"ดุซงญอ" ..เรียนรู้วีถี..ตามที่ประสบ.


..พื้นที่แห่งนี้ยังคงมีเสน่ห์..ต้อนรับแขกผู้มาเยือน มีมิตรภาพที่อบอุ่นอย่างทีี่่่่เป็นวิถีดั้งเดิมของพี่น้องที่นี่ วิถีชีวิตชนบทแบบสบายๆ ช่วยเหลือเอื้ออาทร ธรรมชาติก็แสนจะเชิญชวน..ทำไมหล่ะ?? อะไรหล่ะ??...เมื่อไหร่สันติสุขจะกลับมาดั่งเดิม.

"ดุซงญอ".. เรียนรู้วีถี..ตามที่ประสบ..


เมื่อศิษย์แวะมาเยี่ยมและเชิญไปร่วมงานแต่งงานตามพิธีทางอิสลามที่จัดขึ้นที่บ้าน ...วันพิเศษของ “ศิษย์และเจ้าบ่าว” ..ที่จะร่วมชีวิตครองคู่กัน..ทำให้ "ครูพื้นที่" หวนนึกถึงวันที่ศิษย์ เข้ามาอยู่ในความดูแล สารทุกข์-สุข ขณะทำิวิจัย ป. ตรี.. อืมม์.. "ลูกสาว" ของเราก็โต และมีวิจารณญาณที่จะสร้างครอบครัวใหม่ อันเป็นพื้นฐานที่ดีของสังคมต่อไป.. เพื่อแสดงความยินดี มีความภูมิใจ  และใช้โอกาส ไปเยี่ยมเยือนถึงบ้าน รู้จักครอบครัวและเรียนรู้การเตรียมงานแต่งงาน .. เรียนรู้วิถี..ตามที่เห็น....


มาแกปูโล๊ะ “..ภาษามลายูถิ่น.. มาแก-กิน, ปูโล๊ะ-ข้าวเหนียว  การกินเหนียว/งานแต่งงาน  โดยมีพิธีนิก๊ะห์ (แต่งงานตามพิธีของศาสนาอิสลาม) ...ครั้งนี้ อาจารย์และเพื่อน  เรา 3 คนร่วมเดินทางโดยกำหนดเป้าหมายที่  บ้านลูโบ๊ะ  อ.ระแงะ จ.นราธิวาส  แผนที่แจกไว้ในซอง เราเตรียมพร้อม เสาร์เช้า (7:30 น.) ออกจากนิวาสถาน รูสะมิแล..เติมน้ำมันรถเต็มถัง...กะเผื่อหลงทางด้วย..:-))  เช้านั้นเราเลือกเส้นทางจากปัตตานีไปนราธิวาสโดยแวะแยกออกไปผ่าน อ. ยี่งอ  อ.ตันหยงมัส  ผ่านบ้านดุซงญอ  และอีกหลายๆหมู่บ้าน.. ปลายทางที่ อ.ระแงะ..  ขับรถผ่านด่านตรวจจนเลิกนับว่ามีเท่าไหร่ :-(( มีหลายหน่วย/ชุดที่ปฏิบัติการ ตามชื่อที่ระบุไว้ มีทั้งทหารเรือ (นาวิกโยธิน) ทหารพราน ทหารบก ฯลฯ..ที่ร่วมดูแลพี่น้องในพื้นที่..ขอขอบคุณ ;-)

 

     ..น้ำใจผู้คน บนถนนสายเปลี่ยว..  อุ่นใจไม่น้อยกับมิตรภาพที่ได้รับ ...ลองตามไปกับเรา..กว่าจะถึงบ้านว่าที่เจ้าสาว...

        *ครั้งที่1.. พึงสังวร..ปฐมฤกษ์แห่งการสร้างมิตรภาพบนเส้นทาง เมื่อเลี้ยวเข้าวงเีวียนยี่งอ  แยกไหนหล่ะ?? ลงไปถามทางพี่น้องในตลาด อ. ยี่งอ.  นาวิเกเตอร์กลับมาพร้อมรอยยิ้ม ..และบอกว่ามีทางเชื่อมข้างหน้า..เราขับไปเรื่อยๆจากตลาด อ. ยี่งอ มุ่งตรงไป อ. ตันหยงมัส  ซีโป .แหล่งลองกองหอมอร่อย มีชื่อ  ไปตามถนนสองเลน..สุดท้ายไปจนมุม ที่สถานีรถไฟ “ตันหยงมัส..แผนที่บอกไว้ให้ข้ามทางรถไฟ..ถามใคร??..ต้องลอง

        * ครั้งที่ 2 ..ตรงดิ่งไปหาหนุ่มมอเตอร์ไซค์ ..ผู้ใจดีชี้ทางให้...อ๋อ เข้าใจหล่ะ....แผนที่กับของจริงหน่ะ..ไม่ไปด้วยกัน เราขับรถเลยวงเวียนลองกอง  แผนที่ระบุว่าต้องเจอ "มัสยิดดูซงญอ"..อุ๊บ สายตาพลันเจอป้าย “ดุซงญอ 14 กม.”..ป้ายแสนจะเก่า มีคราบไคลเขียว..บ่งบอกอายุการใช้งาน..ตัดสินใจ  ไปตามทางนี้หล่ะ..


”ดุซงญอ.. 14 กม.”…เส้นนี้ที่เราเข้ามา...เสมือนว่า..ไม่เป็นเส้นทางการสัญจรของรถโดยสาร  เพราะไม่สังเกตเห็นรถประจำทาง หรือรถสองแถวอื่นใดผ่านไปสักคัน  ขับนานๆไปสักพัก ก็รู้สึกว่า เราจะเป็นเจ้าของถนน   มีเพียงรถเราคันเดียวเท่านั้น ครอบครองเส้นทางแสนเปลี่ยวเช่นนี้ .. ท่ามกลางความเขียวขจี ร่มรื่น โค้งน้อยใหญ่ วกวนไปมา  แมกไม้เห็นแล้วชื่นตา ดูน่าสบายใจ  บังเอิญ..ใครไปถูกปุ่มเครื่องเสียงในรถ..มี เสียงเพลงดังขี้นมา.... like a  bridge over trouble water…แหมช่างจะเข้ากับบรรยากาศ.. เลยร้องเพลงเสียงดังซะหน่อย... ให้สมกับกับแว่บความคิดว่า "troublesome" แล้วไหม๊ ?


"ดุซงญอ”..มีประวัติศาสตร์หน้าหลัก ที่ถูกกล่าวขานถึงไม่น้อยไปกว่ากรณี "กรือเซะ" เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ (จ. ปัตตานี) เมื่อไม่นานนี้  เพียงแต่..ดุซงญอ..(จ. นราธิวาส) เกิดขึ้นในยุคก่อนๆ (ราวๆปี 2491) เรียกกันว่า "กบฏดุซงญอ"..หลายคนอาจจะยังไม่เกิด รวมถึง"ครูพื้นที่" หากแต่ใครอยู่ในพื้นที่แถบนี้ คงจะได้รับทราบถึงเรื่องราวที่เป็นตำนานเล่าขานช้านานมา) ขณะที่ขับรถไป ก็คิดเงียบๆถึงประวัติศาสตร์สมัยนั้นที่เกิดขึ้นบริเวณ พื้นที่แห่งนี้ "ดุซงญอ" .. กาลเวลาหมุนเปลี่ยน ผ่านไปสมัยแล้วสมัยเล่า ความรู้สึกเก่าๆยังฝังลึก หวนนึกถึงสภาพปัญหาการเมืองการปกครองที่ไม่สอดคล้องต่อวิถีที่นี่ อืืมม์...ตื่นจากความคิดในภวังค์ ด้วยบังเอิญผ่านบ้านผู้คน …กำลังง่วนกับการกรีดยาง เก็บน้ำยาง ..ข้าขอสลาม..

        * ครั้งที่ 3...แวะถามพี่น้องมุสลิมบ้านริมทาง..บอกว่าใช่ ..ต่อไปเส้นนี้จะเจอ “มัสยิดดุซงญอ”  ขณะ ที่ฝ่ายนาวิเกเตอร์ (navigator) ลงไปถาม..ฝ่ายพลขับ ก็สังเกตดูว่า ผู้คนที่บ้านใกล้เคียง แอบเปิดม่าน แง้มหน้าต่าง มองมาที่เรา...คงให้กำลังใจ...นานๆจะมีรถเข้ามาสักคัน...ขับมาจนสุดปลายถนนเส้นนี้ 14 กม..  เราเห็นทางออกเป็นสามแยกด้านหน้า อ่านสัญลักษณ์ป้ายบอกทางว่า ซ้าย...อ. ระแงะ  และ อ. จะแนะ  ส่วนทางขวาไป  อ. ยี่งอ และ อ. รือเสาะ  เจ้า CRV รู้ใจเลือกไปทางที่ชี้ว่า  อ. ระแงะ...ขับผ่านด่านตรวจ ที่มีบังเกอร์/ขดลวด ป้องกันแน่นหนา มีป้ายไวนิล รวมรายชื่อและภาพผู้ต้องสงสัย (most wanted !! ) กรณีสถานการณ์ชายแดนใต้  ติดไว้เทียบเคียงขณะผ่านด่านตรวจ สร้างบรรยากาศความอึดอัด อึม ครึม  :-((  แ่ก่ผู้ใช้เส้นทางสัญจรไม่น้อย..แต่ทว่าดูราวกับจะเป็นหนึ่งในยุทธวิธีที่ใช้ป้องปรามของที่นี่



 

สุดท้ายแยกหน้า มีมัสยิดใหญ่.. ใช่..มัสยิดดุซงญอ ไหม๊ ?   ขับผ่านไปแล้วก็ไม่มีชื่อ....แต่เป็นมัสยิดที่สวยงาม  ด้วยเพราะตำแหน่งที่ตั้งทำให้ มัสยิด เด่นเป็นสง่า...ฤาที่นี่จะเป็นที่เกิดเหตุการณ์เมื่อครั้งประวัติศาสตร์ ?? สุนทรียที่เต็มเปี่ยมมาตลอดเส้นทาง ก็ยังมีเพิ่มขึ้น ยามเมื่อยลมัสยิดสวย มากด้วยสถาปัตยกรรม ประจำถิ่น......เราเลือกไปทางตรง  ไม่นานนักมีป้ายบอกว่า ไป อ. สุคีริน.. เอ..ใช่ป่าว?? ...สมองคิดเร็วรี่...

         *ครั้งที่ 4 ...อุ๊บ..โชคดี...แวะไปที่ร้านค้าชาวบ้านพูดมลายูถิ่นแต่เราจับได้ว่า  “มาแกปูโล๊ะ”…หมายถึง กินเหนียว ก็งานแต่งนั่นไง  แต่บอกว่า ..มาผิดทาง  เอ้า..ขับรถย้อนกลับไปเล็กน้อยในทางแยก ไม่มีป้ายบอกว่าไป อ. ระแงะ  จึงเลือกเส้นที่ระบุว่าไป อ.จะแนะ .. โอเค....จะแนะ  ก็..จะแนะ  ในใจก็ค้านว่า...ในมื่อเราจะไป.. อ. ระแงะ ทำไม?? เส้นทางที่ขับไปบ่งชี้ว่าเป็น อ. จะแนะ....ขับไปก็สงสัยไป..อืมม์...ชื่อก็ออกจะคล้ายๆกันด้วยซิ  "ระแงะ" กับ "จะแนะ"  ฟังผิดหรือป่าว?  ดีนะที่ไม่มี "จะนะ" เป็นอีกหนึ่งทางเลือก... 555  คือว่า.. อ. จะนะ อยู่ที่ จ. สงขลา... แต่ ที่นี่..นราธิวาส..นะจ๊๋ะ :-))  ลงถามอีกครา..

        *ครั้งที่ 5..  มีผู้ชายเดินจูงเด็กๆข้ามถนน   ช่วยดูทั้งแผนที่และการ์ดงานแต่ง....ชายหนุ่ม ยืนยันว่า.. ถูกแล้วเส้นนี้   ความสวยของเส้นทาง ทำให้นึกฮัมเพลงโปรดซะหน่อยให้เข้ากับบรรยากาศ... the long and winding road..that leads (me) to your door...จากที่มองเห็นภูเขาไกลๆ  ก็เป็นเข้าใกล้ภูเขาเข้าไปเรื่อยๆ   พลันสายตามองเห็นป้ายบอกว่า อ. สุคีริน  อีกละ!! ..ไม่ใช่แน่แล้ว ที่เราจะไป....ไม่ต้อง..ตระหนก

        * ครั้งที่ 6..ถาม กลุ่มคนชาย/หญิง...ดูทีท่าว่า จะต้องแลกเปลี่ยนความคิดกันพอสมควร ยื่นกระดาษโพยแผนที่ ส่งกลับไป/มา ท่าทางจริงจัง และเป็นที่น่าสังเกตว่า..มีเพียงมัสยิดเดียวเท่านั้น ที่ขับผ่านมา...ชื่อก็ออกจะไพเราะ..เป็นภาษาอาหรับ.....แล้วจะใช่มัสยิดลูโบ๊ะ ที่เป็นเป้าหมายสำคัญระบุไว้ในแผนที่ไหม??... ยังไม่เข็ด

        * ครั้งที่ 7  แวะถามเด็กๆแถวนั้น บอกว่าใช่แล้ว นี่แหละมัสยิดลูโบ๊ะ  แหม..ถึงบางอ้อ... ผู้คนพื้นถิ่นที่นี่เรียกมัสยิดตามตำแหน่งหมู่บ้านที่ตั้ง !! ส่วนเราคนมาเยือนสังเกตชื่อจากป้ายเท่านั้น แล้วเราจะรักกันได้อย่างไร ..อุ๊ป เราจะเจอกันได้ไง?? 

มิตรภาพระหว่างเส้นทางที่มอบให้ ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองอย่างนี้ ผู้คนไม่แล้งน้ำใจ  เมื่อถามไถ่ ก็ให้ความช่วยเหลือ  เพื่อนต่างถิ่น ต่างภาษาต่างวัฒนธรรม ...เรา..คนไทยด้วยกัน  และที่ขับรถไปทั้งสามคนไม่มีใครพูดภาษามลายูถิ่นได้เลย แต่ผู้คนที่นี่พูดกันด้วยมลายูถิ่นเป็นหลัก แต่ก็ไม่เป็อุปสรรค สำหรับเรา เมื่อมาถึงบ้านงานก็สร้างความแปลกใจให้แก่เจ้าบ้านไม่น้อย.. แหม..ที่แท้..บ้านเจ้าสาว อยู่ตรงรอยต่อ ชายขอบของทั้งสองอำเภอนี่เอง ทำให้ "ระแงะ"  กับ  "จะแนะ"..แทบจะแกะกันไม่ออกนะซิ :-))

 

วันสุกดิบ/ก่อนงานแต่ง ...เบื้องหลังการเตรียมงาน   ด้านหน้าบ้านเห็นการขนย้ายอุปกรณ์เป็นเครื่องบัลลังก์ให้บ่าว-สาวนั่งในงานพิธีแบบมุสลิม   ขณะเดินสำรวจโรงครัว เห็นว่ามีการเตรียมพร้อมสถานที่ ยกเป็นโรงขึ้นมาใหม่ ไม้แผ่นหนาหน้ากว้างนำมาปูเป็นพื้น ร่องรอยเสาไม้ยังสดๆ 

 

วัสดุ อุปกรณ์  ส่วนใหญ่จะเป็นการเช่าจากผู้ทำธุรกิจด้านนี้  ลังถึงขนาดใหญ่  ทรงสูง สีดำ บ่งบอกอายุงาน ที่ถูกรมด้วยควันจากฟืนไฟ  เอาไว้นึ่งข้าวสวยปริมาณมากเลี้ยงแขกในงาน อีกทั้งการเตรียมอาหารเห็น ลูกขนุนอ่อน ถูกตัดไว้และปาดให้ยางไหล เตรียมไว้ใช้ ..(น่าจะแกงอะไรใส่ขนุนอ่อน)  ..หน่อไม้ (เกอปง) ซอยและต้มแช่น้ำไว้ในภาชนะ มีร่องรอยการต้มในกระทะใบใหญ่ที่วางบนก้อนเส้า  สมุนไพร ข่า ส้มแขก  ยอดผักกูด (ปูโจ๊ะปากู, ปูโจ๊ะ-ยอด, ปากู-ผักกูด) และ ผักชีล้อม จัดมาเป็นกระสอบๆ  ส่วนใต้ถุนบ้าน มีมะพร้าวเป็นร้อยๆลูกทั้งที่ปอก/ไม่ปอกเปลือก  และ กองไม้ฟืนกองใหญ่ จัดเตรียมไว้เต็มที่เพื่อจัดเลี้ยงในวันงาน ...โห..เยอะจริงๆ กับการเตรียมจัดเลี้ยงแขกเหรื่อ??


แม่และเจ้าสาวไปจ่ายตลาด ส่วนพ่อและ พี่น้องๆผู้ชาย/หญิง และญาติๆก็จัดเตรียมเกี่ยวกับงาน เห็นได้ชัดว่าระบบเครือญาติยังช่วยเหลือกันเต็มที่ และเนื่องจากเป็นครอบครัวขยาย (extended family) สมาชิกมากมายในแต่ละครอบครัว มีทุกรุ่นพี่/น้องของเจ้าสาว ซึ่งแต่งงานออกเรือนไปแล้วส่วนใหญ่  (ทั้งหมด 13 คน :-)) ทำให้วันนั้นก่อนงานมีเด็กๆวิ่งเล่นสนุกสนาน นึกถึงว่าเป็นวันแห่งความสุข อีกวันหนึ่งของครอบครัว ที่ไ้ด้มาพร้อมหน้าพร้อมตากัน นอกจากนี้ที่บ้านมีทั้ง เต่า นาก นก เลี้ยงไว้เป็นสมาชิกของครอบครัว อยู่ร่วมกันด้วยความอบอุ่น :-))

 

ต่อ คำถามว่า "เจ้าบ่าว" จะมาเตรียมงาน ที่บ้านผู้หญิงก่อนงานไหม๊??  ได้รับคำตอบว่า เจ้าบ่าวมาที่บ้านในวันแต่งช่วงทำิพิธี นิก๊ะห์ และจะอยู่ที่ครอบครัวผู้หญิงสัก 3 วัน จากนั้นก็เป็นการส่งตัวผู้หญิง  ให้ไปอยู่กินที่บ้านผู้ชาย  ต้อนรับผู้หญิงเข้าครอบครัวผู้ชาย ในกรณีของที่บ้านนี้.. มีการจัดงานเลี้ยงทั้งสองฝ่าย คือนอกจากงานที่บ้านตัวเองในฐานะเจ้าสาวแล้ว  การรับผู้หญิงเข้าครอบครัวฝ่ายชาย  ก็เชิญแขกร่วมทานเลี้ยงเช่นกัน งานเลี้ยงที่บ้านงาน..จัดเลี้ยงค่อนข้างยาว เริ่มตั้งแต่เช้า สาย บ่าย ค่ำและกลางคืน (8:00-20:00 น. ตามที่บอกและระบุในการ์ด) 


ขากลับปัตตานี..ได้รับการสำทับว่าให้กลับในเส้นทางที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน “ดุซงญอ  14 กม. เส้นนั้น”  เพิ่มความเป็นห่วงมาก  อีกทั้งบอกว่าเป็นทางลัดและเปลี่ยว คนไม่นิยมใช้  ..ไม่น่าหล่ะ ไม่ค่อยมีรถเลยจริงๆซะด้วย...แต่บทเรียนนี้ผ่านมาได้ด้วยดี..    เลยได้แต่ยิ้มๆรำพึงกับตัวเองในใจว่า ... "วันนี้ทำแบบฝึกหัดที่ยากและท้าทายอีกแล้วซิเรา"  จากนั้นเดินทางกลับปัตตานีด้วยการตีรถเข้านราธิวาส.. เส้นที่เราใช้บ่อย..

 

ระหว่างที่ขับรถกลับ..นั่งใคร่ครวญ หวนนึกสิ่งที่ประสบมาในวันนี้..การมีน้ำใจ มิตรภาพและรอยยิ้มที่ได้รับ ความจริงใจที่สัมผัสได้ ขณะที่ลงไปถามทาง ...พื้นที่แห่งนี้ยังคงมีเสน่ห์..ต้อนรับแขกผู้มาเยือน อย่างที่เป็นวิถีดั้งเดิมของพี่น้องที่นี่ วิถีชีวิตชนบทแบบเรียบง่าย สงบ สบายๆ ช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน ธรรมชาติก็แสนจะเชิญชวน..ทำไมหล่ะ?? อะไรหล่ะ??..ทำให้ภาพที่ออกไปสู่ภายนอกพื้นที่..กลับเป็นอย่างอื่น...เมื่อไหร่สันติสุขจะกลับมาดั่งเดิม...คิดไปเพียงลำพังเงียบๆ ... ขณะขับรถกลับปัตตานีแบบสบายๆ บนถนนสายหลัก..

 

ยังไงก็สุขใจมาก... ที่ได้เดินทาง ขับรถไปถึงบ้าน ..ร่วมแสดงความยินดีล่วงหน้า ก่อนงาน.. ตามไปเรียนรู้  ตามดู "เบื้องหลัง" การเตรียมงานกินเหนียว/แต่งงาน..เท่าที่สังเกตได้  ..โดยใช้ ความรักนำทางไป.....ไม่รักกันจริงก็ คงไปไม่ถึงบ้าน....


นี่คืออีกบทบาทของครู-ศิษย์ ที่นอกจากจะชี้แนะ/ให้ความคิด บ่มเพาะศิษย์ให้มีความรู้  มีจิตวิญญาณที่ดี  มีความแข็งแกร่งพอที่เลี้ยงตัวและสร้างครอบครัวต่อไปได้  ก็เฝ้ามอง ให้กำลังใจ ด้วยความชื่นชมต่อไป

(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://burongtani.oas.psu.ac.th/blog/944



                             

..๑ กรกฏาคม ๒๕๕๕..

...pax vobiscum...

(๑๕)



หมายเลขบันทึก: 493055เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2012 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ผมชอบบันทึกนี้มากๆ เลยครับ ในขณะที่ข่าวจากสามจังหวัดออกทีวีเขย่าขวัญคนไทยทั้งประเทศอยู่บ่อยๆ เช่นนี้ บันทึกนี้จะช่วยให้คนไทยเข้าใจและรู้จักท้องถิ่นที่เขาได้ยินในข่าวมากขึ้นครับ อยากให้มีคนมาอ่านเยอะๆ ครับ

ขอบคุณคะ อ.ธวัชชัย..หากมีโอกาส คงได้เข้าไปเยี่ยมเยือนพื้นที่ส่วนนี้บ้าง...จะเห็นได้ว่าที่นี่..วิถีต่างๆยังคงมีให้เห็นได้สัมผัสได้เช่นกับชนบทที่อื่นๆในเมืองไทย :-))

  • เดินทางไกลนะครับ
  • ผมไปจะนะ ไปสะบ้าย้อย ไปเทพาบ่อย
  • ตอนเห็นบังเกอร์แล้วตกใจ
  • อยากให้คนใน 3 จังหวัดภาคใต้
  • บันทึกเรื่องแบบนี้
  • มีความสุขดี
  • ชอบงานกินเหนียว
  • แต่เคยไปที่ปัตตานีครั้งเดียวเอง รู้สึกเป็นปานะแระ

น้องแอ๊ดค่ะ ..เ้ส้นทางหน่ะดูแล้วไม่ไกลมากค่ะ โดยทั่วไปถ้าขับตามแผนที่ก็ไม่น่าจะหายากนะค่ะ เพียงแต่ใช้แผนที่ ที่ทำขึ้นเอง เพื่องานแต่งโดยเฉพาะ เราก็เลยเป็นผู้ลองขับตามแผนที่ ผลที่ไ้ด้เลยเป็นอย่างที่เล่ามา แต่ก็ได้เตรี่ยมตัวไ้ว้ตั้งแต่ต้นแล้วหล่ะค่ะ คิดกันไว้ว่าไปเที่ยวกัน เจออะไรก็สนุกกับสิ่งที่เห็นและเป็นค่ะ .. น้องแอ๊ด..หากจัดสรรเวลาได้ หาโอกาสมาเที่ยวพื้นที่แถบนี้บ้างนะค่ะ ...

สวัสดีค่ะ ถ้าไม่ได้อ่านบันทึกนี้ ก็คงนึกภาพภาคใต้ชายแดนของเราไม่ออก เพราะคิดแต่ว่าคงกรุ่นไปด้วยความน่ากลัว ขอบคุณมากค่ะคุณครู

คุณตันติราพันธ์ค่ะ..ขอบคุณที่แวะเข้ามาทักทายค่ะ ... ภาพเหตุการณ์ชายแดนใ้ต้ที่รับรู้ได้ อาจจะต่างกันไป ข่าวสารที่สื่อออกไปนั้นก็เป็นประสบการณ์ของคนทำข่าว ผู้บริโภคข่าวก็รับทราบตามที่สื่อ ความรู้สึกเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้ด้วยสิค่ะ ผู้คนจึงมีหลากหลายความรู้สึกต่อเรื่องเดียวกัน เลยได้ใช้โอกาสนี้เล่าสู่กันให้รับทราบสิ่งที่ประสบหน่ะค่ะ จะได้มีิมิติของความน่ารักของผู้คน น้ำใจที่น่าชื่นชม ท่ามกลางความคุกรุ่นของอะไร??? ไม่ทราบได้ ...ที่บ่งชี้ความรุนแรงในพื้นที่ :-((

ชอบวาทกรรมนี้มากครับ

น้ำใจผู้คน...บนถนนสายเปลี่ยว...

เพราะมันช่วยตอกย้ำให้รู้ว่า..
โลกใบนี้ ไม่แล้งไร้ซึ่งมิตรภาพ นั่นเอง

 

คุณแผ่นดินค่ะ..ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยน .. "น้ำใจผู้คน บนถนนสายเปลี่ยว"..... "การกระทำ VS วาทะกรรม" ..ค่ะ มิตรภาพจากใจจริง ยังคงมีอยู่ให้จรรโลงใจ ในโลกใบนี้ ... น่าอภิรมย์ไ่ม่น้อยนะค่ะ..:-))

  • เป็นครูเพื่อศิษย์ตัวจริงเลยค่ะ...ไม่รักกันจริงคงไม่ดั้นด้นไป

อาจารย์วิค่ะ..ขอบคุณค่ะ..:-)) เชื่อมั่นว่าความปรารถนาดี อย่างจริงใจ มีในตัวอาจารย์ทุกท่านค่ะ รวมถึง อาจารย์วิ ด้วยที่มีอยู่เต็มเปี่ยม จากแนวปฏิบัติที่สมาชิกใน GotoKnow ทราบและชื่นชมค่ะ อืมม์...ศิษย์ทุกคนต่างมีความเป็นตัวเอง ครูที่ใกล้ชิดก็จะเห็นและแยกแยะได้ โดยส่วนตัวครั้งนี้ที่ไปเยี่ยมบ้าน/ครอบครัว ศิษย์ แสดงความยินดีเนื่องในโอกาสพิเศษ ก็เพราะผูกพัน รัก สอน/ชี้แนะได้ใกล้ชิด.. เริ่มจากศิษย์เข้ามาทำงาน project วิจัย ป.ตรี ภายใต้ความดูแล สอนทักษะชีวิตและความรู้ในการทำแล็บที่ต้องฝึกฝน เข้มข้น และถือโอกาสในวันพิเศษของศิษย์ ขับรถไป รู้จักบ้าน รู้จักพื้นที่ ที่มีความหลากหลายพืชพันธู์ สัตว์ (นก) และ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ แม้กระทั่งพ่อแม่ของศิษย์ ก็พูดได้แต่ภาษามลายู...ซึ่งก็ดีใจที่เราไปเยี่ยมค่ะ.:-))

ย้อนกลับไป... นึ่กถึงเช้าวันหนึ่งเข้ามาทำงาน ขณะที่ศิษย์ทำแล็บในห้อง ซึ่งอยู่ติดกับห้องพักของอาจารย์..เช้านั้นได้รับเมล์จากเพื่อน ส่งเมล์มาให้ มีความหมายดีๆ "Tale from a cracking pot" อ่านแล้วรู้สึกดีมาก เลยเรียกศิษย์เข้ามานั่งหน้าคอมพ์ และแปลให้ฟัง ใส่สีสันไปเล็กน้อยให้เข้ากับบรรยากาศ ยามเช้าที่ไม่เคร่งเครียด.. main idea ก็เป็นเรื่องการให้กำลังใจ empowerment คล้ายๆกับสุดท้ายจะบอกว่า "nobody perfect"..การมองเห็นคุณค่าของคนทุกคน.. หลังจากฟังเสร็จแล้ว ศิษย์ก็เข้ามากอด น้ำตาชุ่มฉ่ำนองหน้า พร้อมบอกว่า "หนูรักอาจารย์ ค่ะ " .โดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน ก็ได้เพียงแต่ ตอบว่า "ขอบคุณ..เช่นกันค่ะ" .... ณ. เวลานั้น เข้าใจว่า ศิษย์คงผสม ปนเปกันหลายๆอย่าง ทั้งความเหนื่อยยากในการทำแล็บ ท้อ ว้าวุ่นหลายเรื่อง ทั้งเรียนและอื่นๆ แถมทับถมตัวเองว่าไม่มีอะไรดีสักอย่าง !! พอมีใครปลอบ /เข้าใจ..ก็เลยเป็นอย่างที่เล่าค่ะ ..อาจารย์ .วิ.. . ก่อนจบรุ่นนั้น นักศึกษาโปรเจคมีกันหลายคน ก็เชิญมาทานข้าวที่บ้าน อืมม์...ด้วยเพราะมีศิษย์ที่เป็นมุสลิมคนเดียวท่ามกลางเพื่อนๆทีี่มาทานข้าว ภาชนะต่างๆที่ใช้เตรียมอาหารก็ต้องระวัง ไม่มีการปนเปื้อนสิ่งต้องห้ามที่ศิษย์ศรัทธาในศาสนา เลยต้องใช้ ชาม/ ถ้วยแก้วก้นลึก (pyrex ) ทนไฟ (ปกติใช้ทำเค๊ก และไม่เคยใช้ปรุงอาหารอย่างอืน) วันนั้นใช้ นึ่งปลา และ ผัดผักในภาชนะนั้น อืมม์...ทุกคนทานอาหารมื้อนั้นร่วมกันอย่างมีความสุข เราต่างเคารพซึ่งกันและกัน..ในศรัทธาความเชื่อที่แตกต่าง หากแต่ความรักผูกพันในความเป็นศิษย์-อาจารย์ ทำให้อะไรๆ ก็ดูราวจะไม่เป็นอุปสรรคเลยค่ะ ...เล่าให้ อ. วิ ฟังเสียยืดยาวเลย เป็นบรรยากาศ การเรียนรู้ในสังคม พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ ที่ในฐานะครู-ศิษย์ ที่ ต้องปรับตัว เรียนรู้ สร้างทางเลือก ตลอดเวลาค่ะ .. ท่ามกลางข่าวสารมากมาย ในพื้นที่ส่วนนี้ หวังไว้ว่าคงจะดีขึ้น..สักวัน..:-))

  • ขอบคุณมากนะคะที่กรุณาเล่าประสบการณ์ที่เป็นภาพประทับใจของครูผู้ยิ่งใหญ่และศิษย์ เป็นประสบการณ์ที่น่านำไปสร้างแรงบันดาลใจมากค่ะ อ.วิยกให้ "คุณ kwancha" เป็นยอดครูเลยนะคะ และูขอนำบันทึกนี้ไปให้นักศึกษารายวิชาจิตวิทยาสำหรับครูได้เรียนรู้ แต่ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาสาขาพลศึกษา และสาขาการศึกษาพิเศษที่พิการทางหูและพูดไม่ได้ มีล่ามช่วย 1 คน ไม่ทราบว่าพวกเขาและเธอจะซาบซึ้งด้วยเหมือนที่อ.วิซาบซึ้งแค่ไหนค่ะ

อาจารย์วิค่ะ..ขอบคุณค่ะ..เขินจังค่ะ ถูกชมอย่างงี้....อืมม์..ปกติที่สอนก็จะใช้คาถา " รักและเมตตา" ค่ะ อ. วิ ซึ่งเชื่อว่ามีอยู่ในอาจารย์ทุกท่านนะค่ะ และด้วยเพราะเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่นี่ ในการเจอกันกับศิษย์ในชั่วโมงแรกของการเข้าสอน ก็จะพูดคุย เล่าเรื่อง เน้นเกี่ยวกับ motivation, inspiration, appreciation & imagination จากนั้นการปฏิสัมพันธ์ ตลอดเทอม จะสังเกตว่า ใครขาดในส่วนไหนก็ชี้ชวน เติมเต็ม..ใช้ทั้ง..empathy & empowerment ...เหล่านี้เป็น keywords ที่ใช้กันบ่อย โดยเฉพาะนักศึกษาโปรเจคค่ะ :-))

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท