ขสมก. เว็บน่ารักที่อยากให้เจ๋ง


เมื่อเดือนก่อน มีเหตุให้ข้าพเจ้าเป็นบ้านนอกเข้ากรุงไปประชุมที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี..
ข้าพเจ้าหมายมั่นว่าจะไปลองใช้แอร์พอร์ตลิงค์ให้ได้
จึงวางแผนเดินทาง ไปลงสนามบินสุวรรณภูมิ
นั่งรถไฟฟ้าสุดสายไปลงสถานีพญาไท
ใช้เวลาเพียงประมาณ 40 นาทีเท่านั้น
แต่เมื่อลงจากสถานีรถไฟฟ้า ก็พบกับความมึน..จับต้นชนปลายไม่ถูก
จะไปอย่างไรต่อ ?
รถเมล์ ขสมก. วิ่งผ่านขวักไขว่ แต่มองไม่เห็นคันไหนเขียนผ่าน รพ.รามา สักคัน
จะไปแท็กซี่..เอ แล้วขึ้นฟากไหนของถนนดีละนี่
สุดท้าย มองซ้ายขวา ก็พบกับ "GPS ท้องถิ่น"
ลงทุน ซื้อน้ำมะพร้าวราคา 25 บาท เพื่อถามข้อมูลเชิงลึกจากแม่ค้า
ก็ได้ความว่า
"ไม่มีรถ ขสมก. ผ่าน  นั่งมอเตอร์ไซด์รับจ้างราคา 40 บาท หรือ แท็กซี่ก็ราคาเท่ากัน แต่ต้องเดินเลยแยกนี้ไปหน่อย"

...
เอาละค่ะ เข้าเรื่องของเราเสียที เวบของส่วนราชการที่ชื่นชอบ
จากเหตุการณ์ดังกล่าว
ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า คงดีไม่น้อย
หากมีเวบไซต์ที่เป็น web application ลง iphone, ipad
ที่ให้ข้อมูลการเดินทาง ในกรุงเทพมหานคร
เมื่อปรึกษา อากู๋เกิ้น จึงมาเจอเวบของ ขสมก.
ที่ออกแบบได้น่ารัก ตั้งแต่แรกพบ ขนาดนี้

เวบไซต์ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ http://www.bmta.co.th/

เพื่อให้เวบนี้ เป็นที่พึ่งคนอย่างข้าพเจ้าได้มากยิ่งขึ้น
จึงขออนุญาตแสดงความเห็นดังนี้

1. ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเวบ ให้ 10/10

เมนูที่ทำเป็นรถเมล์ (ลองเข้าไปดูค่ะ แล้วจะเห็นว่ารถเมล์วิ่งได้ด้วยน่ะ)
สร้างความรู้สึกเป็นมิตร ต่อกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กนักเรียน นักศึกษา รวมทั้งวัยรุ่นอย่างข้าพเจ้าด้วย :)

2. แง่ความง่ายในการเข้าถึงข้อมูล ให้ 7/10
ส่วนที่ข้าพเจ้าชอบรองลงมา คือการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว สถานบริการ ซึ่งเดินทางด้วยรถ ขสมก. ได้  ตรงใจกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือนักท่องเที่ยวซึ่ง มักไม่ขับรถในกรุงเทพ ตอบคำถามว่า "ถ้าไม่มีรถเอง + ไม่อยากนั่งแท็กซี่ " จะไปดูอะไรได้บ้าง  น่าเสียดายว่า สถานที่หมวดอื่น เช่น โรงเรียน โรงแรม ไม่มีการจัดทำในลักษณะนี้

 

3. แง่ความเข้าใจง่ายของข้อมูล  ให้ 5/10 

  จากหน้าแรก ข้าพเจ้าลองใส่สถานที่เป็น "รพ.ราชวิถี" ด้วยความรู้อันน้อยนิดเกี่ยวกับ กทม.ว่า
ที่แห่งนี้น่าจะเป็นชุมทางรถมากมายหลายสาย เพราะอยู่ใกล้ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
แต่ผลออกมา ว่ามีเพียง 1 สาย คือ "551"
ตรึกตรองดู อาจเพราะ เอาจุดตั้งต้น (ซึ่งไม่มีให้เลือก) คือ
สนามบินสุวรรณภูมิ ? 
.
ลองอีกที ใส่สถานที่เป็น "รพ.รามาธิบดี"
ผลก็ออกมาว่า "ไม่มี"
แสดงว่า GPS ท้องถิ่น ท่านนั้นถูกต้อง
แต่ก็ไม่แน่ใจอยู่ดีว่า เพราะหมายถึงสายที่เริ่มจากสุวรรณภูมิหรือเปล่า?

4. แง่การใช้อรรถประโยชน์จากข้อมูล ให้ 5/10

มีวิธีการค้นหาอีกแบบ คือ ค้นหาด้วย สายรถเมล์
ดังในหน้านี้ http://www.bmta.co.th/th/bus_info.php
ซึ่งก็เป็นการให้ข้อมูลที่ดี
..ในสมมติฐานว่า ผู้ค้นมีไอเดียบ้างว่า จะไป "สายไหน"
แล้วต้องการเช็คให้แน่อีกทีว่า จอดสถานที่ต้องการไปจริงหรือเปล่า
..สำหรับคนที่ รู้แต่ว่า อยากไป "ที่ไหน" 
โดยเฉพาะ อาคารร้านค้า บ้านคน โอกาสใช้ข้อมูลตรงนี้ได้ คงน้อยมาก

5. แง่ความพยายามพัฒนา ขอให้ 9 /10
ได้เห็นความพยายาม ในการทำเป็น web application 
แล้วเปิดรับข้อเสนอแนะจากประชาชนผู้ใช้
วันนี้ 21 มิ.ย 55
ข้าพเจ้าลองเข้าไปดาวน์โหลดลง iphone และ ipad
ปรากฎว่าไม่พบทางเข้า เพราะ banner ต้องการ Flash player
เมื่อใช้ PC เพื่อดาวน์โหลดทาง itune ก็ไม่พบ
เข้าใจว่ากำลังปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอยู่ค่ะ 
เป็นความพยายามที่ดีมากค่ะ..แต่เข้าไปลองใช้ยากนิดนึง 

###

คะแนนนี้ เป็นความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้าเพียงผู้เดียว
ที่หวังเห็นการพัฒนา ให้เวบนี้ รองรับการใช้งาน
จนเป็นที่แพร่หลายติดปากคนทั่วบ้านทั่วเมือง
อย่างที่ เวบไซต์ 511.org ขวัญใจคนไม่ขับรถของชาวซานฟรานซิสโก
.

อยากให้เห็นตัวอย่างที่เวบไซต์นี้ 

- ให้ข้อมูล public transit trip planner อย่างผสมผาน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ, รถเมล์, เรือเมล์, แท็กซี่ กระทั่ง โดยขาตัวเอง (เดิน) มีการบอกว่า ให้ขึ้นตำแหน่งไหน  จะใช้เวลานานเท่าไหร่ กระทั่ง ให้เตรียมเงินไปเท่าไหร่ด้วย

- ให้ข้อมูลแบบ real time  อาจเพราะ รถไฟใต้ดิน - muni train ของซานฟรานซิสโก มักผีเข้าผีออก พอสมควร ยกเลิกการเดินรถบ้าง ปรับเวลาเดินรถบ้าง เป็นประจำ

- ทำเป็น web application เปิดดูในมือถือ หรือ tablet ได้

- ที่สำคัญมากๆ คือการให้ใส่ "สถานที่เริ่มต้น" และ "สถานที่จะไป" เป็นการตอบคำถามที่คนส่วนใหญ่ต้องการคือ "เราจะออกจากที่นี่ไปที่นั่นได้อย่างไร"

###

ข้าพเจ้า มีความเชื่อว่า
คนไทยเรา หากเชื่ออะไรแล้ว
สามารถทำสิ่งที่เหนือความคาดหมายได้เสมอ
ขอเพียง "เชื่อว่าสิ่งที่ทำ..ทำแล้วเกิดอรรถประโยชน์สูงสุด"

ดังที่ Simon Sinek กล่าว
"If you hire people just because they can do a job, they’ll work for your money.
But if you hire people who believe what you believe,
they’ll work for you with blood and sweat and tears.”
 

เป็นกำลังใจให้ (อย่างยิ่ง) ค่ะ

 


หมายเลขบันทึก: 491830เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ดีมากครับไว้ศึกษาก่อนเดินทางเพื่อเตรียมความพร้อมจะได้ไม่เสียเวลามาก

  • น่าสนใจมากค่ะ..เห็นมุมมองดีๆที่สามารถปรับปรุงได้อีกมากสำหรับบริการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

  • กรณีอย่างนี้ โรงพยาบาล หรือสถานบริการประชาชน และองค์กรต่างๆ ควรเอื้ออำนวยแผนที่เดินทาง รวมทั้งการโดยสารสาธารณะ ไว้ใน website ด้วย

This is what I commented before in http://www.gotoknow.org/blogs/posts/491538

sr (ความเคลื่อนไหวล่าสุด) 21 มิถุนายน 2555 03:09

2654369

Some years ago, I asked a question about usability of government websites in Vcharkarn.com. There were virtually no answer from those websites. I am still seeing much the same "tabloid" style or "template" style government websites (and school websites too).

We have not progressed much. We still have to go and get "public services" in person even when paying rates, taxes and other charges (they want "money" and make it difficult to pay -- someone ought to think this out).

[http://www.vcharkarn.com/vcafe/39775

Thai Government Websites - เครื่องหมาย หรือ แหล่งข้อมูล? โพสต์เมื่อ: 17:17 วันที่ 4 พ.ย. 2548 ชมแล้ว: 1,441 ตอบแล้ว: 4 วิชาการ >> คาเฟ่ >> ทั่วไป

ใครเคยลองหาข้อมูลจากเวปของหน่วยงานรัฐบาล?

ผมพยายามอยู่หลายวัน จนล้า อยากจะ ฟันธง ว่า "เป็นเพียงเครื่องหมาย ไม่มีข้อมูลอะไร" เราไม่รู้ว่า เรามีสิทธิหน้าที่อะไร รัฐบาลไม่อยากบอกให้รู้ด้วย? เราไม่รู้ว่า พิธีการ ทำงานของหน่วยงานรัฐบาล เป็นอย่างไร รัฐบาลไม่อยากบอกให้รู้ด้วย? ... ช่วยกันหน่อยได้ใหม ช่วยจัดระดับ ออกความเห็นว่า เวป ของหน่วยงานรัฐบาล มีประโยชน์แค่ไหน เราควรกระจายความรู้นี้ให้ คนไทยทั้งชาติได้รู้ และเข้าใจ โปรดให้ตัวอย่าง และความเป็นธรรม ...]

Blank ป. (ความเคลื่อนไหวล่าสุด
21 มิถุนายน 2555 06:48 
#2654397
 

ปล.เรียนถามเคล็ดลับคุณครูได้หรือไม่ค่ะ ว่าการนำไอคอนเล็กๆ มาปะติดปะต่อที่คอร์ลัมน์ด้านซ้ายมือทำอย่างไรค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

                             ********************

กับคำถามข้างบนนี้ ครูอิงยินดีแบ่งปันนะคะ  แต่ครูอิงทำไว้นานมากตั้งแต่โกทูโนว์ ยังไม่ปรับปรุงแบบทุกวันนี้ จึงขอเวลาคุณหมอนิดนึง ให้ครูอิงคลิ๊กเข้าไปดูโค้ด ทบทวนดูก่อนนะคะ แล้วจะนำมาเรียนให้ทราบด้วยความยินดียิ่งค่ะ

555 แม้หัวข้อของหมอออกจะดุ ๆ แต่สาระที่หมอเขียนนั้นเป็น ความปรารถนาดี ที่ต้องยกย่องครับ คิดว่าข้อเขียนของหมอ ได้รับการตอบรับ อย่างน้อย ลุงป้าน้าอาพี่น้อง กทน. 100 % ต้องเห็นด้วยกับคุณหมอรางวัลสุดคะนึงของเรา

ผมลองหาทางส่งข่าว ข้อเขียนของหมอ ไปไว้ ในเว็บไซต์ ขสมก.และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำลิงค์ข้อเขียนของหมอ ไปให้ชื่นชม แต่ลงไม่ได้ จึงเข้าไปค้นใน เฟซบุ่ค ไปขอแออดเฟรนไว้กับ รักษ ขสมก. ตอบกลับมาเมื่อไร ก็จะขอให้เขาส่งต่อ

การทำเว้บไซต์ในหน่วยงานรัฐ ก็น่าส่งสารไปอีกแบบ เว็บมาสเตอร์ที่ทำ กันอยู่เท่าที่สังเกตุมา เขาเธอ ทำได้ ปัญหาอยู่ที่ลูกพี่ทั้งหลายของเขา ไม่ได้ให้ความสนใจ หรือ ไม่คอยจะรู้เรื่อง ปล่อยให้เด็ก ๆ ทำไป บางหน่วยงาน ขอเพียง ให้เว็บไซต์มีรูป ผอ.ลงบ่อย ๆ เป็นพอ 555

ขออำนาจของ กทน.และขออำนาจความดีของคนใช้บริการ ขสมก.ในอนาคต (ขอยืมความดีในอนาคตมาใช้ก่อน 555) ดลบันดาลให้หมอได้ความคิดดี ๆ มาให้กับสังคม ในหลาย ๆ เรื่อง ที่ยังดูด้อยอีกนะครับ

ท่านใดสามารถนำข้อเขียนของคุณหมอ ไปวางไว้ในเว็บไซต์ ของ ขสมก. หรือ เว็บไซต์ดังทั้งหลาย ก็น่าจะทำให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง

การนำสิ่งดี ๆ ที่อยู่ใน โกทูโน ไปวางไว้ในเว็บไซต์ของหน่ว่ยงานที่เกี่ยวข้อง น่าจะเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยเสริมศักดิ์ศรี เพิ่มบารมีให้โกทูโน หรือ ทำกันอยู่แล้ว ผมไม่แน่ใจ

ชื่นชมเว็ปแบบนี้มากค่ะ เท่าที่ดูเว็ปของหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา เต็มไปด้วยรูป ผอ. การมอบช่อดอกไม้ ฯลฯ แทบจะหาสาระที่มีมากมายที่ควรนำเสนอไม่มีเลยค่ะ ...จากประสบการณ์ ฮา

ก็ขอให้คุณหมอ 10/10 เลยค่ะ ที่นำเว็ปดีดีมาเผยแพร่

ขอบคุณมากค่ะ อาจารย์เดชา

เห็นด้วยค่ะพี่ใหญ่ หากเป็นไปได้
โรงพยาบาลรัฐน่าจะบอกทั้งวิธีไป และแผนผังในโรงพยาบาลว่า
ห้องตรวจไหนอยู่ตรงไหน ให้ละเอียด
อย่าง รพ.สวนดอก นี้คนไข้ที่มาครั้งแรกเกือบทุกคนจะหลงในเขาวงกตค่ะ

ตัวอย่างที่ รพ.ต่างประเทศทำแผนที่ภายใน รพ.ไว้

Dear Khun Sr, Thanks for sharing your post at Vichakarn dot com. I like this post

"อีกอันหนึ่ง ของกระทรวงสาธารณสุข

ข้อมูลดีมาก ทั้งข้อมูลการแพทย์และการฝึกอบรมประเภทต่างๆ
http://www.moph.go.th/about/history/prav.htm

แต่ข้อมูลบุคคลสำคัญของกระทรวงตัวเอง ยังปล่อยให้ผิดพลาด
ดิฉันเมล์แจ้งไป 2 ครั้ง ยัง ignore

...สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร 
ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2486 พระชนมายุได้ 58 พรรษา...
ตอนในหลวงทรงอภิเษกสมรส กรมขุนชัยนาทฯ และจอมพล ป. ลงนามเป็นพยาน 
เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2493 แล้วจะว่าสิ้นพระชนม์ปี 2486 ได้อย่างไรค่ะ"

...What was hidden in this message is no one take responsible in "maintanance and developing" the website. 
 

###

By the way, I hope if we- thai citizen have more attention to website usability and more feedbacks via social media (as you and us do) it might facilitate some progression. 

ขอบคุณค่ะ เห็นความตั้งใจในการให้ข้อมูล (ไม่ใช่มีแต่ภาพ ผอ.รับดอกไม้)
ก็ OK แล้วค่ะ :) 

ขอบคุณมากค่ะ คุณครูอิง

ประทับใจความ active เพื่อสังคมของอาจารย์ชัดมากค่ะ

"...การทำเว้บไซต์ในหน่วยงานรัฐ ก็น่าส่งสารไปอีกแบบ
เว็บมาสเตอร์ที่ทำ กันอยู่เท่าที่สังเกตุมา เขาเธอ ทำได้
ปัญหาอยู่ที่ลูกพี่ทั้งหลายของเขา ไม่ได้ให้ความสนใจ" 

สิ่งที่อาจารย์สะท้อนมา ขอบอกว่า เห็นกับตามาแล้วค่ะ :)

คนในองค์กรเอง มิใคร่ใส่ใจว่า เวบไซต์ของตัวเองมีอะไร 
การดูแลเวบไซต์โดยคนที่ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ ถือเป็นทำแบบจิตอาสา
ไม่ถือเป็นภาระงาน 
กระนั้น appreciation ของคนในองค์กรต่อผู้ดูแลเวบก็แทบจะไม่มี

 

อ่านแล้วหัวเราะ ช่างเหน็บเปิงใจค่ะคุณครูรินดา

ถึงมีคนบอกว่าเวบไซต์ บางที่ดูเหมือนหนังสือพิมพ์แท็บลอย (มีแต่รูปคน) ค่ะ

 

ขอบคุณค่ะคุณครูวันดี :)

ขอบคุณมากครับคุณหมอ ป. ที่นำ Website ขสมก มาให้รู้จัก ชื่นชมพัฒนาการครับ

ขอบคุณค่ะ เว็บนี้ถึงไม่สมบูรณ์แบบ (เราต่างไม่สมบูรณ์แบบ)
แต่เห็นความตั้งใจพัฒนาแล้ว ก็อยากให้กำลังใจต่อไป
 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท