บทความของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์


ขออนุญาตินำบทความดีๆของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ผมประทับใจ มาเผยแพร่ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยติดตามผลงานของท่าน

GMS + 1

 

ท่านผู้อ่านบางท่านคงสงสัยว่า GMS คืออะไร GMS มาจากคำว่า Greater Mekong Sub region คือประเทศที่มีพรหมแดนติดแม่น้ำโขง

- ไทย

- พม่า

- ลาว

- เวียดนาม

- กัมพูชา

- จีน

สำหรับประเทศไทยเมื่อมีโครงการเกี่ยวกับ GMS จะมีประเทศจีนเพราะมีพรมแดนติดกับจีน มณฑลกวางสีและมณฑลยูนาน

แต่บางประเทศเช่น ญี่ปุ่น  GMS จะไม่นับจีนเพราะคิดว่าจีนเป็นมหาอำนาจแล้ว

คนไทยและผู้ที่อ่านข่าวของผมคงจะต้องให้ความสนใจ เรื่อง GMS มากขึ้นในทุกๆมิติ

กิจกรรมที่เกิดขึ้นที่ประเทศไทยตั้งแต่วันเสาร์ที่ 19 – 28 พฤษภาคม 2555 คือ การประชุมนานาชาติ ครั้งที่ 3 เรื่อง พลังงานสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อความร่วมมือกันใน GMS

ขอรายงานความคืบหน้า หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน  ผมขอขอบคุณแนวหน้าที่เป็นหนังสือพิมพ์ที่กรุณาให้พื้นที่ดีๆ เพื่อผู้อ่านจะได้ทราบและคิดต่อว่าเหตุการณ์เหล่านี้กระทบคนไทยอย่างไร?

การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายซึ่งจัดที่เมืองไทยเป็นปีที่ 3 ได้รับการสนับสนุนจาก Human Resources Development Bureau Thailand International Development Cooperation Agency  (TICA) กระทรวงต่างประเทศ

ครั้งที่ 1 ปี 2010 จัด 6 วัน ผู้แทนทั้ง 6 ประเทศ มาจัดหลักสูตรร่วมกัน (Training needs)  ว่าจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างไร  

ต่อมาปี 2011 เน้นการเรียน ดูงาน ทำ Workshop ร่วมกัน อีก 20 วัน, โดยดูจากความต้องการปีที่ 1

ครั้งนี้ ปี 2012 มี 3 ช่วง 5 วันแรกเรียกว่า Pre – Conference คือ ไปอยู่ที่นครนายก ศึกษาดูงานเรื่อง สิ่งแวดล้อมมากหน่อย ปัญหาภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมและปัญหาการบริหารจัดการในระยะยาวอย่างยั่งยืน ซึ่งต้องขอขอบคุณ ดร.สุรชัย ศรีสารคาม  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายกที่กรุณาให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดงานช่วงแรก ได้กล่าวต้อนรับอย่างสมเกียรติ

นครนายกเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่มีแนวโน้มว่าจะเป็น Green Province  น่าอยู่มากจึงเหมาะกับการเรียนเรื่องสิ่งแวดล้อม

นอกจากนั้นยังได้ดูงานโครงการพระราชดำริการเกษตรแผนใหม่ที่เน้นความยั่งยืนเป็นหลัก ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาใน GMS ในระยะยาวต้องใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น

 เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและลดภาวะโรคร้อนให้ได้

พิธีเปิดอย่างเป็นทางการที่กรุงเทพฯ ช่วงที่ 2 ซึ่งแต่ละประเทศได้นำเสนอ (Country Report) ข้อสรุปต่างๆที่ประเทศเหล่านี้ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมการประชุม 3 ปี ติดต่อกัน เพื่อความร่วมมือทำงานร่วมกันในอนาคต

พิธีเปิดสมเกียรติมากเพราะ ฯพณฯพลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ องคมนตรีได้กรุณาให้เกียรติมากล่าวเปิดและทักทายอย่างเป็นเกียรติกับผู้แทนทั้ง 6 ประเทศอย่างเป็นกันเอง

งานของผมเป็นการทูตภาคประชาชน ต้องสร้าง

- Trust (ความไว้เนื้อเชื่อใจ)

- ความเสมอภาค (equality)

- การมีผลประโยชน์ร่วม (Mutual Benefit)

ปัญหาใหญ่ของชาติคือ รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์และโดยเฉพาะรัฐมนตรีฯทั้งหลายไม่ให้ความสนใจทำงานที่สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ รัฐมนตรีฯชุดนี้ทำงานเพื่อส่วนรวมไม่เป็น และทำงานเพื่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอ่อนหัดมากๆ บางคนไม่มีประสบการณ์การเมืองและการทูตระหว่างประเทศ

บางคนไม่เข้าใจว่ารัฐบาลต้องทำงานต่อเนื่อง ต้องให้เกียรติแขกที่มาเยี่ยมประเทศเรา ส่วนมากจะสนใจแค่ ดูแลคุณทักษิณ บางคนสนใจที่จะหาผลประโยชน์เพื่อประชานิยม บางคนขาดมารยาททางการทูต รัฐบาลทักษิณมีรัฐมนตรีฯตกต่ำสุดขีด ไม่มียุคไหนตกต่ำเท่า ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถ้าผมไม่พบด้วยตัวเองก็จะไม่ทราบว่ามีรัฐบาลฯเพื่ออะไร จึงรายงานให้คนไทยได้รับทราบ ทั้งนี้ประเทศไทยคงต้องพึ่งพา

-พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

- องคมนตรี

- ข้าราชการดีๆ (มีไม่มาก)

- และนักวิชาการ (ที่มีคุณธรรมและมีความรู้)

- ภาคประชาชน

- สื่อบางกลุ่ม

 

หมายเลขบันทึก: 489768เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท