เปรียบเทียบการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ


...

        คำว่า  คุณภาพในการวิจัย  หมายถึง ข้อมูลที่ไม่เป็นตัวเลขหรือหมวดหมู่และมีรหัสเลขที่จะไปวิเคราะห์กันในทางสถิติ  แต่เป็นข้อมูลที่ได้จากคำถามปลายเปิดหรือ  จากการบันทึกสังเกตของผู้วิจัยหรือจากคำให้สัมภาษณ์ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก  เป็นข้อมูลที่ไม่ได้วัดออกมาเป็นตัวเลข

 

        เนื่องจากเป็นการเจาะลึกเกี่ยวกับรายละเอียดในเรื่องที่ศึกษาชุมชน / กลุ่มคน จึงมักใช้เวลานาน  แต่มีขอบเขตจำกัดครอบคลุมจำนวนคน / พื้นที่ ถือว่าเป็นการวิจัยเชิงมานุษยวิทยา เช่น เป็นข้อมูลที่ได้จากการระดมสมอง  ( Brain – storming )  การสนทนากลุ่ม  ( focus  group ) เป็นต้น

 

        คำว่า  ปริมาณในทางวิจัย  หมายถึง  ข้อมูลเป็นตัวเลขสามารถนำไปใช้ในทางสถิติได้  มีระดับการวัดเป็นกลุ่ม  เป็นช่วง  และเป็นอัตราส่วน  ในทางสถิติของการวิจัย . สุชาต  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์  ( 2550 : 292-293  )

 

       

        ในแนวทางปรัชญาการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณมีที่มาต่างกันคือ  วิจัยเชิงคุณภาพมีฐานมาจากปรัชญาธรรมชาตินิยม  ( Naturalism  )  เน้นหาความจริงตามปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  บางครั้งเรียกว่า  ปรากฏการณ์นิยม ( Phenomenalism ) แล้วอาศัยวิธีพรรณนาวิเคราะห์เป็นสำคัญ  การวิจัยเชิงคุณภาพ  เริ่มข้อมูลจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  แล้วนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีอุปมาน  ( Inductive  approach  ) แล้วสรุปตีความตั้งเป็นองค์ความรู้

 

แต่ในเชิงปริมาณมาจากปรัชญาปฏิฐานนิยม  ( Positivism  ) นั้นเน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ( Scientific  method  ) ตั้งอยู่บนข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีขั้นตอนในการปฏิบัติ  การวิจัยเชิงปริมาณ  เริ่มด้วยทฤษฎีก่อน  แล้วต่อด้วยข้อมูลเชิงประจักรแล้วรวบรวมนำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยวิธีอนุมาน  (  Deductive  approach  )

 

        สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณนี้มีการเปรียบเทียบได้ดังที่ มนัส  สุวรรณ ( 2544 : 16 ) ความว่า

 

1 . การวิจัยเชิงคุณภาพมีพื้นฐานมาจากแนวคิดแบบธรรมชาตินิยม  แต่ในเชิงปริมาณมาจากปฏิฐานนิยม

 

2 . เชิงคุณภาพมุ่งเน้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างลึกซึ้ง  แต่เชิงปริมาณมุ่งหาความจริงที่คนทั่วไปยอมรับ ( common  reality  )

 

3 . เชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเน้นการพรรณนา / อธิบาย  ( Descriptive  approach )  แต่เชิงปริมาณเน้นการวิเคราะห์  ทดลอง  ( Analytical  and  Experimental  ) ต้องอาศัยวิธีการทางสถิติเข้าช่วย

 

4 . เชิงคุณภาพให้ความสำคัญกับกระบวนการได้มาซึ่งความจริงแบบองค์รวม  ( Wholistic  view )  แต่เชิงปริมาณให้ความสำคัญต่อผลที่จะได้รับมากกว่ากระบวนการ

 

5 . เชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์แบบอุปมาน  แต่เชิงปริมาณใช้แบบอนุมาน  ด้วยการทดสอบคำตอบที่คาดคิดไว้ล่วงหน้า  (  Hypothesis  )

 

6 . เชิงคุณภาพมุ่งแสวงหาความรู้เพื่อสร้างเป็นทฤษฎี  ( Theory  building  )  แต่เชิงปริมาณเริ่มต้นศึกษาวิจัยด้วยทฤษฎี  (Hypothesis testing  )

 

7 . เชิงคุณภาพสิ้นสุดการวิจัยด้วยทฤษฎี  ( Ends  with  theory  )  แต่เชิงปริมาณกับเริมต้นด้วยทฤษฎี  ( Begins  with  theory  )

 

8 . เชิงคุณภาพส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  แต่เชิงปริมาณนั้นส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 491814เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท