ภาษาต่างประเทศที่มีใช้ในภาษาไทย


วิชาภาษาไทย ม.๔

ภาษาต่างประเทศที่มีใช้ในภาษาไทย

                ภาษาไทยมีคำยืมมาจากภาษาต่างประเทศหลายภาษา เช่น ภาษาเขมร  ภาษาจีน  ภาษาชวา  ภาษาบาลี  ภาษาละติน  ภาษาสันสกฤต  ภาษาอังกฤษ    
                การยืมคำภาษาจีนมาใช้ในภาษาไทยนั้น  มักยืมมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วและภาษาจีนฮกเกี้ยนมากกว่าภาษา จีนสาขาอื่น เนื่องจากชาวจีนแต้จิ๋วและชาวจีนฮกเกี้ยนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยก่อนชาวจีนกลุ่มอื่น คำภาษาจีนที่ยืมมาใช้ในภาษาไทยมีคำที่เกี่ยวข้องกับภาษา และวรรณคดี  ความเชื่อ  ศาสนา ประเพณี 

คำภาษาจีนในภาษาไทย

                                คำภาษาจีนที่รวบรวมมานี้มีปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่คัดเลือกมาเฉพาะคำที่อ้างอิงถึงภาษาจีน โดยอาจแบ่งได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ
                                ๑. กลุ่มที่มี (จ.) กำกับ บอกที่มาของคำ เช่น กวยจี๊ ยี่ห้อ
                                ๒. กลุ่มที่มีข้อความอ้างอิงว่ามาจากจีน เช่น ขงจื๊อ ฮกเกี้ยน

ตัวอย่างคำที่มาจากภาษาจีน

ก๊ก  น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็น เหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).
กงเต๊ก  น. การทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น. (จ.).
กงสี  น. ของกองกลางที่ใช้รวมกันสำหรับคนหมู่หนึ่ง ๆ, หุ้นส่วน, บริษัท. (จ. กงซี ว่า บริษัททำการค้า, กิจการที่จัดเป็นสาธารณะ).
กวยจั๊บ  น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งที่ใช้ทำเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่หั่นเป็นชิ้นใหญ่ ๆ ต้มสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น. (จ.).
ก๋วยเตี๋ยว  น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าเป็นเส้น ๆ ถ้าลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่องมีหมูเป็นต้น.
กุยช่าย  น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Allium tuberosum  Roxb. ในวงศ์ Alliaceae คล้ายต้นหอมหรือกระเทียม ใบแบน กลิ่นฉุน กินได้ นำเข้ามาปลูกเพื่อเป็นอาหาร, พายัพเรียก หอมแป้น. (จ.).
เก๊  ว. ปลอมหรือเลียนแบบเพื่อให้หลงผิดว่าเป็นของแท้, ไม่ใช่ของแท้, ไม่ใช่ของจริง, โดยปริยายหมาย ความว่าไม่มีราคา, ใช้การไม่ได้. (จ.).
เก๊ก  (ปาก) ก. วางท่า; ขับไล่. (จ.).
เกาเหลา  [–เหฺลา] น. แกงมีลักษณะอย่างแกงจืด. (จ.).
เก้าอี้  น. ที่สำหรับนั่ง มีขาและพนักพิง มักยกย้ายไปมาได้ มีหลายชนิด, ถ้ามีรูปยาวใช้นอน เรียกว่า เก้าอี้นอน, ถ้าใช้โยกได้ เรียกว่า เก้าอี้โยก, ลักษณนามว่า ตัว. (จ.).
เกี้ยมไฉ่  น. ผักดองเค็มชนิดหนึ่ง. (จ.).
เกี้ยมอี๋  น. ของกินชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า เป็นตัว ๆ คล้ายลอดช่อง. (จ. ว่า เจียมอี๊).
เกี๊ยว  น. ของกินชนิดหนึ่งใช้แผ่นแป้งสาลีตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ห่อหมูสับเป็นต้น. (จ.).
เกี๊ยะ  น. เกือกไม้แบบจีน. (จ.)

จับฉ่าย  น. ชื่ออาหารอย่างจีนชนิดหนึ่งที่ใส่ผักหลาย ๆ อย่าง. (ปาก) ของต่างๆที่ปะปนกันไม่เป็นสําหรับ ไม่เป็นชุด. (จ.).
จีนเต็ง  น. หัวหน้าคนงานที่เป็นชาวจีน (ใช้เฉพาะในสถานที่ทําการร่วมกันมาก ๆ เช่น บ่อนหรือโรงสุรา).
จีนแส  น. หมอ, ครู, ซินแส ก็ว่า. (จ. ซินแซ).
เจ  น. อาหารที่ไม่ปรุงด้วยเนื้อสัตว์ และผักบางชนิดเช่นกระเทียม กุยช่าย ผักชี, แจ ก็ว่า. (จ. ว่า แจ).
เจ๊ง  (ปาก) ก. เลิกล้มกิจการเพราะหมดทุน; สิ้นสุด. (จ.).
โจ๊ก   น. ข้าวต้มชนิดหนึ่งที่ใช้ปลายข้าวต้มจนเละ. (จ.).

เฉาก๊วย  น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง สีดํา ทําจากเมือกที่ได้จากการต้มเคี่ยวพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใส่แป้งลงไปผสม กวนให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้เย็น กินกับนํ้าหวานหรือใส่นํ้าตาลทรายแดง. (จ.).
แฉโพย  ก. เปิดเผยข้อที่ปิดบังหรือความลับ. (จ.).
ซวย  (ปาก) ว. เคราะห์ร้าย, อับโชค. (จ.).
ซาลาเปา  น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งของจีน ทําด้วยแป้งสาลีปั้นเป็นลูกกลม ข้างในใส่ไส้ มีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม.
ซินแส  น. หมอ, ครู, จีนแส ก็ว่า. (จ.).
เซียน  น. ผู้สำเร็จ, ผู้วิเศษ; โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น เซียนการพนัน. (จ.).
เซียมซี  น. ใบทํานายโชคชะตาตามศาลเจ้าหรือวัด มีเลขหมายเทียบกับเลขหมายบนติ้วที่เสี่ยงได้. (จ.).
ตะหลิว  น. เครื่องมือทำด้วยเหล็ก ใช้แซะหรือตักของที่ทอดหรือผัดในกระทะ. (เทียบ จ. เตี้ยะ ว่า กระทะ + หลิว ว่า เครื่องแซะ, เครื่องตัก).
ตังฉ่าย  น. ผักดองแห้งแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ปรุงอาหาร. (จ.).
ตั๋ว  น. บัตรบางอย่างที่แสดงสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตั๋วรถ ตั๋วหนัง. (จ.).
ตุ๋น  ก. ทำให้สุกด้วยวิธีเอาของใส่ภาชนะวางในภาชนะที่มีน้ำแล้วเอาฝาครอบ ตั้งไฟให้น้ำเดือด เช่น  ตุ๋นไข่ ตุ๋นข้าว, เคี่ยวให้เปื่อย เช่น ตุ๋นเนื้อ ตุ๋นเป็ด.  น. เรียกสิ่งที่ทำให้สุกโดยวิธีดังกล่าว เช่น ไข่ ตุ๋น เนื้อตุ๋น เป็ดตุ๋น; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า หลอกลวงเอาไปแทนหมดตัว, ผู้ถูกหลอกลวงเอาไปแทบหมดตัว เรียกว่า ผู้ถูกตุ๋น. (จ.).
เต้าเจี้ยว  น. ถั่วเหลืองที่หมักเกลือสําหรับปรุงอาหาร. (จ.).
เต้าหู้  น. ถั่วเหลืองที่โม่เป็นแป้งแล้วทําเป็นแผ่น ๆ ใช้เป็นอาหาร มี ๒ ชนิด คือ เต้าหู้ขาว และเต้าหู้ เหลือง. (จ.).
เต้าฮวย  น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยนํ้าถั่วเหลืองที่มีลักษณะแข็งตัว ปรุงด้วยนํ้าขิงต้มกับนํ้า ตาล. (จ.).
เถ้าแก่  น. ตำแหน่งข้าราชการฝ่ายในในพระราชสำนัก; ผู้ใหญ่ที่เป็นประธานในการสู่ขอและการ หมั้น; เรียกชายจีนที่เป็นผู้ใหญ่และมีฐานะดี, เรียกชายจีนที่เป็นเจ้าของกิจการ. (จ. เถ่าแก่).
บะหมี่  น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลี เป็นเส้นเล็ก ๆ มีสีเหลือง ลวกสุกแล้วปรุงด้วยเครื่อง มีหมูเป็นต้น. (จ.).

ปุ้งกี๋  น. เครื่องสานรูปคล้ายเปลือกหอยแครง สําหรับใช้โกยดินเป็นต้น, บุ้งกี๋ ก็ว่า. (จ.).
เปีย ๑  น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, ผมเปีย หรือ หางเปีย ก็เรียก, เรียก ลายที่ถักตอก ๓ ขาไขว้กันว่า ลายเปีย หรือ ลายผมเปีย; พวงมาลัยที่มีอุบะห้อยลงมาเหมือน ผมเปีย. (จ.).
เปีย ๒  น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งเป็นชั้น ๆ มีไส้ใน, ขนมเปียะ หรือ ขนมเปี๊ยะ ก็ว่า. (จ.).
โป๊  ก. ส่งเสริมสิ่งที่บกพร่อง เช่น ยาโป๊, ทําสิ่งยังบกพร่องอยู่ให้สมบูรณ์ เช่น เอาสีโป๊ตรงที่เป็นช่อง เป็นรู ก่อนทาสีเอาปูนโป๊รอยที่ชํารุด. (จ. โป้ว ว่า ปะชุนเสื้อผ้า, ซ่อมแซม, บำรุงร่างกาย). (ปาก)  ว. เปลือยหรือค่อนข้างเปลือย เช่น รูปโป๊, มีเจตนาเปิดเผยอวัยวะบางส่วนที่ควรปกปิด เช่น แต่งตัวโป๊.
หุน  น. ชื่อมาตราวัดหรือชั่งของจีน ในมาตราวัด ๑ หุน หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑.๕ ใน ๑๖ ของ นิ้ว ในมาตราชั่ง ๕ หุน เท่ากับ ๑ เฟื้อง. (จ.).
เหลา   [เหฺลา] น. ภัตตาคาร. (จ.).
อั้งยี่  น. สมาคมลับของคนจีน; (กฎ) ชื่อความผิดอาญาฐานเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธี ดําเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่.  (จ.).
อั้งโล่  น. เตาไฟดินเผาชนิดหนึ่งของจีน ยกไปได้. (จ.).
เอี๊ยม  น. แผ่นผ้าสําหรับคาดหน้าอกเด็กเล็ก ๆ, เต่า ก็ว่า. (ดู เต่า ๒). (จ.).
เอี้ยมจุ๊น  น. ชื่อเรือขนาดใหญ่ ต่อด้วยไม้ ท้องเรือเป็นสัน สําหรับขนถ่ายและบรรทุกสินค้า. (จ.).

ฮวงซุ้ย  น. ที่ฝังศพของชาวจีน, ฮวงจุ้ย ก็ว่า. (จ.).
เฮง  (ปาก) ว. โชคดี, เคราะห์ดี. (จ. เฮง ว่า โชคดี).
เฮงซวย  (ปาก) ว. เอาแน่นอนอะไรไม่ได้, คุณภาพต่ำ, ไม่ดี, เช่น คนเฮงซวย ของเฮงซวย เรื่อง เฮงซวย. (จ. เฮง ว่า โชคดี, ซวย ว่า เคราะห์ร้าย, เฮงซวย ว่า ไม่แน่นอน).
เฮี้ยน  (ปาก) ว. มีกําลังแรงหรือมีอํานาจศักดิ์สิทธิ์ที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้. (จ.).

 

 

 

 

ภาษามลายูในภาษาไทย

                ภาษามลายูที่มีอยู่ในภาษาไทยนั้น จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มที่หนึ่งเป็นคำที่ใช้เฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้ของประเทศไทยที่อยู่ใกล้เคียงหรือติดต่อกับมลายูหรือประเทศมาเลเซีย กลุ่มที่สองเป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคใด และกลุ่มที่สามเป็นคำที่มีใช้เฉพาะในวรรณคดี เป็นต้น

 

คำ                                           ความหมาย

กาหยู,ยาร่วง                         มะม่วงหิมพานต์

เกาะตะ,กอตะ,โกตะ           กล่องบุหรี่ของชาวประมง  ทำด้วยไม้มีเชือกผูกแขวนไว้

กระดังงา                               ดอกไม้ชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม

กัด                                           อวนขนาดย่อม  สำหรับดักปลาซึ่งอยู่ผิวน้ำ

ฆง                                          ข้าวโพด

ฆอและ                                  ไก่ทั้งตัวที่แกงเสร็จแล้ว  แกงกับเครื่องเทศผัดกับกะทิ

พรก                                        กะลามะพร้าว

พรัด                                        เรียกฝนหรือมรสุมตะวันตกพัดเข้ามาว่า ฝนพลัด

โพระ                                     ที่ลุ่มมีน้ำขัง

โจ                                           ยันต์ที่ใช้เขียนไว้ตามต้นไม้

จิ้งจัง                                       เป็นปลาตัวเล็กๆหมักเกลือและมีน้ำด้วย

บูดู                                          น้ำเคยที่ได้จากปลาหมักเกลือจนเนื้อเปื่อยใช้เป็น  อาหาร

ปอเนาะ                                 โรงเรียนที่สอนหนังสือและอบรมศาสนาอิสลาม

ปากวะ,ปากระวะ บึงใหญ่

ทำหวะ                                   การเข้าหุ้นกันระหว่างนายทุนกับกรรมกร  โดยมากใช้กับการทำนาโดยเจ้านาให้คนอื่นมาทำนาแล้วแบ่งผลกันตามเงื่อนไข

ลูกหลุ้มหมา                          ลูกอินทผลัม

ลูกลิ่งปิ้ง                                เรียกกันในจังหวัดนครศรีธรรมราช,ในสุราษฏร์ธานีเรียก ลูกเล่งเป้ง

ลูกสวา                                   ลูกละมุดฝรั่ง

ลูกละไม                                ลูกมะไฟเปลือกเหลือง

ผรา                                         หิ้งที่วางของแขวนอยู่เหนือเตาไฟในครัวมักทำด้วยไม้ไผ่

ลูกหัวคล็อก                          มะม่วงหิมพานต์

หลุด                                       ดินโคลน ชาวปักษ์ใต้พูดว่า “หลุดติดตีน” แปลว่า  “โคลนติดเท้า”

โหละปลา                             การเอาไฟส่องหาปลาในน้ำตื้น  หรือในน้ำใส

หว้า                                        โชคหรือวาสนา

หว้าดี                                      โชคดี

หวาก                                      กะแช่หรือน้ำตาลเมา

มูสัง                                        อีเห็น(สัตว์วงศ์เดียวกับชะมด)

มายา                                       ปุ๋ย

หมา  หรือ  ติหมา ภาชนะที่ใช้ตักน้ำจากบ่อ  ทำด้วยกาบหมาก

ลาต้า                                       บ้าจี้

 

ภาษาเขมรในภาษาไทย

ภาษาเขมรเข้ามาสู่ประเทศไทยโดยทางการค้า ทางสงครามการเมืองและวัฒนธรรม  คำที่มาจาก
ภาษาเขมรส่วนใหญ่ที่พบมักใช้ในวรรณกรรม  วรรณคดี  คำราชาศัพท์  และใช้ในชีวิตประจำวัน มีหลักในการสังเกตดังนี้   

     ๑) คำภาษาเขมรมักไม่มีวรรณยุกต์

     ๒) คำภาษาเขมรมักไม่ประวิสรรชนีย์  

     ๓) มักใช้  ร  ล  ญ  เป็นตัวสะกดในมาตรา  แม่ กน

     ๔) มักใช้  จ  ส  เป็นตัวสะกดในมาตรา  แม่ กด

     ๕) มักเป็นคำควบกล้ำและอักษรนำ

     ๖) คำราชาศัพท์บางคำมาจากภาษาเขมร

     ๗) คำที่ขึ้นต้นด้วย  บัง    บัน    บำ     บรร   มักมาจากภาษาเขมร  

     ๘) คำที่ขึ้นต้นด้วย   กำ   คำ   จำ    ชำ    ดำ   ตำ     ทำ  มักมาจากภาษาเขมร

      ๙) คำภาษาเขมรส่วนใหญ่มักแผลงคำได้

การสังเกตคำภาษาเขมรมีวิธีการดังนี้

-  คำไทยที่มาจากภาษาเขมรมักใช้พยัญชนะ  จ ญ  ร ล สะกด 

เช่น  เผด็จ  สมเด็จ  เดิร ( เดิน ) ถวิล  ชาญ

-   คำไทยที่มาจากภาษาเขมรมักเป็นคำควบกล้ำและเป็นคำมากพยางค์

เช่น  ขลาด  โขมด  โขนง  เสวย  ไถง  กระบือ

-  คำไทยที่มาจากภาษาเขมรมักใช้ บัง  บัน  บำ  แทน  บ เช่น 

            บัง     บังคับ  บังคม  บังเหียน  บังเกิด  บังคล  บังอาจ

            บัน    บันได  บันโดย  บันเดิน  บันดาล  บันลือ

            บำ     บำเพ็ญ  บำบัด  บำเหน็จ  บำบวง

- คำไทยที่มาจากภาษาเขมรโดยแผลงคำมีหลายพวก 

            -  ข  แผลงเป็น  กระ  เช่น  ขดาน  เป็น กระดาน   ขจอก เป็น  กระจอก

            -  ผ แผลงเป็น  ผสม  -  ประสม    ผจญ - ประจญ  

            -  ประ  แผลงเป็น  บรร  ประทม เป็น บรรทม  ประจุ -  บรรจุ   ประจง  -  บรรจง

-          คำไทยที่มาจากภาษาเขมรที่เป็นคำโดด เช่น  แข  โลด  เดิน  นัก  อวย  ศก  เลิก 

 

ตัวอย่างภาษาเขมรในภาษาไทย

 

คำ                                           ความหมาย

แข                                           พระจันทร์

เสวย                                       กิน

จุ                                              ทำให้ลง

เจาะ                                        ปัก

เพ็ญ                                        เต็ม

ลาด                                         ตรวจ,เที่ยวดู

เลิศ                                         ดี

อวย                                         ให้

เลอ                                         เหนือ

โลด                                        ดู

ศก                                           ผม,ระบบการนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปี ๆ

เลิก                                         ยก

เชลง                                       ประพันธ์,แต่ง

คำนวณ                                  เลข

ลือ                                           ดัง

ไถง                                         ตะวัน,วัน

โขมด                                      กระหมวด; จอมประสาทหัวช้าง หรือ ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง

กระบือ                                   ควาย

กำเพลิง                                  ปืน

ขลา                                         เสือ

เขลา                                       โง่

โขนง                                     ขนง, คิ้ว

เขนย                                      หมอน

เชลย                                       ข้าศึกที่ถูกจับได้

ฉนัง                                       หม้อ

บันดาล                                  ให้เกิดมีขึ้นเป็นขึ้นด้วยแรงอํานาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

บังคับ                                     ใช้อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ

บังเกิด                                    เกิด

บังคล                                     มอบให้

บังคม                                     แสดงความเคารพ

บันได                                     สิ่งที่ทําเป็นขั้น ๆ สําหรับก้าวขึ้นลง

บันโดย                                  พลอยแสดง

บรรทม                                   นอน

บำเพ็ญ                                   ทําให้เต็มบริบูรณ์, เพิ่มพูน

บำบวง                                   บนบาน, เซ่นสรวง, บูชา

บรรจุ                                      ใส่ลงไว้ในภาชนะหรือสถานที่ที่ใดที่หนึ่งที่มิดชิด

บังเหียน                                                เครื่องบังคับม้าให้ไปในทางที่ต้องการ ทําด้วยเหล็กหรือไม้ใส่ผ่าปากม้า

ถวิล                                        คิด, คิดถึง

สมเด็จ                                    คํายกย่องหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดหรือแต่งตั้ง หมายความว่า ยิ่งใหญ่หรือประเสริฐ

เสด็จ                                       เดิน,ไป

คำสำคัญ (Tags): #ท ๓๑๐๐๑
หมายเลขบันทึก: 490649เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

ขอบคุณมากๆคร๊

อยากให้มีภาษาชวา

สุดยอดดดดด  ปัยเล้ย  เว็บนี้ 

เก่งจริงจริงครับ

อยากให้มีตัวอย่างด้วยครับผม

ไม่มีภาษาอังกิตหรอคัฟๆ

ัเุะีึรคึีัราคยจตยตจ

ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เด็กอุบลฯสายเลือดไทย

ดีค่ะเด็กไทยจะได้มีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษา

เด้กเรียนปัญยามากกกกกกกกกนิ

เก่งมากเลยค่ะแทง

อยากให้มีเเบบนี้ไปตะรอดเลยคะ


 

ไม่มีภาษาอังกฤษเหรอ ครับท่าน

ขอบคุณมากครับ

ยอดเยี่ยมเลยค่ะ

 

อยากให้มีภาษาอ้งกฤษ,บาลี,สันสกฤต

ดีมากกกกกกกกกกกกก  บ่องตงงงงงงงงงง

 

ได้ความรู้มากกว่าเรียนในห้อง อีก ( บ่องตงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงงง )

อยากได้หมวดเครื่องแต่งกายอ่ะ

อยากได้เยอะกว่านี้อ่ะค่ะ ^^

เก่งๆๆๆๆ แต่น้อยไปนะ

ตัวอย่างคำยืมที่มาจากภาษาจีน
กงสี กงฉิน กงไฉ่ กงเต็ก ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ เกาหลา กุ๊ย เก๊ เก๊ก เกี้ยว เกี๊ยว เกี๊ยะ กุยเฮง เก๊ก ก๋ง เก้าอี้ ขาก๊วย เข่ง จับกัง จับฉ่าย จับยี่กี จันอับ เจ๊ง เจี๋ยน เจ เฉาก๊วย เซ้ง เซียน แซ่ แซยิด เซ็งลี้ ซาลาเปา ซิ้ม ตะหลิว เต๋า ตุน ตุ๋น แต๊ะเอีย เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าเจี้ยว โต๊ะ ไต้ก๋ง ตังเก บ๊วย บะฉ่อ บะหมี่ บู๊ ปุ้งกี๋ ปอเปี๊ยะ แป๊ะเจี๊ยะ พะโล้ เย็นตาโฟ หวย ยี่ห้อ ลิ้นจี่ ห้าง หุ้น เอี๊ยม โสหุ้ย เฮงซวย ฮวงซุ้ย ฮ่องเต้ อั้งโล่

ดีมากค่ะกะลังหาพอดีขอบคุนมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

แต่รุปเว็บมันไม่ค่อยชัดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เคลียดดดดดดดดดดเลยไม่มี ข้อมูลที่อย่ากได้เลยยยยยยยยย 

คำว่า 'ฤทธิ์' เป็นคำภาษอะไรคะ ใครรู้บอกหน่อยนะคะ


ขอบคุณมากครับ

โจวาคิม ซันเชส หล่อ มว๊ากกกกก เลย อ่ะ

ใจความสำคัญมากมีคำศัพท์หลาย

ดีมากเลยค่ะ เวลาครูให้ทำงาน สบายเลย

เซ็งฟุดๆหาอะไรไม่เจอเลย

เยี่ยมมากเวพนี้

อยากให้มีภาษาบาลี-สันกฤต

ลุงตู่วิบวับๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

☞ ̄ᴥ ̄☞(┛◉Д◉)┛彡┻━┻

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท