รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

ตามรอยพ่ออยู่อย่างพอเพียง :(๓)"ล้อมรั้ว ล้อมรัก ด้วยผักสวนครัว"


     

       

เปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา  เป็นที่ทราบกันดีว่า เข้าสู่หน้าฝนปัจจัยเรื่อง ดินฟ้าอากาศ

ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในการจัดการเรียนการสอน  โดยเฉพาะกลุ่มสาระ

การเรียนรู้การงานอาชีพฯ ที่ระบุเนื้อหาด้านการเกษตรเอาไว้ด้วย ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนม

ในกลุ่มสาระการเรียนรู้นี้จึงต้องเริ่มที่ "งานเกษตร" ในต้นปีการศึกษา

 

     

งานเกษตร  ของโรงเรียนบ้านพุตะแบก นอกจากคนตัวเล็ก ๆ จะได้เรียน

ในสาระการเรียนรู้การงานอาชีพแล้ว "งานเกษตร" ยังได้ถูกกำหนดอย่างเป็นรูปธรรม

ในศูนย์การเรียนรู้ "เศรษฐกิจพอเพียง" ของโรงเรียนอีกด้วย พื้นที่อันน้อยนิด ที่ดูเหมือน

จะพอเหมาะกับนักเรียนจำนวนน้อยของโรงเรียน นักเรียน 4 คน รับผิดชอบแปลงเกษตร 1 แปลง

จุดเน้นของโรงเรียนอยู่ที่กระบวนการทำงาน ไม่เน้นผลสำเร็จมากนัก  แต่ต้องการฝึกเจ้าตัวเล็ก  

ให้รู้จัก "การถากหญ้า"  "การจับจอบ" รู้จักอาชีพที่บรรพบุรุษใช้เป็นอาชีพ

ในการเลี้ยงชีพมาเนิ่นนาน ซึ่งนับวันเด็กรุ่นใหม่จะไม่ใส่ใจ และดูถูกดูแคลนอาชีพ

อันเป็นรากเหง้าของตัวเอง  เราจึงต้อง "ปลูกจิตสำนึก" กันใหม่ 


     

 เจ้าตัวเล็ก ๆ จะปลูกผักแบบหมุนเวียนกันไป  ผักชีบ้าง  ผักกาดขาวบ้าง ต้นหอม

 ผักบุ้ง  มะเขือยาว  แต่ดูเหมือนว่าผักยอดนิยมของเด็ก ๆ คือ "ผักบุ้ง" เพราะปลูกง่าย

ได้ผลเร็ว  นักเรียนสามารถแบ่งผลผลิตกันได้อย่างลงตัว ส่วนผักชีนั้นดูแลยาก  

ใบมักจะหยิก  ผักบุ้งสวยงามและเป็นผักยอดนิยมที่สุดค่ะ


       

ส่วนผักริมรั้ว  ต้องยกให้เจ้า "ถั่วพู"  ถั่วพูออกฝักเร็วมาก โตเร็ว เก็บได้ทุกวัน  แม้วันละไม่มากนัก  

แต่ก็พอสำหรับเป็นผักจิ้มน้ำพริกให้กับคุณครูในมื้ออาหารกลางวัน หรือนักเรียนคนใด

อยากนำกลับบ้าน ก็จะหมุนเวียนกันไป ที่สำคัญ "ถั่วพู" ถือเป็นผักริมรั้วที่ให้ความงดงาม  

เย็นตาเย็นใจ  ดอกสีม่วงงดงามมากค่ะ  

 

หมายเลขบันทึก: 489288เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

พี่อิงดูท่าจะดินดี นะครับ ผักงามเชียว ตอนนี้ที่โรงเรียนก็กำลังบุกเบิก ต้อนรับหน้าฝน ถามพี่อิงนิดหนึ่ง คำว่า "ติดตามความเคลื่อนไหว" นำมาอยู่ใต้ภาพพี่อิง(รูปเล็ก)ซ้ายมือได้อย่างไรครับ

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.

Blank ชยันต์ เพชรศรีจันทร์
  • "ติดตามความเคลื่อนไหว"  ครูอิงไม่ได้ทำอะไรเลยค่ะ
  • ทีมงานของเว็บเค้าทำไว้ค่ะ เชื่อว่าคงมีทุก ๆ หน้าบล็อกค่ะ
  • แต่จะไม่แสดงที่หน้าบล็อกของเราเอง  คือถ้าเราไปที่บล็อกคนอื่นก็จะเจอ
  • หากเราต้องการติดตามความเคลื่อนไหวของบล็อกนั้นเราก็คลิก "ติดตามความเคลื่อนไหวค่ะ"
  • ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ
  • พี่ตาลผักงามมาก
  • อยากได้เมล็ดผักชนิดอื่นบ้างไหมครับ
  • ดูเด็กๆมีความสุขดี

สวัสดีค่ะน้องขจิต

  • ตอนนี้น้องขจิตมีพันธุ์ผักอะไรบ้างหล่ะคะ
  • ถ้ายังไงก็ของความอนุเคราะห์ ส่งให้เด็ก ๆ ปลูกที่โรงเรียนพี่บ้างสิคะ
  • ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีครับคุณครู..ถั่วพูนี่ว่ากันว่ามีไหลหรือรากที่สามารถขยายพันธ์ได้อีกปลูกครั้งเดียวอยู่ได้นาน  ตอนน้ำท่วมที่บ้านถั่วพูจมน้ำตาย แต่พอน้ำแห้งก็แตกกิ่งขึ้นมาใหม่จากรากที่ฝังอยู่ในดินครับ...(อันนี้จากประสบการณ์นะครับ)..

สวัสดีค่ะพี่หนุ่มกร

Blank หนุ่ม กร 
  • เป็นความรู้ใหม่นะคะ
  • น่าเสียดายจัง ส่วนมากพอใบเหลือง  ก็ดึงทิ้ง รอปลูกใหม่ค่ะ
  • คราวหลังจะลองดูนะคะ

น่าชื่นชมกิจกรรมสร้างสรรค์แบบนี้นะคะ สนุกกันใหญ่เลยค่ะน้องๆ

สวัสดียามดึกค่ะคุณครู

อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณ

Blank ...ปริม pirimarj... 
  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะมาเยี่ยมชม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท