รายงานวิจัยในชั้นเรียน


ผลของการเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท face book ในการจัดกระบวนการเรียนรู้

รายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน

ชื่อเรื่อง : ผลของการเรียนรู้เพิ่มเติมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท face book ในการจัดกระบวนการ

เรียนรู้วิชาเคมี 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554

ชื่อผู้วิจัย : นายศิริวุฒิ บัวสมาน ตำแหน่ง ครู โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์

ปีการศึกษา : 2554

 

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี 3 ของนักเรียนที่เรียนรู้เพิ่มเติมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท face book (2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนรู้เพิ่มเติมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท face book ในรายวิชาเคมี 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 26 คน โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1 โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 60 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี 3 จำนวน 10 แผน ใช้เวลาเรียน 15 สัปดาห์ สื่อการเรียนที่ผลิตจากโปรแกรม Microsoft Power point 2003 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สมดุลเคมี และกรด-เบส แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 60 ข้อ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดการเรียนการรู้ของครู จำนวน 25 ข้อ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยปรากฏดังนี้

   1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี 3 ของนักเรียนที่เรียนรู้เพิ่มเติมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท face book ผ่านเกณฑ์การประเมินคิดเป็นร้อยละ 100 มีคะแนนเฉลี่ย 60.15 อยู่ในระดับพอใช้ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 6.31

   2.ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่เรียนรู้เพิ่มเติมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประเภท face book ในรายวิชาเคมี 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูอยู่ในระดับมาก เฉลี่ยร้อยละ 33.00 และนักเรียนแสดงความคิดเห็นถึงผลของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ประเภท face book ในการเรียนรู้เพิ่มเติมในรายวิชาเคมี 3 ดังนี้ ข้อดี คือ ใช้ค้นหาความรู้ได้ง่าย สะดวกและง่ายต่อการส่งงานหรือการติดต่อสื่อสารในการเรียนรู้มากขึ้น ไม่ล้าสมัย ทำให้ได้เรียนรู้เนื้อหาที่หลากหลาย ครูเข้าใจคิดเพื่อดึงความสนใจของนักเรียนในการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างเกิดประโยชน์ มีการนำเสนอเนื้อหาสาระที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบันมาก นักเรียนสามารถดูการประเมินผลการเรียนได้ ดูแบบการเรียนได้ สามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่จำกัดเวลา การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้ได้เนื้อหาดีมากๆ ข้อเสีย คือ การเข้าถึงได้ไม่ทั่วทุกคน เพราะบางคนไม่มีคอมพิวเตอร์ ต่ออินเตอร์เน็ตไม่ได้ ที่บ้านไม่มีอินเตอร์เน็ตหรือผู้ปกครองห้ามเล่น

หมายเลขบันทึก: 489221เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท