การเลือกหัวข้อโจทย์วิจัย..?


...

การเลือกหัวข้อโจทย์วิจัยเพื่อลงมือทำวิจัยที่ตนเองชอบนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญทีเดียว  เราลองมาศึกษาตามแนวคิดของนักวิชาการด้านวิจัยกันสักหน่อยนะ

        ตามมุมคิดในหนังสือของ มนัส  สุวรรณ ( 2544 : 24-26 ) ได้แบ่งกลุ่มที่สำคัญคือ

1 . เกณฑ์ภายนอก  ( External  criteria )  มี

     1 ) ความแปลกใหม่และการหลีกเลี่ยงการลอกเลียนแบบโดยไม่จำเป็น

     2 ) ความสำคัญต่อสาขาวิชาและการนำไปใช้ประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

     3 ) ความอำนวยให้ของข้อมูลที่จะได้มาจากแหล่งต่าง ๆ ที่เชื่อถือได้

     4 ) เครื่องมือและเงื่อนไขในการทำวิจัยต้องเหมาะสมในพื้นที่ลงทำงาน

     5 ) การให้การสนับสนุนและความร่วมมือของหน่วยงาน

     6 ) ภัยอันตรายและโทษที่อาจได้รับ เช่นการเข้าไปทำวิจัยในพื้นที่สีแดง  นักวิจัยควรหลีกเลี่ยง

2 . เกณฑ์ส่วนบุคคล  ( Personal  criteria )

     1 ) ความสนใจและความอยากรู้อยากเห็น  และแรงผลักดัน

     2 ) คุณสมบัติของผู้วิจัย  หมายถึงความรู้ความสามารถของผู้วิจัย

     3 ) การลงทุนและผลที่ได้รับ

     4 ) อุปสรรคทางวัฒนธรรม  เช่น ปัญหาภาษาพูด  ข้อห้ามทางศาสนา

     5 ) วันเวลา  คือก่อนเลือกทำวิจัยต้องคำนึงถึงวันเวลาที่ให้เกี่ยวกับการทำวิจัย

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการตั้งหัวข้อ

     ตามแนวคิดของ  สุชาต  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ ( 2550 : 37-39 ) กล่าวไว้ว่าทำนองนี้

การตั้งชื่อเรื่องสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอันดับแรกคือ ต้องไม่ซ้ำกับหัวเรื่องที่คนอื่นทำมาแล้ว บางครั้งอาจต้องระบุปีต่อท้ายด้วย  สิ่งควรหลีกเลี่ยงต่อมาคือไม่ควรตั้งชื่อด้วยวลีว่า...การศึกษา...  การวิเคราะห์... การวิจัย...การวิเคราะห์เปรียบเทียบ...เพราะการวิจัยต้องมีสิ่งเหล่านี้อยู่แล้วไปตั้งเป็นหัวข้ออีกทำไม

     ตามแนวคิดของจรัญ  จันทลักขณา  และกษิดิศ  อื้อเชี่ยวชาญกิจ ( 2551 : 22-24 ) กล่าวไว้ว่าทำนองนี้  นักวิจัยที่ดีต้องทำตามขั้นตอนการวิจัย  ให้ครบถ้วนต้องตอบปัญหาเหล่านี้ดังนี้

1 . อะไรคือปัญหาของเรื่องนั้น ๆ

2 . เมื่อรวบรวมปัญหามาได้หมดแล้ว  ก็ถามตนเองว่าอะไรคือปัญหาที่จะแก้ไขได้ด้วยงานวิจัยใช่หรือไม่

3 . เมื่อแยกเอาปัญหาการวิจัยออกมาจากปัญหาอื่น ๆ แล้ว  ก็ตั้งคำถามต่อไปว่าอะไรคือปัญหาสำคัญมากสำคัญน้อย  แล้วเราเอาปัญหาสำคัญมากมาวิจัยก่อน  สำคัญน้อยไว้ทีหลัง

4 . เมื่อเลือกหัวข้อวิจัยได้แล้วถามต่อไปว่า  ปัญหานั้นแก้ไขได้ด้วยวิธีใดบ้าง  เป็นการวิเคราะห์ก่อนดำเนินการ

        การได้มาซึ่งหัวข้อการวิจัยอันเกิดจากผู้ต้องลงมือทำวิจัยเองนั้นจะสามารถมองเห็นทิศทางสว่างใสเพื่อก้าวไปให้ถึงปลายฝันของตนเองได้นั้นแล.

...............................................

หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนรู้เรื่องราวการวิจัยที่ผู้เรียบเรียงนำมาบันทึกและใช้เป็นบรรณานุกรมมีดังที่เห็นนี้  ขอขอบพระคุณเจ้าของผลงานทุกท่านไว้ ณ บันทึกนี้ด้วยครับผม

บรรณานุกรม

 

      

 

กาญจนา  วัฒายุ . ( 2548 ). การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา . กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว .

จรัญ  จันทลักขณา และกษิดิศ  อื้อเชี่ยวชาญกิจ . ( 2551 ) . คัมภีร์การวิจัยและการเผยแพร่สู่นานาชาติ  ( ฉบับปรับปรุง ) . พิมพ์ครั้งที่ 2 . นนทบุรี :นิติธรรมการพิมพ์ .

จิตราภา  กุณฑลบุตร . ( 2550 ) . การวิจัยสำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ . กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์  บริษัทสหธรรมิก  จำกัด .

ณรงค์  โพธิ์พฤกษานันท์ . (2551 ) . ระเบียบวิธีวิจัย  “ พิมพ์ครั้งที่ 5  ฉบับสมบูรณ์ “. กรุงเทพ ฯ : บริษัท  ส. เอเชียเพรส ( 1989 )  จำกัด .

ดนัย  ไชยโยธา  และสุวิทย์  จำปา . ( 2549 ) . การวิจัย : โครงสร้าง  แนวคิด  และหลักการ . กรุงเทพ ฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง  เฮ้าส์ .

นงนภัส  คู่วรัญญู  เที่ยงกมล . ( 2551 ) . การวิจัยเชิงบูรณาการแบบองค์รวม . กรุงเทพ ฯ : บริษัท  วี.  พริ้นท์ ( 1991 )  จำกัด .

พิสณุ  ฟองศรี . ( 2552 ) . การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย . กรุงเทพ ฯ : บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด .

พิชิต  พิทักษ์เทพสมบัติ ( บรรณาธิการ ) . ( 2551 ) . จงทำและจงอย่าทำในการวิจัยสังคม . กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์เสมาธรรม .

มนัส  สุวรรณ . ( 2544 ) . ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ . กรุงเทพ ฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง  เฮ้าส์ .

รัตนะ  บัวสนธ์ . ( 2552 ). ปรัชญาวิจัย . พิมพ์ครั้งที่ 2 . กรุงเทพ ฯ : บริษัทเอเชียแปซิฟิคพริ้นติ้ง จำกัด.

วัลลภ  ลำพาย . ( 2547 ) . เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์ . กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .

สมเกียรติ  วัฒนศิริชัยกุล  และวีรวรรณ  เล็กสกุลไชย ( บรรณาธิการ ) . 2544 . เส้นทางสู่นักวิจัยมืออาชีพ . กรุงเทพ ฯ : บริษัท  ผลึกไท  จำกัด .

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  ( 2550 ) . คู่มือนักวิจัยมือใหม่ . กรุงเทพ ฯ : บริษท์  วงศ์สว่างการพิมพ์  จำกัด .

สุชาต  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ . ( 2550 ) . ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 14 . กรุงเทพ ฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา .

หมายเลขบันทึก: 491936เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณสำหรับบทความดีดีนี้นะคะ

 

สวัสดีครับ Dr . Somsri

เอามาเล่าไว้กันลืมครับ ไปอยู่ไหนก็แวบมาเปิดบันทึกอ่านได้ครับ

ต้องยกให้เวบ Gotoknow เจ๋งจริง ๆ อิ อิ อิ

ขอบคุณครับ

ขอนำไปให้นักศึกษาได้อ่านเพื่อคิดโครงงานค่ะ

สวัสดีครับ ท่าน อาจารย์ ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์

ด้วยความยินดียิ่ง ถ้าบันทึกเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนครับผม

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท