สมบัติใต้น้ำ.


โตนี่ - ฟาง. GotoKnow.

 

* เพิ่งลงมาจากท้องฟ้าตัวยังอุ่นอยู่เลย เอ้า..ต้องลงน้ำกันอีกแล้วหรือนี่?ใครที่ยังไม่เคยลงน้ำก็ระวังอย่าให้สำลักก็แล้วกัน

 

 

สมบัติใต้น้ำ.

 

ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นเพื่ออยากให้ท่าน..ได้ทราบถึงสมบัติใต้น้ำที่มีอยู่ในท้องทะเลบ้านเรา ของเหล่านั้นเป็นของล้ำค่าและเป็นสมบัติของแผ่นดิน  ซึ่งมีค่าควรเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานไทยได้ชมและศึกษากัน  มิใช่ให้ใครไปดำขึ้นมาและเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัว อย่างน้อยเราควรจะหวงแหนและรักษาไว้เยี่ยงกับวีรบุรุษบาป..ในนาม“ขุนเดช”ที่ออกอากาศทุกวันพุธและพฤหัสบดี..ยังไม่สายที่จะกลับไปชมรายการทีวีที่ดีดีเช่นนี้. พูดถึงทรัพย์สมบัติแล้ว  เรา - ท่านๆ คงทราบกันดีน๊ะว่า..สมบัติ - Asset.คือของมีค่านั่นเอง. ไม่ว่าจะมีราคามากหรือน้อยเพียงใด ? และไม่ว่าสมบัติเหล่านั้นจะอยู่บนบก หรืออยู่ในน้ำก็ตาม.  เรื่องที่ผมกำลังจะเขียนนี้เป็นเรื่องของสมบัติใต้น้ำ..ในท้องทะเลไทย ที่มีการค้นพบโดยบังเอิญและต่อมา..ได้มีการออกค้นหากันแบบเป็นล่ำเป็นสัน.

 

๑.ไหโบราณที่ค้นพบจากใต้ทะเล.

     ย้อนไปเมื่อประมาณปีกลาง ๒๕๑๕ - ๒๕๑๖ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแถวๆพัทยาใต้..ที่วัดแห่งหนึ่ง. ซึ่งมีคนไทยใจบุญจากกรุงเทพฯ ได้ไปทำบุญที่วัดดังกล่าวแล้วเผอิญไปพบกับถ้วยและไหโบราณเข้า. วางเกะกะอยู่บริเวณบันไดทางขึ้นไปบนกุฏิพระ.สมบัติล้ำค่าดังกล่าวนี้เป็นของสมัยสุโขทัย..แต่มีชาวบ้านนำขึ้นมาจากทะเล และได้นำมามอบให้กับทางวัด. แต่ช่วงแรกนั้นก็ดูเหมือนไม่ค่อยมีค่านัก..เพราะคนที่มาพบเห็นส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักหรือรู้คุณค่ากัน..สายวันต่อมา..เรื่องนี้เริ่มเป็นที่สนใจของชาวไทยบางคนบางกลุ่ม เพราะคนที่มาพบนั้นพอมีความรู้เรื่องสมบัติโบราณบ้าง  จึงเริ่มมีการค้นหาที่มาของไหเก่าใบนั้น. พระรูปหนึ่งเล่าให้ฟังว่า..มีชาวประมงในย่านหมู่บ้านทัพพระยา. ชื่อเดิมของพัทยา. ออกไปหาปลาที่บริเวณหน้าอ่าว..

๒. นักดำน้ำเริ่มดำลงไปค้นหาสมบัติใต้น้ำ. ปี ๒๕๑๖

     ระหว่างที่ตกปลานั้น   พอปลากินเบ็ดครั้งแรกก็ดึงเบ็ดขึ้นมา ชาวประมงกำลังเอื้อมมือออกไปเพื่อจะหยิบตัวปลาก็ปรากฏว่า..ปลาหลุดออกไปพร้อมไหใบเล็ก ต่อมาก็ยังเป็นเช่นเดิมจึงพบว่ามีปลาเข้าไปอยู่ในไหโบราณ  ชาวประมงจึงค่อยๆประคองยกคันเบ็ดขึ้นมา  ครั้งนั้นจึงขึ้นมาพร้อมกันทั้งไหและตัวปลา  พอได้ไหก็ไม่รู้จักว่าเป็นสมบัติโบราณจึงนำมามอบให้กับทางวัด  ต่อมาพอมีคนที่รู้จักมาพบเข้าก็ทำให้ของชิ้นนั้น..มีค่ามากขึ้น  มีการติดต่อขอซื้อจากทางวัดแต่เจ้าอาวาสคงกลัวจะผิดศีล จึงไม่ได้ขายให้  และต่อมาจึงเกิดการตามล่าหาสมบัติดังกล่าว..หนึ่งในจำนวนนั้นก็มีผู้เขียนร่วมด้วย.เพราะเพื่อนรุ่นพี่ชวนไปค้นหากับเขาด้วย. มีนายทุนใหญ่จากเมืองพัทยาซึ่งเป็นข้าราชการได้ว่าจ้างให้บรรดาลูกน้องชาวเรือ.. ออกค้นหาตามที่คิดว่าเรือน่าจะจมที่บริเวณนั้น.   

 

๓. การดำน้ำแบบใช้สนอร์เกิ้ล. - ดำผิวน้ำ.

     เรือที่นำออกไปค้นหานั้น  ส่วนใหญ่เป็นเรือลากสกีบ้าง เรือเร็วที่ให้นักท่องเที่ยวเช่าบ้าง ออกค้นหาบริเวณหน้าอ่าวพัทยา. ห่างฝั่งออก.ประมาณ ๒๐ - ๓๐ไมล์ทะเล.ก่อนดำเนินการมีการแบ่งและจัดกลุ่มกันขึ้นเช่น ใครเป็นผู้จัดหาเรือ..ใช้เรือเร็วจากพัทยา. ใครเป็นผู้จัดหานักดำน้ำพร้อมอุปกรณ์..มนุษย์กบจากเกาะพระ..ใครจัดหารถสองแถวรับ - ส่งบรรดานักดำน้ำเหล่านี้ ส่วนใหญ่พักอยู่ที่บ้านพักกร. ส่วนเรื่องค่าตัวหรือการแบ่งสมบัติกันนั้นผู้เขียนไม่ทราบจริงๆ..จึงไม่สามารถนำมาเขียนให้ท่านได้ทราบกัน ต้องขออภัยน๊ะครับ. เมื่อพร้อมแล้วทุกฝ่ายก็มารอขึ้นเรือบริเวณจุดนัดพบหน้าอ่าวพัทยา. แถวๆต้นไม้ใหญ่ก่อนจะเข้าไปย่านถนนคนเดิน  สมัยนั้นรถจะต้องมาเลี้ยวที่บริเวณต้นไม้ใหญ่     เพื่อขึ้นจากถนนชายทะเลมายังถนนสายที่สอง..

๔. หน้ากาก ตีนกบ และสนอร์เกิ้ล. - ขอบคุณภาพจากเน็ทวิจารณ์.

     ผู้เขียนจำไม่ได้แล้วว่ามีการตัดต้นไม้ใหญ่ออกและเปิดเป็นถนนคนเดินตั้งแต่เมื่อไร ? เฮ้อวิชาประวัติศาสตร์นั้นสอบผ่านก็ถือว่าบุญแล้วล่ะครับ !ปี ๒๕๑๖ นักท่องเที่ยวยังไม่มากมายเท่าในปัจจุบัน  และถนนหนทางก็ว่างโล่ง ใครจะไปไหนกันก็ยังไม่เป็นเป้าสายตาของใครใคร ? ทุกอย่างพร้อมแล้วเรือเร็วของทีมล่าสมบัติก็ออกวิ่งฝ่าคลื่น  ออกจากฝั่งไปตามทิศทางที่คนขับเรือทราบมา.ระหว่างเดินทางผมอยากเล่าถึงการดำน้ำ..เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบเป็นแนวทางไว้บ้าง ถ้าเผื่อมีโอกาสไปดำกับเขาจะได้พอรู้..

๑. การดำน้ำที่เรียกว่าดำบนผิวน้ำ , ดำน้ำตื้น. หรือแบบสนอร์เกิ้ลลิ่ง. - Snorkeling. เช่นดำดูปลาสวยงาม. หอยเม่น ปลาต่างๆ  การดำแบบนี้ตัวจะลอยอยู่กับชูชีพ. ถ้ามีการสวมใส่. ปกติตัวผู้ดำจะลอยอยู่บนผิวน้ำ ต่อมามีการวิวัฒนาการขึ้นด้วยการใช้ถังออกซิเจน  แต่ ส่วนใหญ่ยังดำอยู่บริเวณผิวน้ำเท่านั้น !

หมายเลขบันทึก: 489780เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท