VCT-TB


มีน้อยรายที่จะโกรธหรือต่อต้าน ส่วนใหญ่รู้สึกดีใจที่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาสอบถามและให้ข้อมูลสุขภาพที่เขากังวลใจแต่ไม่กล้าถามออกมา

VCT=Voluntary Counseling Testing เป็นบริการให้คำปรึกษาและตรวจเลือดค้นหาการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการขยายบริการมาสู่ระบบของคลินิกวัณโรคด้วย ใน สบร.ได้จัดให้มีการนำเสนอบริการในเชิงที่จะพยายามให้เป็นEarly detectionทั้งในเรื่องของ TB และHIV/AIDS...เหตุที่มาก็คงจะสืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอชไอวีทำให้มีการเพิ่มจำนวนของผู้ป่วยวัณโรคมากขึ้น...แต่เดิมวัณโรคในไทยเราเคยสงบไปบ้างแต่ตอนนี้วัณโรคกลับเป็นภัยเงียบๆที่คร่าชีวิตทั้งคนไทยและคนทั่วโลกอยู่ในอันดับต้นๆ

การค้นหาและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษาเสียแต่เนิ่นๆเป็นวิธีการหนึ่งในการที่จะช่วยรักษาชีวิตของผู้ป่วยไว้ให้ยืนยาวขึ้น...แต่ก็มีปัญหาความเสี่ยงที่ชวนกังวลสำหรับผู้ให้คำปรึกษาVCT-TBซึ่งเป็นคำถามที่มักถูกถามอยู่เสมอก็คือเรื่องของความเสี่ยงที่จะติดเชื้อวัณโรคจากผู้รับบริการ...เพราะทันทีที่ทราบว่าผลเสมหะเป็นบวกต่อวัณโรคทางเจ้าหน้าที่ของคลินิกวัณโรคก็จะติดต่อให้ผู้ให้การปรึกษาลงมาพบปะและพูดคุยกับผู้รับบริการรายนั้น...

จากที่ได้รับการอบรมรวมถึงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการติดเชื้อและป่วยเป็นวัณโรค กับ พี่ปุ๊ย(สำรวย)และแพทย์หญิงนาฏพธู

ทำให้เกิดความรู้สึกมั่นใจว่าการลงมาทำงานนี้ไม่เสี่ยงเกินไปเพราะในกรณีบุคคลปกติถึงแม้จะสัมผัสเชื้อวัณโรคแต่โอกาสป่วยจะน้อยกว่าผู้ที่ติดเชื้อเอดส์หลายเท่า(ผู้ที่ไม่ติดเชื้อที่สัมผัสเชื้อวัณโรคบางส่วนประมาณ5-10%เท่านั้นที่จะพัฒนากลายมาเป็นอาการป่วยของวัณโรคแต่ผู้ติดเชื้อจะค่อยๆทยอยป่วยเป็นวัณโรคปีละ5%จนสุดท้ายผู้ติดเชื้อเกือบทั้งหมดจะมีอาการเจ็บป่วยของวัณโรคแสดงออกมา)และมีสองสิ่งที่สำคัญ คือ 1.การที่เราต้องรู้จักดูแลสุขภาพและป้องกันตนเอง เช่น การล้างมือ การแนะนำให้ผู้ป่วยใช้แมส รวมถึงการจัดการสถานที่ที่จะให้การปรึกษาให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้ผู้ทำงานมีความปลอดภัยมากขึ้น และ 2.การตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งที่ทำ เพราะความสมัครใจเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษาที่ดีมากกว่าการบังคับ 

     สิ่งที่เราพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในงานบริการและการรักษาในยุคที่ผ่านการแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอดส์อย่างหนึ่งก็คือ การคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยที่มีมากขึ้น  

การเกิดกลุ่มของผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยเอดส์ที่มีมากมายและหลากหลาย  กระตุ้นให้บุคลากรทางการแพทย์ตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นของงานบริการการให้คำปรึกษาและนำมาสอดแทรกในระบบงานตามคลินิกต่างๆของสถานพยาบาล

....เมื่อเราพูดถึงว่าต้องเป็นความสมัครใจของผู้รับบริการที่หลังจากเขาได้มีการพบและรับคำปรึกษาแล้วเขาจะตัดสินใจเกี่ยวกับการตรวจเลือดค้นหาการติดเชื้อเอชไอวี บางรายที่ยังไม่พร้อมทั้งทางกายและจิตใจ

ก็จะนัดติดตามใหม่ในอีกการนัดพบแพทย์ครั้งถัดไป ซึ่งก็มักอีกสองสัปดาห์ถัดไป

     ผู้ให้คำปรึกษาในVCT-TBยังมีเป้าหมายอีกประการหนึ่งในการให้บริการก็คือการส่งเสริมด้านกำลังใจให้ผู้รับบริการ/ผู้ป่วยวัณโรคมารับการรักษาอย่างต่อเนื่องจนหายขาด....เป็นพันธะร่วมกันกับทีมงานอื่นๆในคลินิกวัณโรค       

จากการพูดคุยกับผู้รับบริการพบว่าเมื่อเราเปิดประเด็นเกี่ยวกับการขออนุญาต/ความสมัครใจจากเขาในการตรวจหาเอชไอวีแล้ว มีน้อยรายที่เขาจะโกรธหรือต่อต้านผู้ให้การปรึกษาอย่างรุนแรง...ส่วนใหญ่รู้สึกดีใจที่มีเจ้าหน้าที่เข้ามาสอบถามและให้ข้อมูลสุขภาพที่เขากังวลใจแต่ไม่กล้าถามออกมา...

      จุดที่สังเกตพบอย่างหนึ่งในคนที่ป่วยเป็นวัณโรคขณะอายุไม่ถึง40ปีก็คือ หลายรายมีประวัติเป็นผู้ติดสารเสพติดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน อาทิเช่น มีประวัติของการดื่มสุราในระดับที่เป็นอันตราย(เกินกว่าแบนต่อครั้งต่อวัน)และเพิ่งเลิกดื่มมาได้ไม่นาน(ตั้งแต่1เดือน-3ปี)  หลายรายเคยใช้ยาเสพติดแบบฉีดเข้าเส้น เป็นต้น 

       ท่าทีของผู้ให้การปรึกษาจึงเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังและแสดงการให้เกียรติแก่ผู้รับบริการทุกคนอย่างเสมอต้นเสมอปลายแม้ว่าจะรับรู้ถึงประวัติชีวิตที่ผ่านมาของเขาว่าเคยทำอะไรมาก่อน ก็ยังคงต้องเชื่อถือและยอมรับในความเป็นคนคนหนึ่งของเขา...ซึ่งผู้รับบริการหลายคนอาจละอายที่จะพูดถึงพฤติกรรมเสี่ยงของตน...

        .การแสดงความเป็นกลาง ไม่แสดงท่าทีตำหนิ หรือสั่งสอนหรือข่มขู่บังคับ จะช่วยให้ผู้รับบริการมีความกล้าที่จะเปิดเผยตนเองได้มากขึ้น

 เหมือนกับการที่เราได้ให้ใจให้ความเชื่อมั่นแก่เขาก่อนสุดท้ายแล้วเขาก็ให้ใจตอบกลับมา เช่น การให้ความร่วมมือที่ดี มีทัศนคติที่ดีและไว้วางใจต่อโรงพยาบาล....

หมายเลขบันทึก: 49128เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2006 01:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พี่สาวของกะปุ๋ม...

ใช่แล้วคะ...การ"ให้"...ให้ และให้...

กะปุ๋มก็เชื่อเช่นนั้นคะ....

...

ผู้ป่วยกลุ่มนี้...ต้องเผชิญกับความรู้สึกภายในตน...ยิ่งนัก...กะปุ๋มเชื่อว่า...ตนไม่ต้องไปทำบุญที่ไหนหรอก...แค่เพียงเราได้ดูแลช่วยเหลือคนที่มีความทุกข์ทางจิตใจ...นี้ก็เสมือนกับได้บุญยิ่งแล้วคะ...

คิดถึงนะคะ

กะปุ๋ม

ขอบคุณค่ะ กะปุ๋ม ที่มาให้กำลังใจตั้งแต่ยังแก้ไขภาพไม่เสร็จเลยนะเนี่ย

สิ่งที่อยากจะบอกเล่าอีกอย่างก็คือ การทำงานที่เราคิดว่ามีอันตรายไม่ว่าจะเป็นการเจอกับภาวะอารมณ์ที่รุนแรงของผู้คน หรือ การเสี่ยงต่อโรคภัยความเจ็บป่วย เราควรที่จะพยายามหาวิธีการดูแลตนเองให้ดีพอๆกับการที่จะให้การดูแลที่ดีต่อคนไข้ด้วย เพียงแต่ไม่ต้องกลัวมากเกินไป...จากที่ไปทำในคลินิกวัณโรคมีความรู้สึกว่าเราเลือกไปทำด้วยความสมัครใจเพราะเข้าใจถึงประโยชน์และความเสี่ยงมาดีพอสมควร....และเพราะอยากให้กำลังใจคนในคลินิกวัณโรคด้วยว่าเรายังคงต้องปรับกระบวนการทำงานอีกหลายอย่างแต่คงต้องยึดเป้าหมายเดียวกันคือ ลดการติดเชื้อรายใหม่และส่งเสริมอัตราการรักษาหายขาดสูงมากขึ้นกว่าปัจจุบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท