วิจารณญาณสร้างอิสระ


หากเลือกได้..ท่านต้องการอิสระ หรือเปล่า
อิสระที่จะเลือกทำ หรือไม่ทำ ตามที่ใจต้องการ
ท่านไม่ชอบให้ใครมายัดเยียดความคิด
ท่านไม่ชอบให้ใครมาบอกว่าต้องทำอะไร
เพราะท่านก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
.

อีกคำถามหนึ่ง
ท่านอยากอิสระจากบุหรี่ใช่ไหม?
ถ้าคำตอบ คือ "ไม่" ก็ผ่านบทความนี้ไป
หากคำตอบคือ "ใช่"  
ลองใช้เข็มทืศดูแลชีวิต

1. อะไรที่บงการให้ท่านหยิบบุหรี่มวนนั้นขึ้นมาสูบ

2. เป้าหมายในชีวิต นิยามความสำเร็จของท่านคืออะไร 

3. การสูบบุหรี่ ได้นำพาท่านไปสู่เป้าหมายนั้น หรือไม่ อย่างไร

.

หากท่านนั่งพิจารณาแล้ว
เชื่อมั่นว่า ตนเองสามารถติดปีก เป็นอิสระได้ด้วยตนเอง
เริ่มลงมือได้เลย ตั้งแต่วันนี้ ที่นี่
หากยังไม่มั่นใจ มีหลายคน หลายฝ่าย พร้อมที่จะช่วยท่าน
ท่านสามารถหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับตัวเอง
ขอเพียง..นำสิ่งนี้มาวางไว้เหนือความรู้สึกท่านเสมอ
"วิจารณญาณ"

การใช้วิจารณญาณ อยู่เหนือความรู้สึก
เป็นสิ่งไม่ง่ายและฝืนธรรมชาติของมนุษย์
แต่นี่ก็คือ สิ่งพิเศษ ที่ทำให้มนุษย์ "อิสระ"
จากพันธนาการ
ที่เกิดจากความหลงเชื่อ อันเกิดจากขาดข้อมูล
ที่เกิดจากคำชวนเชื่อ อันเจือปนด้วยผลประโยชน์
ที่เกิดจากการทำเดิมๆ ซ้ำๆ ตามสัญชาตญาณ 

###

 เมื่อประมาณ 60 กว่าปีก่อน (1949) เชื่อหรือไม่ว่ามีโฆษณาบุหรี่ ทางโทรทัศน์

ที่มีแพทย์เป็น Presenter : "What cigarette do you smoke, doctor?"

 

แต่เมื่อ 100 ปีก่อน (1918) มีนักข้าวสัมภาษณ์สมเด็จพระราชบิดา 
พระองค์ไม่ทรงพระโอสถ (ไม่สูบบุหรี่) แต่ มีกล่องซีกาเร็ตศิลปะตุรกี
 "สำหรับให้เพื่อน" พระองค์ตรัส..
พระองค์เชื่อว่าบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ "Hygiene สอนว่าเช่นนั้น" 

...

ผ่านมาในยุคนี้ เมื่อหลักฐานทางการแพทย์เริ่มชัดเจนว่า
สาร tar ในบุหรี่ เป็นตัวสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดและมะเร็งหลายชนิด  
ก็เกิดนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา เรียกว่า "Electric cigarette"
 

ผู้ผลิต Electric cigarette กล่าวอ้างว่า
ในส่วนผสม มีเพียง "Nicotine" ตัวสร้าง "รสชาด"  ไม่มี tar ที่เป็นคราบเขม่า ที่ทำให้มีปากมีสีมีกลิ่น
นอกจากนี้ เนื่องจากควันที่ไม่มีตัวก่อมะเร็ง จึงควรได้รับอนุญาตให้สูบในที่สาธารณะอีกด้วย

...

หมายเหตุ : Nicotine เป็นสารที่ออกฤทธิต่อจิตประสาท ภายใน 6-10 วินาที
ออกฤทธิโดยกระตุ้นการหลั่ง
1.Dopamine ทำให้รู้สึกตื่นตัว สร้างสรรค์ ( มีในยารักษา Parkinson, โคเคน, แอมเฟตามิน)
2.Acethylcholine  เพิ่มความจำและสมาธิ (มีในยารักษา Alzheimer)
3. Serotonine ทำให้อารมณ์คงที่ ผ่อนคลาย (มีในยารักษา Depression)

ขณะเดียวกัน มีการศึกษาพบว่า Nicotine มีผลต่อหลอดเลือดแดง คือ
เพิ่มการสะสมของไขมันคลอเลสเตอรอล จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตัน  
พร้อมๆ กับ ทำลายความแข็งแรงของคอลลาเจน อันเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง ทำให้ผิวหน้าเหี่ยวย่นเร็ว

...

โปรดใช้วิจารณญาณ

 

หมายเลขบันทึก: 490095เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

ยินดีอย่างยิ่งกับการนำำเสนอความรู้ได้กระชับ ได้สาระ ได้แนวทางชี้แนะต่อนักสูบบุหรี่

ผมเคยสูบบุหรี่ประัมาณ 14 ปี แล้วหักดิบ มาประมาณเกือบ 40 ปีแล้ว

การเลิกบุหรี่ อยู่ที่จิต เท่านั้น

เรื่องมันยาว แต่ชอบจัง ;)...

ขอบคุณค่ะท่าน ผศ.เชาว์

ขอชื่นชมในจิตใจที่เข้มแข็ง 

เป็นตัวอย่างที่ดี ว่าแม้จะสูบนานถึง 14 ปี
ก็สามารถหยุดได้ เมื่อตัดสินใจว่าควรหยุด
 

ชอบภาพที่อาจารย์นำมาแปะให้ค่ะ

ยังติดตาภาพที่มีตัวเลขนับถอยหลัง ของคนที่เรารัก

เตือนให้ใช้เวลาที่มีอยู่อย่างมีคุณค่าที่สุดนะค่ะ :) 

ขอบคุณค่ะหมอ ป. นำสิ่งดีๆ มาแบ่งปัน ใครหลายคนอ่านคงฉุกคิดได้บ้างล่ะ

And those who smoke are branded "SMOKERS" (ขี้ยา) on their medical record, among their family and friends, ... often till they die -- from smoking (related diseases or complications).

Think about it.

What would you rather be 'a SMOKER till the day you die'

or 'a WINNER' from today onward?

อ่านบันทึกอาจารย์ หมอ ป. แล้วได้ความคิดดีๆกลับมาคิดต่อ

* ขอบคุณที่ช่วยกันเผยแพร่ค่ะ

* พี่ใหญ่ไปยุรัฐบาลให้เลิกผลิตและนำเข้าบุหรี่..กล้าทำไหม?

ขอบคุณค่ะคุณชลัญธร
หากใจต้องการหยุด แต่ละคนมีวิธีการของตัวเอง
เพียงแต่จะดำรงความตั้งมั่นได้สักเพียงไร

Thank you for reminding us -medical personale.
It's true that we should honour ex-smoker as the big winner (overcome own desire).
This also infer we should not only "educate" people to quit smoking but also "appreciate" people who already quited smoking. 

เมื่อวานมีผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบ เด็กอายุ ๑๔ ปีให้ประวัติว่าสูบบุหรี่วันละ ๖ มวน/วัน kunrapee ได้ซักประวัติ-ตรวจร่างกาย เพื่อเป็นข้อมูลก่อนดมยาสลบ มีช่วงนึงได้ถามน้องว่า ทำไมสูบเยอะจัง น้องตอบว่าไม่เยอะ เพื่อนสูบวันละซอง.. ฮ้า.. อึ้งค่ะอึ้ง (คำว่า.. เด็กสมัยใหม่ ไม่สูบบุหรี่.. ไม่เห็นจริง น่ากลัวที่สุด)

 

บันทึกที่ทำให้ฉุกคิดมากๆ ....

กับการสร้างที่น่าเชื่อถือและทันสมัยในยุคนั้น

แต่เบี่ยงเบนทั้งทางตรงและทางอ้อมในยุคนี้

และยุคนี้...กำลังแห่งการสร้างสรรค์ของกลุ่มคนที่หาช่องทางนวัตกรรมในการสร้างความน่าเชื่อถือและทันสมัย (แต่ไม่บอกข้อมูลรอบด้านทั้งหมด...และเบียดเบียนผู้อื่น)

ยุคก่อน...ยุคนี้...สิ่งที่เหมือนกัน...ที่ผู้คนต้องมี คือ หลักความเชื่อ 10 ประการ..กาลามสูตร...

ใช้ตนเอง...เรียนรู้...ใจ...และวิจารญาญ...ที่เป็นอิสระ...ให้เกิดปัญญา

ในฐานะผมเป็นคนเล็กๆ ในเมืองไทย...ผมห่วงใยสถานการณ์...บุหรี่

และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นของคนไทย

หวังว่า...บันทึกเล็กๆ ของอาจารย์...บันทึกนี้....ทำให้ทุกคนได้ทบทวนตนเอง

ผมก็ได้ทบทวน.....ขอบคุณครับ...

ผมส่งกำลังใจให้อาจารย์เสมอ....ยามเหงา...ท้อแท้...หรือมีความสุข

บนท้องฟ้าจะมีคนที่รักและคิดถึง...ส่งยิ้มให้อาจารย์เสมอครับ

 

ขอยกคำตอบของคุณ Sr มาตอบที่ว่า
เหตุใดสาธารณสุขจึงลังเล เรื่องบุหรี่
ดังเห็นว่า เริ่มมีคนระแคะระคายว่าบุหรี่ไม่ดีต่อสุขภาพ ก่อนบริษัทบุหรี่จะยอมรับ
เกือบ 50 ปี (<1918 - 1960) 
หรือเพราะ ภาษีสรรพสามิต ? 

หากทำได้จริง ประเทศเราจะเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจมากเลยค่ะ
จากสถิติปี 2549 ของ สสส.
พบว่าคนไทย ประมาณ 10 ล้านคนสูบบุหรี่ โดยเฉลี่ยจำนวนที่สูบ 9 มวนต่อวัน
นั่นแปลว่า การบริโภคบุหรี่ 90 ล้านมวน หรือ 4.5 ล้านซองต่อวัน
ถ้าเฉลี่ยซองละ 30 บาท ก็ตกเป็นเงิน 135 ล้านบาทต่อวัน
เป็นเงินมหาศาล ที่ไม่เข้าใครออกใคร
...

น่าติดตามค่ะ 

ฟังเรื่องราวของคุณ kunrapee แล้วย้อนดีสถิติของ สสส.

พบว่า อายุเฉลี่ยเริ่มสูบบุหรี่ในชาย คือ 18 ปี  และ หญิง 20 ปี !

แสดงว่าเริ่มสูบตั้งแต่เป็นเด็กวัยรุ่น ด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ค่ะ

คุณหมออดิเรก สมเป็น Facilitator 
จับประเด็นได้อย่างที่อยากสื่อเลยค่ะว่า
แต่ละยุคสมัย ก็มีวิธีชวนเชื่อ ด้วยวิธีต่างๆ
นับวันยิ่งแยบยล ลับ ลวง พราง
ตัวเราเอง จำต้องเรียนรู้ข้อเท็จจริง เพื่อใช้วิจารณญาณ
ส่วนรัฐ ควรเตรียมแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงง่ายให้ประชาชน
...
Electric cigarette นี้อาจเข้ามาเมืองไทยตาม ipad 3 ก็ได้นะค่ะ
 

ชอบบันทึกของคุณหมอ ป.มากคะ

วิจารณญาณ และตัวบุคคลเป็นที่ตั้ง

รัฐเป็นเหมือนคนที่คอยผลักดัน

ชี้ให้เห็นภาพชัดเจน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ชี้ให้เห็นโทษมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับอย่างจริงจัง

" บุหรี่ไม่ได้เป็นอันตรายต่อตนเองเพียงคนเดียว

แต่เป็นอันตรายต่อคนรอบข้างด้วย อย่าคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว

อย่ารอให้เจ็บป่วยหรือเกิดการสูญเสีย ก่อนจะลุกขึ้นแก้ไข "

ถ้ารัฐรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่และออกกฎหมายปราบปรามอย่างจริงจังเหมือน

เรื่องยาเสพติดได้คงยิ่งดีนะคะ เพราะบุหรี่เหมือนว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวสู่สิ่งเสพติดตัวอื่นๆ ...ตามมา

    

 

ขอบคุณค่ะ คุณกิตติยาภรณ์
เห็นด้วยกับ "บุหรี่เหมือนว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวสู่สิ่งเสพติดตัวอื่นๆ"

เยาวชนที่สูบบุหรี่
มักพ่วงกับเหล้า (odds 8:2) เที่่ยวกลางคืน (7:1) เล่นพนัน (4:1) และยาเสพติด (17:1)! 

มองว่า รัฐพยายามทำสื่อ แต่อาจเข้าไม่ถึงเยาวชนกลุ่มเสี่ยง
ซึ่งเป็นกลุ่มรายได้และการศึกษาน้อย
เป็นโจทย์ว่า กลุ่มนี้ชีวิตเขาอยู่ในสังคมแบบใด สนใจเรื่องอะไร
(ที่น่าเศร้าใจคือ ดาราวัยรุ่น ก็มักสูบบุหรี่ด้วยสิค่ะ ) 

หากมองในแง่ดี....การสูบบุหรี่ก็มีประโยชน์เหมือนกันนะครับ คือ...

  1. ตกน้ำแล้วไม่จม (เพราะว่าเป็นถุงลมโป่งพองขนาดใหญ่) 2 ขโมยหรือโจรไม่ขึ้นบ้าน (เพราะเจ้าของบ้านไอตลอดเวลา จนขโมยนึกว่าเจ้าของบ้านยังไม่หลับ) 3 ผมไม่หงอก (เพราะว่าตายตั้งแต่อายุยังน้อยหรือยังหนุ่มอยู่ เลยทำให้ผมไม่ทันหงอก)

55555555555555555555555555555555555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท