ตรวจสอบ - Self-Checkout


ในโลกนี้มีคนอยู่ ๓ ประเภท คนที่สร้างสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้น คนที่มองดูสิ่งที่เกิดขึ้น และคนที่พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

วันก่อนไปซื้อของที่ซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน แล้วก็ได้ตื่นตากับสิ่งแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นที่ร้าน เมื่อพบมีช่องจ่ายเงินใหม่เอี่ยมบอกว่าเป็น Self-Checkout พร้อมทั้งมีขั้นตอนแนะนำพร้อม ก็คล้ายๆ กับที่พนักงานทำให้เราเมื่อไปจ่ายเงินในช่องแคชเชียร์ปกติ คือสแกนบาร์โค้ด แล้วก็เก็บใส่ถุง เสร็จแล้วก็จ่ายเงินโดยใช้บัตรเอทีเอ็มเป็นอันเสร็จ สำหรับของที่ต้องชั่งก็มีตาชั่งให้ชั่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องทำเองไม่มีพนักงานแคชเชียร์มาทำให้ เป็นทางเลือกใหม่ในการเพิ่มความรวดเร็วในการจับจ่าย โดยไม่ต้องรอคิวจ่ายเงินนาน ดูแล้วสะดวก สบาย และประหยัดแรงงานสำหรับร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต

ในบ้านเราอาจมีบริการเช่นนี้บ้างแล้วก็ได้นะคะ แต่ฉันไม่ได้กลับบ้านมาหลายเดือนเลยอาจตกข่าว ในหลายๆ ด้านที่บ้านเรามีความคิดสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพกว่าที่นี่ เช่นการเติมน้ำมันรถในบางที่บ้านเราให้ลูกค้าเติมเองโดยมีระบบอัตโนมัติช่วยบางส่วน แต่ที่นี่เรายังใช้บริการจากเด็กปั้ม

..

เคาน์เตอร์ปกติ – Existing Checkout Counter

..

 

เคาน์เตอร์ใหม่ – Self-Checkout Counter

.. 

ตลอดสองปีที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการรณรงค์ให้องค์กรทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ผลผลิตมีปริมาณและ/หรือมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ภายใต้โครงการ Productivity @ Work ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาสนับสนุนให้องค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน คิดค้น brainstorm วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในสาขางานของตน ด้วยความเชื่อที่ว่า An investment in knowledge pays the best interests – Benjamin Franklin

ซึ่งโครงการนี้ได้รับการตอบรับจากแทบทุกอุตสาหกรรมเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นในระยะเวลาที่สั้นลง ประหยัดแรงงาน เพื่อที่ว่าทรัพยากรที่มีเหลือนั้นจะได้นำไปทำอย่างอื่น

การเพิ่ม Self-Checkout ก็เป็นหนึ่งในโครงการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของงานบริการลูกค้าของซุปเปอร์มาร์เก็ตนี้

โดยส่วนตัวไม่ได้แปลกใจกับสิ่งที่ได้เห็น เพราะหนึ่งในหน้าที่ของงานที่เคยทำคือค้นคว้านำเสนอการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตในโรงงานอยู่แล้ว แต่ที่สะดุดใจเล็กน้อยนั่นก็เพราะสิ่งเหล่านี้คืบคลานเข้ามาในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัว ตอกย้ำภาพวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าอยู่เสมอและรวดเร็วในสังคมเมืองที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้ชัดเจนขึ้น

ทอมมัส เอดิสัน กล่าวว่า There’s a way to do things better, find it.

ในทุกๆ วันเราจึงพยายามพัฒนาสิ่งที่เราทำอยู่ให้ดีขึ้น ไม่อยู่กับที่ จนมันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ต้องขวนขวายเพื่อการก้าวไปข้างหน้า

ฉันลองใช้บริการ Self-Checkout ดู ก็มีพนักงานคนหนึ่งมาคอยให้คำแนะนำวิธีการใช้ ส่วนตัวฉันคิดว่าการทำ Self-Checkout ช้ากว่าการจ่ายเเงินให้พนักงานนิดหน่อย แต่นั่นก็คงเพราะ “ความใหม่” ที่ปรากฎ หากใช้บ่อยขึ้นทุกอย่างก็จะรวดเร็วขึ้น ฉันลองถามพนักงานที่มายืนข้างๆ ว่ามีคนมาใช้เคาน์เตอร์นี้มากไหม เธอก็ตอบว่ายังไม่มากเท่าไร่ ส่วนใหญ่จะมายืนดูกันก่อน นี่คืออีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ต้องใช้เวลาให้มันเข้ามาเป็นความเคยชินของชีวิต

หลังจากที่ใช้บริการ Self-Checkout แล้วก็ลองมา Self-Checkin เข้าสู่การพิจารณาตัวเองว่าเวลาที่มีมากขึ้นจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ผลผลิตมีปริมาณและ/หรือมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในชีวิตประจำวันนั้น จะใช้มันไปอย่างไรดี

เคยผ่านตามาว่าในโลกนี้มีคนอยู่ ๓ ประเภท คนที่สร้างสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้น คนที่มองดูสิ่งที่เกิดขึ้น และคนที่พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น เราจะใช้เวลาที่มีเพิ่มขึ้นทำอะไรดีคะ

วันนี้ขอทำในสิ่งที่ถนัดก่อนนะคะ…. พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น :)

 

ด้วยความนอบน้อม,

ปริม ทัดบุปผา

เมืองสิงห์โตตัวเล็กๆ

๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕

..

 

สีสันสดใส ดึงดูดใจผู้ใช้ พร้อมคำแนะนำชัดเจนง่ายต่อการปฏิบัติตาม

 

Open Your Heart – Yukie Nishamura

http://www.youtube.com/watch?v=MGNyxB_FvbM

 

<embed src="http://www.youtube.com/v/MGNyxB_FvbM?version=3&autoplay=1

คำสำคัญ (Tags): #ตรวจสอบ - Self-Checkout
หมายเลขบันทึก: 491885เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 02:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

ขอบคุณค่ะคุณปริม

เคยมีความคิดกันเล่นๆ ว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่คุมได้ดี รับยาเดิมคร้้งแล้วครั้งเล่า น่าจะมีระบบ self-check out แล้วดูว่าเกิดอะไรขึ้น อาจมองว่า ไม่ปลอดภัย อีกมุม อาจมองเป็นการเพิ่ม productivity ให้แพทย์ พยาบาล ได้มีเวลาให้คนที่มีปัญหาซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

ดีครับ

ต้องมีการตรวจสอบกันบ่อยๆ จึงจะดี

ทันสมัยจริงๆเลย  อยากให้บ้านเรามีแบบนี้บ้างจะได้เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคเนาะเจ้า.....

คุณหมอ ป คะ

เป็นความคิดที่ดีค่ะ แต่ระบบที design ขึ้นมาต้องเป็น bullet proof จริงๆ เพราะบางทีงานที่อาศัย discipline ของคนนี่ design ยากจริงๆ โดยเฉพาะคนไข้เรื้อรังที่มีความเคยชินกับสิ่งที่ทำ บางทีเคยชินจนละเลยก็มี

แต่เป็นจุดเริ่มความคิดที่ดีค่ะ ต้องอาศัยทีมงานที่รอบคอบสานต่อความคิดให้เป็นรูปธรรมค่ะ เอาใจช่วยเสมอ

คงอีกหลายสิบปีกระมัง กว่าเมืองไทยเราจะก้าวไปถึงจุดนี้ได้เหมือนที่สิงคโปร์

ช่วงกลางคืนที่ผ่านมา (20 มิย.55) เห็นข่าว "ผู้ร้าย" เข้าไปชิงเงินจากตู้เก็บเงินของร้าน 7-11 โดยใช้มีดบังคับพนักงานให้กดคีย์ต่าง ๆ แต่พนักงานทำช้า "ผู้ร้าย"คนนี้รีบเข้าไปดำเนินการแทน ซึ่งทำได้ค่อนข้างชำนาญและรีบกวาดเงินในตู้หนีไปอย่างรวดเร็ว

มีข้อสันนิษฐานว่า "ผู้ร้าย"คนนี้ น่าจะเคยเป็นพนักงานของร้าน

วิธีการของเทคโนโลยีเรื่องนี้ จะใช้ได้ตามที่เขามุ่งหวัง คงต้องพึ่งพา "จริยธรรม" ของลูกค้าแต่ละคนด้วย ใช่ไหมครับ

ขอบคุณค่ะท่านอาจารย์โสภณ

เป็นการเช็คตัวเองในจังหวะของชีวิตนะคะ

 สวัสดีค่ะคุณปริม...

...โลกนี้มีคนอยู่ ๓ ประเภท คนที่สร้างสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้น คนที่มองดูสิ่งที่เกิดขึ้น และคนที่พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น(ชัดเจนชัดแจ๋ว)...

...แต่สองประเภทหลังช่างมากมายก่ายกองเหลือเกินนะคะกับโลกทุกวันนี้ (ที่คนดู คนพูด...ช่างรู้ดีกว่าคนทำ)...

สวัสดีค่ะ krugui,

คงอีกไม่นานหรอกค่ะ หากแรงงานมีราคาสูงขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น ระบบเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่อักขณิช,

คงไม่นานหรอกค่ะ บางอย่างบ้านเราก็เร็วกว่าที่นี่ค่ะ ศักยภาพของเมืองไทยก็มีมากโขอยู่ค่ะ เพียงแค่ต้องร่วมใจกันพัฒนาเท่านั้น เมื่อก่อนประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา บ้านเราทันสมัย รวยกว่าสิงคโปร์อีกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณคณิน

แน่นอนที่สุดค่ะ ใจคนจะใช้มันทำอะไรก็ได้ค่ะ เก่งกว่าเทคโนโลยีอีก

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณน้อย แน่นอนที่สุดค่ะ สองประเภทหลังนี่มีเยอะค่ะ แต่เขามาพร้อมของขวัญ ที่จะทำให้เรากล้าคิด กล้าทำและทำให้เราประสบความสำเร็จโดยมีเขาเป็นเสียงเชียร์ค่ะ (มองโลกสวยงามเกินไปหรือเปล่าเนี่ย)

มีความสุขยามเย็นวันนี้นะคะ :)

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่มาชื่นชมการพัฒนาเพื่อสิ่งที่ดีกว่า

ดังที่เรามีหลอดไฟฟ้าใช้กันอยู่ทุกวันนี้ อำนวยความสะดวกมากมาย ก็ด้วยความคิดที่ว่า There’s a way to do things better, find it. ค่ะ

มีความสุขทุกท่านค่ะ

สวัสดีค่ะคุณปริมมาติดตามความทันสมัยและความมีมาตรฐานของเมืองเค้า แต่ทางบ้านเราจะเลียนแบบคงใช้เวลาอยู่นะคะ

อ่านไปก็นึกถึงเวลาที่เหลือนะ เราจะว่างัยต่อดี ในส่วนของการได้มีทางเลือกตรงนี้เป็นแนวคิดที่ดี อย่างนี้ทุกคนก็ได้โอกาสในการทำตัวมีคุณค่า ประสิทธิภาพโดยรวมก็ดีมากขึ้น ไม่รู้จะพูดจะได ..เอาว่ามันปลื้ม ก็แล้วกันครับ

สวัสดีค่ะคุณครูลินดา

ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทายกัน

บ้านเราก็มีเอกลักษณ์ของเราที่ไม่ต้องไปเลียนแบบใครค่ะ ในบางด้านเค้าก็เลียนแบบเราไม่ได้เช่นกัน

มีความสุขในวันหยุดค่ะ ;)

สวัสดีค่ะคุณเพชร,

เลือกทำในสิ่งที่เป็นตัวเราให้ดีที่สุด น่าจะดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท