พระผงสุพรรณก้นครก


พระผงสุพรรณองค์นี้ได้ทำให้ผมเข้าใจถึงเทคนิควิธีการสร้างพระผงสุพรรณที่ทำมาทั้งวัน คำตอบของวิธีการสร้างอยู่ที่นี่

วันนี้ผมได้รับแจ้งจากคุณนิพนธ์ พัชระภัทร์ ว่ามีพระผงสุพรรณหักครึ่งองค์ เหมาะที่จะใช้ดูเป็นเนื้อครู และได้ส่งรูปให้ผมดูทางเมล์

ผมฟังแล้วก็นึกว่าหักจริงๆ แต่พอเห็นรูปพระที่ส่งมาก็ปลาดใจ พระองค์นี้ไม่หัก แต่ปั้นดินไม่ติดเป็นก้อนเดียวกันมากกว่า ทำให้แผ่นหน้าพระกับแผ่นหลังที่น่าจะมีลายมือ แยกออกจากกัน

ดูตอนแรกก็ไม่น่าสงสัยอะไรมาก

คิดว่าเป็นพระแตกออกจากกันธรรมดาๆ ก็พยายามส่องดูเนื้อในที่หัก

ก็ไม่เห็นอะไร นอกจากน้ำว่านคลุมไปทั้งองค์

ด้านหน้ามีรอยนิ้วมือปรากฏทั้งองค์ ที่ค่อนข้างจะผิดปกติ ว่าเกิดขึ้นได้ยังไง

แต่เริ่มมาสงสัย และมาผิดสังเกตที่

เห็นลายพิมพ์คล้ายวงพระกร มาปรากฏที่ด้านหลังพระ

ตอนแรกมองเห็นเพียงวงเดียว

ดูไปดูมา พบว่ามีสองวง

แถมยังมีพระพักตร์ พระศอ อยู่รำไร

ลองถามหาอีกซีกหนึ่ง คุณนิพนธ์ก็บอกว่าไม่มี

ก็เลยต้องวิเคราะห์เท่าที่มี

ดูตามรูปการณ์แล้ว

พระผงสุพรรณองค์นี้ประกอบด้วยดิน 3 ก้อนขึ้นไป คือ

  1. ก้อนแรกอยู่ตรงกลางสีเข้มออกดำๆ มีร่องรอยการกดพิมพ์ 2 ครั้ง คนละพิมพ์กันเสียด้วย และมีเศษเหลือของก้อนแรกหักติดอยู่ด้านบน และตรงกลาง ที่เป็นเศษๆของวงพระกร
  2. ก้อนที่สองอยู่ด้านหลัง ที่ลอกหลุดหายไป ที่น่าจะมีลายมือติดไปด้วย
  3. ก้อนที่สาม โปะอยู่ด้านหน้า ที่เป็นรูปองค์พระ ที่มีรอยมือกดหรือจับทั้งองค์
  4. และ อาจจะมีดินก้อนอื่นๆ ที่เป็นเศษๆ ของพระองค์ก่อนๆ ที่ตัดออกมา

จากหลักบานที่ปรากฏ ทำให้คาดว่าพระผงสุพรรณองค์นี้ น่าจะเป็นพระองค์ท้ายๆ หรือสุดท้ายของวัน ที่สร้างจากเศษๆดิน ที่ตัดออกมาจากองค์อื่น ไม่ได้คลุกใหม่

ที่อาจเนื่องจากมีดินเหลือน้อย ไม่พอลงครก จึงใช้วิธีบี้ด้วยมือให้เข้ากัน ทำให้การเกาะของเนื้อดินของแต่ละก้อนไม่แน่นพอ

แม้จะพยายามกดให้เข้ากันในภายหลัง หลังจากกดพิมพ์ ครั้งที่ 3 แล้ว ก็ยังไม่แน่นอยู่ดี

คราบน้ำว่านฉ่ำทั้งองค์ แสดงว่าน้ำว่านมากพอ ถึงไฟความร้อนพอละลายน้ำว่าน  แต่แรงน้ำว่านก็ช่วยให้ดินเกาะกันไม่ได้

ในที่สุดก็น่าจะแยกจากกัน แต่ไม่หลุดจากกัน ตั้งแต่ตอนสร้าง หรือระหว่างอยู่ในกรุ มาหักออกเด็ดขาดก็ตอนที่อยู่นอกกรุ เพราะไม่มีคราบกรุที่ด้านหลัง

จากผลการวิเคราะห์การสร้างพระผงสุพรรณองค์นี้ ทำให้ผมเข้าใจถึงเทคนิควิธีการสร้างพระผงสุพรรณที่ทำมาทั้งวัน ในวันหนึ่งของการสร้าง

ว่า

  • มีการคลุกดินกับน้ำว่านและมวลสารต่างๆ
  • ปั้นก้อนดินตามขนาดที่เหมาะสม
  • กดพิมพ์ดินเผาที่เตรียมไว้ โดยไม่มีขอบบังคับข้างพระ และ
  • ต้ดขอบด้วยไม้ ที่มีด้ามจับอยู่ด้านหลัง
  • ตัดจากหลังไปหน้าขณะอยู่ในพิมพ์ แบบกะๆ ชิดบ้าง ห่างบ้าง
  • ต้ดสามเหลี่ยมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง ห้าเหลี่ยมบ้าง
  • หยิบองค์พระออกมาจากพิมพ์ ทำให้มีรอยบี้ของลายมือ ที่ด้านข้าง และหรือ ด้านหน้าบ้างเล็กน้อย
  • ถ้าดินน้อยและยังเปียก จะมีการบิดตัวขององค์พระตามแรงจับ และหรือการวางตาก
  • แรงของการตัด และยกไม้ทีใช้ตัดออก ทำให้มีเนื้อปลิ้น ออกมาด้านหลัง
  • ผึ่งให้แห้ง

ดินที่ต้ดออกมาก็นำไปตำในครก เพื่อปั้นก้อนใหม่ หรือตำใหม่ให้เข้ากันแล้วนำมากดอีก

ยกเว้นองค์ท้ายๆ ที่ดินน้อย ไม่พอตำ จึงใช้มือบี้ให้เข้ากัน แต่ก็ไม่สำเร็จ

จึงยังแยกออกจากกันเช่นเดิม

  • กด 2 ครั้งก็ยังไม่ได้ ดินไม่พอ 
  • ต้องนำเศษดินที่ค่อนข้างแห้ง มาเพิ่มและกดครั้งที่สาม
  • แต่ก็ยังแยกออกไปเหลือเท่าที่เห็น

วิธีการสร้างมีคำตอบอยู่ที่องค์สุดท้ายของวัน นี่เอง

ขอขอบคุณคุณนิพนธ์ที่เอื้อเฟื้อรูปพระให้มานั่งวิเคราะห์

 

องค์นี้ยังไม่หลุดจากกัน แต่มาจากเศษดินแน่นอน

จนได้ความรู้ ดั่งนี้แล

หมายเลขบันทึก: 491874เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท