ครูพยาบาล
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ Mr.Natthawut Suriya

ทิศทางในอนาคตของพยาบาล


ทิศทางในอนาคตของพยาบาล

“ทิศทางในอนาคตของพยาบาล”
โดยศาสตราจารย์สมจิตร หนุเจริญกุล
วันที่ 8 กรกฎาคม 2551

ปัญหาที่ท้าทายระบบการบริการสุขภาพ
1.ระบบสุขภาพของประเทศการบังคับใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้เกิดการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้นและการดูแลสุขภาพเชิงรุกที่มุ่งเน้นการทำงานกับชุมชน
2. องค์ความรู้ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี
3. ระบบการพยาบาล การขยายขอบเขต
ด้านการธำรงรักษาพยาบาลไว้ในระบบ
กำหนดบันไดความก้าวหน้าในวิชาชีพและพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อให้พยาบาลได้ก้าวหน้าในสายวิชาการ (บริการ) สอดคล้องกับระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนสามัญ ฉบับใหม่
การกำหนดตำแหน่งหลักสำหรับใช้เทียบเคียง (Competency based)
ประเภทวิชาการ
ระดับปฏิบัติการ ปฏิบัติงานที่ใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพระดับต้น ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติโดยผู้สำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญา เป็นลักษณะงานที่ต้องการความรู้ทางวิชาการที่สามารถเรียนรู้พัฒนาขึ้นได้ การตัดสินใจภายใต้การกำกับดูแล และมีขั้นตอนวิธีการปฏิบัติที่ชัดเจนและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
ระดับชำนาญการ ปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพในระดับชำนาญการ โดยให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการในสาขาที่รับผิดชอบตามขอบเขตของวิชาชีพได้อย่างอิสสระ มีความรอบรู้ชำนาญการในสายวิชาการนั้นๆ และใช้ประสบการณ์ ความชำนาญช่วยตัดสินใจแก้ไขปัญหาในงานค่อนข้างบ่อย ซึ่งอาจจำเป็นต้องริเริ่มวิธีการปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
ระดับชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติการพยาบาลที่ใช้องค์ความรู้ทางวิชาชีพในระดับชำนาญการพิเศษ เป็นผู้มีประสบการณ์และทักษะทางคลินิก หรือชุมชน รอบรู้ชำนาญการในศาสตร์วิชาการนั้นๆเป็นพิเศษ มีการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในงานที่รับผิดชอบเป็นประจำ มีการวางแผนกำกับติดตาม เสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงาน
ระดับเชี่ยวชาญ เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางคลินิกในเฉพาะสาขาเป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับแก่เพื่อนร่วมงานในสถาบันในเรื่องความเป็นผู้นำ ทำงานกับผู้ป่วย ครอบครัวและเจ้าหน้าที่พยาบาลเป็นหลัก แต่มีความรับผิดชอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นงานส่วนกลางของฝ่ายการพยาบาล ใช้ความความรู้ใหม่ๆ และผลการวิจัยในการให้บริการ สามารถค้นหาจุดแข็งของหน่วยงานและใช้จุดแข็งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพหรือเป็นพี่เลี้ยงให้กับบุคลากรในหน่วยงานให้เจริญก้าวหน้า และปรับปรุงคุณภาพของการบริการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีแก่ผู้ป่วย แสดงให้เห็นถึงความชำนาญในการเลือกกิจกรรมทางวิชาการที่ก่อให้เกิดความก้าวหน้าและสิ่งเสริมวิชาชีพ
ระดับผู้ทรงคุณวุฒิ เชี่ยวชาญ ทางการพยาบาล นโยบายสุขภาพ เป็นที่ปรืกษา ระดับชาติ นานาชาติ
ผู้บริหารจัดการทางการพยาบาล
เป็นผู้บริหารจัดการระบบเพื่อให้ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และได้คุณภาพ ซึ่งจะต้องบริหารจัดการกำลังคน และทรัพยากร รวมทั้งควบคุมกำกับคุณภาพของการบริการ และวางแผนพัฒนาศักยภาพของพยาบาล ผู้บริหารจัดการทางการพยาบาล เริ่มตั้งแต่ หัวหน้าหอผู้ป่วย/หัวหน้ากลุ่มงาน ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล ผู้ตรวจการพยาบาล และหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
หมายถึง การกระทำการพยาบาลโดยตรงแก่ผู้ใช้บริการกลุ่มเป้าหมาย หรือ กลุ่มเฉพาะโรคที่มีปัญหาซับซ้อน จัดการให้มีระบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะโรคที่มีประสิทธิภาพ ให้เหตุผลและตัดสินเชิงจริยธรรม โดยบูรณาการหลักฐานเชิงประจักษ์ ผลการวิจัย ความรู้ ทฤษฎีการพยาบาลและทฤษฎีอื่น ๆ ที่เป็นปัจจุบัน ความชำนาญและทักษะการพยาบาลขั้นสูง มุ่งเน้นผลลัพธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาว พัฒนานวัตกรรมและกระบวนการดูแลในกลุ่มผู้ใช้บริการกลุ่มเป้าหมาย หรือ กลุ่มเฉพาะโรคอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ร่วมงานในการพัฒนาความรู้และทักษะงานเชิงวิชาชีพ ตลอดจนติดตามประเมินคุณภาพและจัดการผลลัพธ์โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงประเมินผลในการดูแลผู้ใช้บริการกลุ่มเป้าหมาย หรือ กลุ่มเฉพาะโรคที่มีปัญหาซับซ้อน
APN Core Competency
1. มีความสามารถในการพัฒนาจัดการ และกำกับ ระบบการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือ เฉพาะกลุ่มหรือ
เฉพาะโรค (Care Management)
2. มีความสามารถในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มเฉพาะโรคที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน (Direct Car
3. มีความสามารถในการประสานงาน (Collaboration)
4. มีความสามารถในการสอน ฝึกทักษะ (coaching) เป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติ (mentoring)
5. มีความสามารถในการให้คำปรึกษาในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย หรือเฉพาะกลุ่มที่ตนเองเชี่ยวชาญ (Consultation)
6. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)
7. ให้เหตุผลทางจริยธรรมและการตัดสินใจเชิงจริยธรรม (Ethical reasoning and ethical decision making)
8. ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Practice)
9. จัดการและประเมินผลลัพธ์ (outcome management and evaluation)
Skill Mixed Team ของพยาบาล
• พยาบาลทั่วไป
• ผู้ช่วยพยาบาล
• ผู้ช่วยเหลือดูแล
• ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง หรือผู้เชี่ยวชาญในระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ
• พยาบาลเวชปฏิบัติในปฐมภูมิ
• ผู้บริหารจัดการทางการพยาบาลมืออาชีพ
• อาจารย์พยาบาล/นักวิจัย
มีสหสาขาวิชา มีเป้าหมายร่วมกัน ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของแต่ละสาขา จำเป็นต้องกำหนดทักษะ และขอบเขตของการปฏิบัติของสมาชิกในทีม และ การผสมผสานที่เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
การผสมผสานที่ผิดพลาด ทำให้เกิดความผิดพลาดทางคลินิค เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย และผลที่องค์กรไม่พึงปรารถนา
การวิจัยและการสร้างองค์ความรู้
1. การจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบการพยาบาล (สวพ.)ของประเทศ
2. การจัดทำ Road Map และ priorities ของการวิจัยทางการพยาบาลครอบคลุม
- การวิจัยเชิงนโยบาย ระบบ รวมทั้งกำลังคน
- การวิจัยเพื่อพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาล
- การวิจัยทางการศึกษาและวิชาชีพ
- การวิจัยเชิงผลลัพธ์ ต้องการฐานข้อมูล
3. แสวงหาแหล่งทุน และผู้เชี่ยวชาญ
4. สร้างทีมวิจัยที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการฝึกอบรมหลังปริญญาเอก
5. สร้างเครือข่ายวิจัยระหว่างสถาบันทั้งในระดับชาติ นานาชาติ
6. สร้างชุดโครงการวิจัยที่มีคุณภาพสูงตาม Road Map โดยสนับสนุนให้เป็นการวิจัยลักษณะสหสาขา
วิชาชีพ และร่วมกันระหว่างสถาบัน Multisided studies

 แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับพยาบาล http://www.gotunurse.com

หมายเลขบันทึก: 490592เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท