DW ครั้งที่ ๒ปี ๒๕๕๕ สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร


สัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับอำเภอ

เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕ สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอปะทิวจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับอำเภอ (DW)ครั้งที่ ๒ ณ ห้องประชุมสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร วัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาก็เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน ในต่อละพื้นที่ที่รับผิดชอบ และเป็นการพัฒนางาน เพื่อเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของงานอันเป็นภารกิจขององค์กร ในการจัดครั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ธุรการ หัวหน้ากลุ่ม / ฝ่าย เกษตรอำเภอ พนักงานราชการ รวมผู้เข้าสัมมนาทั้งหมด ๙๐ คน

 

การจัดกิจกรรมทีมงานได้ให้มีการเปิดงานเป็นทางการเล็กน้อยโดยการกล่าวต้อนรับของผู้บริหารสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร และเปิดการสัมมนาโดยนายเกรียงศักดิ์ พรหมเกิดทอง รักษาการเกษตรจังหวัดชุมพร

จากนั้นก็เป็นการทบทวนแนวทางการจัดการความรู้ สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร ปี ๒๕๕๕ โดยนายประสงค์ บุญเจริญ

 

แล้วจัดให้มีการแบ่งกลุ่มการแบ่งกลุ่มในการจัดครั้งนี้ทางทีมผู้จัดก็พยายามจัดบุคลากรที่อยู่หน้างาน ผู้รับผิดชอบงานนั้นๆอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มระบบข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน กลุ่มศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง กลุ่มผลิตไม้ผลนอกฤดู

 

กลุ่มระบบข้อมูลสารสนเทศ

KA: ระบบข้อมูลการเกษตร

ปัญหาของข้อมูล

          ๑.ข้อมูล ทบก และ รต ไม่สอดคล้องกัน

          ๒.ข้อมูล ทบก ไม่เป็นปัจจุบัน

          ๓.เกษตรกรไม่ให้ความร่วมมือในการขึ้นทะเบียน

          ๔.นิติบุคคลไม่ขึ้นทะเบียน เช่น บริษัทปาล์มน้ำมัน

          ๕.เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ สับสนในการปฏิบัติ

          ๖.ขาดความร่วมมือจากผู้นำชุมชน เช่น อบต ผญบ กำนัน

          ๗.ผู้บริหารไม่ยืนยันข้อมูลว่าถูกต้อง ชอบยอมรับว่าเป็นข้อมูลที่ต้องแก้ไข

สาเหตุของปัญหา

          ๑.เกษตรกรไม่ให้ข้อมูลตามจริง

                   -ผู้ให้ข้อมูลไม่ใช่คนเดิม

                   -อายุมากจำไม่ได้

                   -กลัวเสียภาษี

                   -บุกรุกป่า

          ๒.กระบวนการและระยะเวลาเร่งด่วน

          ๓.เกษตรกรไม่เห็นความแตกต่างในการช่วยเหลือของรัฐ ระหว่างเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับไม่ขึ้นทะเบียน

 

ข้อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไข

          ๑.ปรับปรุงข้อมูลทั้ง ๒ ระบบให้สอดคล้องกัน

          ๒.ผลักดันให้มีกฎหมายรองรับการขึ้นทะเบียนเกษตรกร

          ๓.ให้ส่วนท้องถิ่นเห็นความสำคัญกับภารกิจถ่ายโอน

          ๔.จัดทำข้อมูลรายพืช (ชนิดพืช)

          ๕.ให้อำเภอยึดข้อมูลหลักจากทะเบียนเกษตรกร ทบก ๐๑ และปรับ รต ให้อดคล้องกัน

          ๖.ทบทวนบทบาทของ ศบกต อกม และสภาเกษตรกร ในการร่วมกันทำงานกับเจ้าหน้าที่

          ๗.ให้ยืนยันขอมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดว่ามีความถูกต้องเนื่องจากมีหลักฐานสามารถพิสูจน์ได้

 

 

กลุ่มศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน

KA: การบริหารจัดการศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน

ประเด็นที่ ๑ การบริหารงบประมาณ ในปี ๒๕๕๕ ในการจัดทำแปลงต้นแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าวและการกำจัดศัตรูมะพร้าวอย่างครบวงจร มีงบประมาณอยู่จำนวน ๓๒๐๐๐ บาทต่อแปลงที่ควรจะปรับเปลี่ยนเนื่องจากกิจกรรมที่ระบุในโครงการจากส่วนกลางไม่เหมาะสมกับจังหวัดชุมพร เช่น ค่าพันธุ์มะพร้าว ค่าตัดทางใบมะพร้าว ค่าฉีดพ่นสาร Bt โดยในกลุ่มมีแนวคิดร่วมกันจะนำงบประมาณในส่วนนี้ไปดำเนินการจัดทำนิทรรศการศัตรูมะพร้าว การจัดทำป้ายแปลง และหารือเกษตรกรเจ้าของแปลงต้นแบบจัดทำกิจกรรมอื่นที่มีความเหมาะสม เช่น ปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าว การเลี้ยงผึ้ง การสาธิตการกำจัดด้วงแรด หรืออาจจะทัศนศึกษาในกลุ่มที่ประสบผลสำเร็จจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมะพร้าว

ประเด็นที่ ๒ การบริหารโครงการ เรื่องการคัดเลือกสถานที่ในการจัดตั้งศูนย์ ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขโครงการ รวมถึงสมาชิกกลุ่มต้องมีความสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการ และมีการประกอบอาชีพเดียวกัน

ประเด็นที่ ๓ เรื่องเล่าประสบการณ์

          พี่นิวัฒน์ ย้อยสวัสดิ์ มีประสบการณ์ในการเลี้ยงแตนเบียนซึ่งดำเนินการโดยศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน พบว่าเกิดความล้มเหลวเนื่องจากไม่มีค่าตอบแทนผู้เลี้ยง ไม่มีใครซื้อ โดยมีการเสนอว่าให้สมาชิกกลุ่มเลี้ยง แล้วให้ อบต ตั้งงบในการจัดซื้อ

          พี่อารีย์ จักรมานนท์ จากการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน พบว่า ขาดแรงจูงใจ ทำปีเดียวเลิก อุปกรณ์เครื่องมือไม่พร้อม

 

 

กลุ่มศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง

KA: การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง

          ประเด็นที่ ๑ Show ผลงาน

การพัฒนาคนอื่น พัฒนาตนเองก่อน การพัฒนาศูนย์เรียนรู้สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพรได้มอบหมายให้ทุกสำนักงานเกษตรอำเภอได้ดำเนินการในหน่วยงานให้เกษตรกรได้เห็น (ทำให้ดู)ในวันนี้ก็ได้นำผลงานมา Show กัน

          ๑.สำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ ปลูกมะนาวในท่อซิเมนต์รอบสำนักงาน ปลูกผักในล้อยางรถยนต์ เลี้ยงปลาในสระรอบสำนักงาน

          ๒.สำนักงานเกษตรอำเภอปะทิว แปลงผักหลังสำนักงาน มีผักรับประทานทุกฤดูกาล

          ๓.สำนักงานเกษตรอำเภอละแม ปลูกผักสวนครัวรอบสำนักงาน

          ๔.สำนักงานเกษตรอำเภอทุ่งตะโก สร้างสวนปาล์มบริเวณใกล้ๆสำนักงาน

          ๕.สำนักงานเกษตรอำเภอหลังสวน แปลงผักและไก่พื้นเมือง ดำเนินการศูนย์เรียนรู้ฯที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงาน ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้ท่ามะพลาโมเดล ศูนย์เรียนรู้ (มนูญ นาคกล่อม) ศูนย์เรียนรู้ตำบลวังตะกอ ศูนย์เรียนรู้ตำบลบ้านควน

          ๖.สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร บริเวณสำนักงานมีสวนผัก บริเวณบ้านพักมีสวนครัว เก็บกลับไปรับประทานที่บ้านได้

          ประเด็นที่ ๒ ผลที่ได้รับจากการดำเนินการศูนย์เรียนรู้

          ๑.เกิดความร่วมมือร่วมใจของเจ้าหน้าที่

          ๒.นำผลผลิตมาประกอบอาหารกลางวันรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน

          ๓.เกิดความมั่นใจ ปลอดภัยในการบริโภคผักที่ปลูกเอง

          ๔.เป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานของผู้ที่สนใจ

          ประเด็นที่ ๓ แนวทางการพัฒนา

          ๑.เพิ่มกิจกรรมในศูนย์

          ๒.ช่วยกันทำ ช่วยกันหานำมาปลูก

          ๓.ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

          ๔.นำมาเล่าในครั้งต่อไป

 

กลุ่มพัฒนาระบบการกระจายการผลิต

KA: การผลิตมังคุด ลองกอง นอกฤดู

          ขั้นตอนการปฏิบัติในจากประสบการณ์เขตพื้นที่จังหวัดชุมพร

          ๑.การเตรียมความพร้อมหลังการเก็บเกี่ยว หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนสิงหาคม –กันยายน เรียบร้อยแล้วให้ทำการตัดแต่งกิ่งแล้วใส่ปุ๋ย สูตร ๑๕-๑๕-๑๕ หรือ สุ๖ร ๑๖-๑๖-๑๖ (๒ กก/ต้น)หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก (๒๐-๓๐ กก/ต้น)หรือโดลไมท์  (๒ กก/ต้น) ใช้สารเร่งทางใบ ไทโอยูเรีย (๔๐๐ กรัม) +น้ำตาลกลูโคส (๒๐๐ กรัม)+น้ำ ๒๐๐ ลิตร ฉีดพ่นในช่วงเย็น

          ๒.การสะสมอาหารให้ใบแก่ โดยใช้ปุ๋ยสูตร ๐-๕๒-๓๔ (๕๐๐-๖๐๐ กรัม)+กรดอะมิโน (๒๐๐ กรัม) ผสมน้ำ ๒๐๐ ลิตร ฉีดพ่นทางใบ พร้อมใส่ปุ๋ยทางดินสูตร ๘-๒๔-๒๔ (๒ กก/ต้น)

          ๓.การกระตุ้นการออกดอก ใช้สาหร่ายสกัดสูตรเข้มข้นฉีดพ่น

          ๔.การจัดการผลผลิตให้ปุ๋ยทางใบสูตร ๑๓-๐-๔๖ (๑ ลิตร ผสมน้ำ ๒๐๐ ลิตร) พร้อมใส่ปุ๋ยทางดินสูตร ๘-๒๔-๒๔ (๒ กก/ต้น) หมั่นสำรวจศัตรูพืช ป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง

คำสำคัญ (Tags): #DW2
หมายเลขบันทึก: 489769เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท