บทเรียนการเข้าร่วมเครือข่ายทันต-เภสัชบุคลากร ในการทำงานระบบสุขภาพชุมชน


บรรยากาศไว้วางใจ เปิดใจพูดคุยกัน เอื้อให้การพูดคุยระดมสมอง ร่วมติดตาม พัฒนากิจกรรมของชุมชนเป็นไปด้วยดี

บทเรียนการเข้าร่วมเครือข่ายทันต-เภสัชบุคลากร  ในการทำงานระบบสุขภาพชุมชน

 

ทพญ.ธิรัมภา  ลุพรหมมา  [email protected]

GotoKnow : Aorrumpa  อำเภอสระใคร  จังหวัดหนองคาย

 

๑.      สายสัมพันธ์พี่น้องจากมหาวิทยาลัย  การทำงานรู้จักกันในสายงาน  พื้นที่ใกล้ชิด  สนิทรู้ใจกันมากขึ้น 

 

ร่วมสุข  ผ่านทุกข์ร้อนหนาว  การทำงานภาคปฏิบัติการในชุมชน  เขียนผล  วิเคราะห์  สรุปงานวิจัยโครงการการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก  โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  โครงการเครือข่ายทันตแพทย์ผู้นำสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก 

 

เป็นสิ่งเชื่อมโยงให้นำเข้าสู่การทำงานพัฒนาเครือข่ายทันต-เภสัชบุคลากร  ในการทำงานระบบสุขภาพชุมชน

 

๒.       แม้มีความต่างด้านวิชาชีพ  ลักษณะงาน  ความรับผิดชอบ  แต่ความเป็นเพื่อนพี่น้องที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน คือ ระบบสุขภาพชุมชน  เข้าใจถึงสุขภาวะของผู้คนที่เราทำงานด้วยในอำเภอ   มีความเกี่ยวโยงซับซ้อนของปัจจัยมากมายหลายชั้น 

 

ผลการผสานพลัง (Synergy) ของทีมพัฒนาสุขภาวะจากรากฐานของชุมชน  อำเภอสระใคร  เกิดจากการมีผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีความมุ่งมั่น  กัดไม่ปล่อย  สนใจใคร่รู้พัฒนาตนเองไม่อยู่นิ่ง  พร้อมที่จะประสาน  บูรณาการ  ผลักดัน  สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาสุขภาวะ  โดยใช้ศักยภาพของชุมชนเป็นฐาน  ในสถานการณ์และบริบทที่เป็นไปได้ 

 

โดยผู้ก่อการดี  ๓  วิชาชีพ  ทันตแพทย์  พยาบาล  เภสัชกร  ก่อนจะพูดคุย  ให้ข้อมูล  ชักชวนผู้ที่มีความสนใจร่วมมาทำงานด้วยกัน

 

๓.       การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การวินิจฉัยชุมชน  เพื่อการทำงานส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู  วันที่  ๙ – ๑๑  มีนาคม ๒๕๕๔ 

 

ทำให้ผู้ก่อการดีอำเภอสระใครเข้าใจเป้าหมายการทำงานของเครือข่าย  วัตถุประสงค์ของแผนงาน/โครงการ 

 

นำไปออกแบบเขียนโครงการเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งจากรากฐานของชุมชน  อำเภอสระใคร  จังหวัดหนองคาย  ปี ๒๕๕๔  งบประมาณสนับสนุนจาก CUP อำเภอสระใคร 

 

ใช้การทำงานผ่านโครงการ  ในการสร้างทีมพี่เลี้ยงพัฒนาชุมชน  ซึ่งประกอบด้วย  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  นักพัฒนาชุมชน  ครู  เจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบล  ร่วมกับแกนนำชุมชนทั้ง  ๔  ชุมชน กระจายใน  ๓  ตำบลของอำเภอสระใคร  และ  ๔  หน่วยบริการปฐมภูมิ 

 

จึงได้ผลการศึกษาชุมชนแบบมีส่วนร่วม  มองเห็นความเชื่อมโยงของทรัพยากร  วิเคราะห์ศักยภาพและแนวโน้มการพัฒนาชุมชน  ที่แกนนำชุมชนผู้เข้าร่วมศึกษาดำเนินการเองทุกขั้นตอน 

 

๔.      การร่วมลงมือศึกษาชุมชนแบบมีส่วนร่วม  และปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นเวลานาน  ช่วยให้เข้าใจ  เข้าถึงผู้คนในชุมชนที่ตนทำงานด้วยอย่างลึกซึ้ง 

 

เมื่อมีโอกาสไปถ่ายทอดเป็นวิทยากรร่วมกับ ทพญ.วรางคณา  อินทโลหิต  อ.โกวิท  พรหมวิหารสัจจา  อ.ภาสกร  โดยโครงการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย  เพื่อเผยแพร่แนวคิด  ปรับกระบวนทัศน์ในการทำงานระบบสุขภาพชุมชน  แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและแกนนำชุมชน  ของอำเภออื่น ๆ  จังหวัดหนองคาย 

 

ทำให้ทีมพี่เลี้ยงพัฒนาชุมชนอำเภอสระใครเพิ่มพูนประสบการณ์การวิเคราะห์ชุมชนอื่น ๆ ที่แตกต่างจากพื้นที่ที่ทำงานตามปกติ

 

๕.      ในปีที่สองต่อเนื่อง  คณะกรรมการบริหาร CUP อำเภอสระใครยังสนับสนุนงบประมาณดำเนินโครงการพัฒนาสุขภาวะจากรากฐานของชุมชน  ปี ๒๕๕๕  จำนวน  ๑๐๐,๐๐๐  บาท 

 

ภาวะผู้นำของหัวหน้าทีมหน่วยบริการปฐมภูมิ  การทำงานเป็นทีมของหน่วยบริการปฐมภูมิ  การมีส่วนร่วมใกล้ชิดระหว่างทีมพี่เลี้ยงด้วยกันของแต่ละพื้นที่  การประสานงานและสนับสนุนของทีมผู้ก่อการดี  ๓  คนแรก (ทันตแพทย์  พยาบาล  เภสัชกร) 

 

เป็นปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ของแกนนำทีมชุมชน  ในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนตนเอง  ตามที่ตกลงคัดเลือกกันเองในเวทีเสวนาของชุมชน  (“วงโสเหล่”) 

ความก้าวหน้ากิจกรรมพัฒนาชุมชน  ดังตารางที่ ๑

 

หมู่บ้าน / หน่วยปฐมภูมิ

กิจกรรม

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

๑.  บ้านพลายงาม /

     รพ.สต.คอกช้าง

๑.  รณรงค์ทำความสะอาด

๒.  อบรมเกษตรปลอดภัย

๓.  ตรวจเลือดเกษตรกร

๔.  ทำนา / เกษตรปลอดภัย

ทุก  ๒  เดือน

กพ. ๕๕

มีค. ๕๕

พค. ๕๕ ต่อเนื่อง

ทีมชุมชน / ประเมินผล*

พี่เลี้ยงเกษตร

ทีมพี่เลี้ยงสาธารณสุข

ทีมชุมชน

 

๒.  บ้านไชยา /

     PCU รพ.สระใคร

๑.  รณรงค์ทำความสะอาด

๒.  สำรวจและทำลายแหล่ง

     เพาะพันธุ์ยุง

๓.  เสวนาติดตาม  ประเมินผล

ทุกเดือน

ทุกสัปดาห์

 

ทุกเดือน

ทีมชุมชน / ประเมินผล*

ทีมชุมชน / ทีมพี่เลี้ยง PCU

 ทีมชุมชน

 

๓.  บ้านหนองบัวเงิน /

     รพ.สต.สระใคร

๑.  รณรงค์ลดความเร็วพาหนะ

     เมื่อขับขี่ในถนนกลางหมู่บ้าน

๒.  ขุดลอกร่องระบายน้ำท่วมขัง

กพ. ๕๕  ต่อเนื่อง

 

พค. ๕๕  ต่อเนื่อง

ทีมชุมชน

 

ทีมชุมชน

 

๔.  บ้านหมากหุ่ง /

     รพ.สต.บ้านฝาง

๑.  การกินอาหารเพื่อสุขภาพ

๒.  ให้ความรู้หลักโภชนาการ

มีค. ๕๕

ยังไม่ดำเนินการ

ทีมชุมชน

ทีมพี่เลี้ยง

 

ประเมินผล*  หมายถึง  ทีมประเมินผลซึ่งเป็นสมาชิกของชุมชนนั้น

 

 

๖.      ต้นทุนศักยภาพการดำเนินการสนทนา  การพูดต่อหน้าชุมชน  การฟัง  การจับประเด็น  การจดบันทึก  การสรุปการพูดคุยคราวที่แล้วของผู้นำชุมชน  การแบ่งหน้าที่ของแกนนำชุมชน  มีผลต่อความถี่ในการจัดประชุมชาวบ้านของผู้นำชุมชน 

 

หมู่บ้านที่จัดประชุมถี่กว่าจะมีความก้าวหน้าของกิจกรรมพัฒนาชุมชนมากกว่า 

 

๗.       หมู่บ้านที่ทีมแกนนำชุมชนมีความสัมพันธ์อันดี  มีส่วนร่วมดำเนินงานด้านสุขภาพดีมาก่อนกับทีมหน่วยบริการปฐมภูมิ 

 

การประสานนัดหมาย  การสนทนาจะราบรื่น  มีบรรยากาศไว้วางใจ  เปิดใจพูดคุยกัน  เอื้อให้การพูดคุยระดมสมอง  ร่วมติดตาม  พัฒนากิจกรรมของชุมชนเป็นไปด้วยดี

  

๘.      ทีมพี่เลี้ยงเองต้องการการพัฒนาสมรรถนะตนเองเสมอ  ในการนำความรู้ใหม่ ๆ มาบูรณาการร่วมกับการทำงานระบบสุขภาพชุมชน เช่น ประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งาน R2R กับเพื่อนต่างอำเภอ 

 

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในเครือข่ายต่างจังหวัด  ที่ทำงานโดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน (Community-based)  ในการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน  ในการพัฒนาชุมชนด้านต่าง ๆ   การพัฒนาในระบบสุขภาพชุมชน   

 

การวางตัวเป็นกลาง  การจัดการความขัดแย้งในชุมชน  เป็นต้น

 

*******************************

 

หมายเลขบันทึก: 493218เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2012 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาชม มาเชียร์ คุณพี่หมอฟัน ด้วยคิดถึงนำเด้อค่า :)

โดยผู้ก่อการดี ๓ วิชาชีพ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ก่อนจะพูดคุย

สวัสดีท่านทหารพรานหญิง....ที่พัทลุงก็ตั้งวง "ชวนคุย ร่วมคิด ค้นทุน"ของชมรมเพื่อมาสนับสนุน สุขภาพช่องปาก ในโครงการ หนึ่งอำเภอ หนึ่งชมรมสุขภาพช่องปากดี

ขอบคุณค่ะคุณน้อง

Blank

หายไปไหน นานสองนานคะ

สวัสดียามเย็นค่ะท่านลุง

Blank

ตั้งวงชวนคิด  ชวนคุย  ด้วยทุนตนเอง....พัฒนาชุมชนตนเอง คือ กุญแจสู่ความยั่งยืน

อ่ะ...มาแนวเดียวกันได้นะคะท่านลุง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท