 494122เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กรกฎาคม 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท