บอกเล่าเรื่องราว..มาช่วยงานรพ.วัดจันทร์ 26-27 พค 2555


สุขภาพครอบครับ

หมอ... 26 -27 นี้ หมอจะได้ไปช่วยวัดจันทร์นะ    เป็นประโยคที่ท่านผอ.รพ. ผมเเจ้งมา

 

ผมรู้สึกดีใจ...ที่จะได้ขึ้นมาทำงานที่รพ.แห่งนี้แม้เวลาสั้นๆ  เพราะท่านผอ.รพนี้ก็ถือเป็นเจ้านายเก่าผม ตอนเมื่อเราอยู่รพ.ป่ยด้วยกันช่วงปี2549...

วัดจันทร์ หรืออ.กัลยาณิวัฒนา.  เป็นอำเภอใหม่ของจังหวัดเชียงใหม่  อยู่ติดอ.ปาย  ก่อนหน้านี้ก่อนที่จะตั้งเป็นอำเภอและมีโรงพยาบาลนั้น  คนไข้ส่วนมากจะต้องลงไปรักษาที่รพ.ปาย  และก็มักจะเดินทางลำบากมาก  ใช้เวลา 1 ชม  ถนนก็ไม่ดียากลำบาก   คนไข้ที่ไปถึงส่วนมากจึงเป็นมากเเล้ว อาการไม่ค่อยดี  หมอพอรู้ว่าคนไข้มาจากวัดจันทร์ก็รู้ว่างานหนักเเล้ว

 

เมื่อสร้างโรงพยาบาลขึ้นมานั้นจึงสามารถแก้ปัญหาสุขภาพ  และช่วยเหลือคนที่นี่ได้มากเลยทีเดียว   ตอนนี้รพ.แห่งนี้มีแพทย์อยู่สองท่านประจำอยู่  แต่ช่วงนี้ 3 เดือนแพทย์อีกท่านได้ไปเรียนฝังเข็ม จึงทำให้ต้องมีแพทย์หมุนเวียนมาช่วยเป็นครั้งครา    อันเป็นเหตุให้ผมได้มีโอกาสมาช่วยที่นี่เป็นครั้งที่สอง  ด้วยความรู้สึกที่ยินดียิ่ง  เพราะว่าคนไข้ที่นี่น่ารักดี  มีปริมาณที่ไม่มากจนยุ่งเกินไป...

สภาพอากาศที่นี่จะดีมากทั้งปี  เงียบสงบ ยังถือว่าเป็นเมืองที่ยังไม่ถูกวัตถุนิยมเข้าครอบงำเต็มที่นัก  ผู้คนประชาการที่นี่เป็นชาวกะเหรี่ยงส่วนมาก  ในมุมมองผมที่ทำงานกับประชาชนหลายชนเผ่า  ผมชอบกะเหรี่ยงมากที่สุด  เพราะเขาดูอ่อนโยน  และเข้าใจง่ายกว่าชนเผ่าอื่นๆ

 

จำนวนคนไข้ที่มาเมื่อวานนี้ ปริมาณไม่มาก  แต่มีกรณีหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว  คือคุณยายวัย 56 ปี  มาด้วยกินยานอนหลับและยาต้านซึมเศร้าเกินขนาด  หลับลึกมา 3 ชม ก่อนมา รพ.

ทีมของเราได้ช่วยเหลือเบื้องต้น  ผมได้สังการรักษาตามแนวทางทีละอย่าง  เราได้ประเมินอาการ  ให้สารน้ำ ตรวจเลือด ล้างท้องคนไข้เพื่อเอายาและเศษอาหารที่มียาอยู่ด้วยออกมาให้มากที่สุด   และต่อมาก็ได้ตรวจประเมินคลื่นไปฟ้าหัวใจ  ใส่สายสวนปัสสาวะ  ดูอาการที่ ER 1 ชม.จนคุณยายเริ่มตื่นขึ้นมา รู้ตัวมากขึ้น  จนแน่ใจว่าไม่มีอันตรายอื่นๆ  จนถึงกับต้องส่งต่อ  จึงส่งเข้าหอผ้ป่วยในซึ่งที่นี่มี 10 เตียงเท่านั้น ชาย 5 หญิง 5

 ตลอดบ่ายก็ไปเยี่ยมยาย  จนท่านตื่นรู้ตัวดี และให้กินข้าวได้

 เมื่อมาทบทนประวัติกับทีมก็พบว่าท่านกินยานอนหลับไป20 เม็ด  ยาต้นซึมเศร้ากลุ่ม  SSRI 20 เม็ด  เหตุที่ยายฟื้นเร็วน่าจะมาจากกินไปยังไม่นานมากและล้างออกมาได้พอสมควร

 

   จากประวัติที่ยายมีการรักษาด้วยอาการซึมเศร้ามาหลายปี  เคยไปพบจิตแพทย์หลายครั้งและเคยทำร้ายตนเองหลายครั้ง ทำให้ในฐานะแพทย์ที่ได้รับการสอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Petient -Centred Model...  คือการดูแลที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง  จึงทำให้ต้องมองหาปัจจัยองค์ประกอบอื่นๆทุกๆมิติที่ทำให้เขาเจ็บป่วย      

  เริ่มต้นที่การขอล่ามมาแปลให้  และค่อยๆเริ่มพูดคุยกับผู้ป่วย  ด้วยความเข้าใจทุกข์ของเขา(Understand Illness)

  ถามความรู้สึกเขา ว่าเป็นอย่างไรบ้าง  กังวลเรื่องอะไร  อะไรที่ทำให้ต้องกินยามาเกินขนาด.....

 เมื่อได้ข้อมูลเบื้องต้นก็นำไปสู่การ เข้ามาดูในประเด็นของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย   การทำ Genogram และ time flow family chart

  เพื่อประเมินครอบครัว  ก็พบว่า มีประเด็นและปม สาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้น  ที่มีผลต่อสุขภาวะของผู้ป่วยหลายปัจจัยมาก

    คือพื้นฐานเดิมที่เป็นคนคิดมาก จริงจัง อ่อนไหว     และการมีปัญหาความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว  มีคนในครอบครัวที่ติดสุรา    เป็นห่วงบุตรสาวที่กำลังเลิกกับสามี  เป็นห่วงหลานๆที่เอามาเลี้ยงดู    ......

 

         จะพบว่าความทุกข์ของคุณยายก็เป็นเรื่องปัญหาทั่วไปที่เราพบได้ในสังคม  เพียงแต่ว่าแต่ละคนนนั้นอาจจะมองปัญหาและรับรู้ไม่เหมือนกัน  มีพื้นฐานแตกต่างกันออกไป  ในการจัดการกับทุกๆปัญหาที่เข้ามาในชีวิต.....   แต่ในกรณีนี้มันส่งผลกระทบกับท่านและยิ่งท่านเป็น depress อยู่เดิมแล้ว  ครูผมเคยกล่าวว่าผู้ป่วยซึมเศร้านั้นโลกของเขาจะเป็นสีดำ  ความคิดมากว่าครึ่งจะเป็นเรื่องลบๆทั้งหมด  อ่อนไหวต่อสิ่งที่มากระตุ้นง่าย  ไม่ค่อยได้มีความสุข  คนที่ไม่ทุกข์มาก่อน  ไม่เคยสูญเสีย ก็อาจจะไม่รู้สึก    แต่ความทุกข์นั้นจะปรากกับทุกๆคนแน่นอน  ไม่เร็วก็ช้า  เพราะความจริงพื้นฐานเลยคือ....  ขันธ์ 5 เป็นทุกข์

 

        ในเวลาแค่เพียงการมาเป็นแพทย์เวร2 วัน อาจจะไม่สามารถช่วยอะไรเขาได้มาก  แต่ก็พยามทำ คือ ได้ทำครอบครัวบำบัด โชคดีที่บ้านเขาอยู่ไม่ไกล  สามารถที่จะตามสามีและบุตรสาวมาพูดคุยกันได้    ใช้เวลาในการทำกระบวนการอยู่45 นาที กับบุตรสาวคนโตที่อยู่ด้วยและสามี ซึ่งถือว่าเป็นผู้ดูแลหลัก  ก้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม  และได้แนะนำการจัดการปัญหาต่างๆของผู้ป่วยในประเด็นต่างๆ 

   โดยเฉพาะความเข้าใจต่อสภาวะอาการ โรค และความเจ็บป่วยหรือ illness ของผู้ป่วย  การร่วมกันเยียวยาผู้ป่วยด้วยใจ โดนเริ่มที่การรับฟัง  การปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างถูกต้อง  และการฟื้นพลังชีวิต ความคิด และความสามารถในการปรับตัวของผู้ป่วย  โดยมีบุตรสาวและสามีเป็นผู้ช่วยหลัก  และเน้นย้ำว่าปัจจัยที่จะหายไม่ได้เกิดจากยาเท่านั้น  แต่ความเจ็บป่วยมาจากครอบครัว การปรับตัว และความสัมพันธ์  ถ้าที่บ้านเข้าใจเรื่องนี้ ค่อยๆปรับปรุงปฏิบัติให้ถูกต้อง  คนไข้ก็จะค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ  ท้ายที่สุดอาจจะไม่ต้องกินยาก็ได้

 

            หลังจากที่ไ่ด้ข้อมูลก็พบว่าคนที่น่าเป็นห่วงคือบุตรสาวคนที่3 ที่สามีติดเหล้าและเขาก็ดูไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยมาดูแลแม่ แต่แม่ก็เป็นห่วงคนนนี้มาก  และเจ้าตัวเล็กวัย 15 ปีที่กำลังเรียนอยู่  เขาอยู่กับแม่ ซึ่งต้องซึมซับความทุกข์ของแม่มากกว่าคนอื่นๆ  อาจจะมีผลต่อความเจ็บป่วยในอนาคต..........

 

        เมื่อถามย้อนกลับไป ว่ามีอะไรสงสัยหรืออยากถามเพิ่มมเติมหรือไม่ เขาก็ตอบกลับว่า  เข้าใจดีแล้ว และจะพยามช่วยกันทำ  เพราะอยากให้แม่หายดีขึ้น  พ่อก็จะดูแลเอาใจใส่เเม่มากขึ้น  จะเลิกไปนอนที่ไร่ก่อน 6 เดือนต่อจากนี้ 

 

          ข้างต้นเป็นเรื่องเล่าในการเข้ามามีส่วนได้ดูแลคนไข้ที่โรงพยาบาลเล็กๆแห่งนี้.....

 

        ขอให้คุณยายหายเร็วๆ จากความทุกข์ทั้งปวง........

 

  kmsabai@ รพ.วัดจันทร์

คำสำคัญ (Tags): #illness
หมายเลขบันทึก: 489284เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท